การจัดทำแนวทางการตรวจประเมินมาตรฐานสถานประกอบการ เพื่อสุขภาพผ่านการตรวจทางวิดีโอและทางออนไลน์สำหรับการขอรับใบอนุญาต สำหรับกิจการนวดเพื่อสุขภาพและนวดเพื่อเสริมความงาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
กระบวนการตรวจประเมินรับรองมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการ (1) เป็นมาตรการกำกับดูแลให้สถานประกอบการดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย (2) เป็นไปเพื่อการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพตามหลักการปฏิบัติที่ดีและเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐาน (3) เป็นมาตรการคุ้มครองสิทธิ์ของประชาชน และ (4) สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ
ระบบการตรวจประเมินรับรองมาตรฐานทางไกล เป็นกระบวนการตรวจสอบหรือตรวจประเมินโดยการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจประเมิน เพื่อเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ อย่างเพียงพอและเหมาะสม ไม่ได้เข้าไปตรวจ ณ สถานที่จริง โดยใช้เทคโนโลยีและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ เป็นต้น ทดแทนการเข้าตรวจ ณ สถานที่จริง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ดำเนินการ ตรวจประเมินแบบบางส่วนหรือการตรวจ ประเมินแบบวิธีการผสมผสาน และการตรวจประเมินแบบเต็มรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความพร้อมและศักยภาพของหน่วยงานตรวจประเมินและผู้รับการตรวจประเมิน
แนวทางการส่งเสริมให้หน่วยงานตรวจประเมินของภาครัฐ โดยเฉพาะการตรวจประเมินสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ควรมีการศึกษาการพัฒนารูปแบบและแนวทางการตรวจประเมินตามแนวทางปฏิบัติระดับสากล กรอบกฎหมายและนโยบายการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้งานระบบการตรวจประเมินทางไกลอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
References
ราชกิจจานุเบกษา. (2559). พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 133, ตอนที่ 30 ก. (สำเนา).
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.). (2567). รายงานสรุปสาระสำคัญการเข้าร่วมโครงการวิจัย ASOSAI ครั้งที่ 13 ระหว่างปี พ.ศ. 2565–2567: การตรวจสอบระยะไกลขององค์กรตรวจเงินแผ่นดิน: อนาคตและความท้าทาย (Remote Audit for SAI: Future and Challenges). สำนักการต่างประเทศ.
Global Wellness Institute. (2023). Global wellness economy monitor November 2023. https://globalwellnessinstitute.org/wp-content/uploads/2023/11/
International Organization for Standardization (ISO). (2018). Guideline for auditing management systems (2nd ed.).
International Organization for Standardization (ISO) & International Accreditation Forum (IAF). (2020). ISO 9001 auditing practices group guidance on: Remote audit. ISO & IAF.
Eulerich, M., Wagner, M., & Wood, D. (2021). Evidence on internal audit effectiveness from transitioning to remote audits because of COVID-19. SSRN. https://ssrn.com/abstract=3774050.
Hayes, R., Wallage, P., & Görtemaker, H. (2014). Principles of audit: An introduction to international standards on auditing (3rd ed.). Pearson Education Limited.
Teeter, R., Alles, M., & Vasarhelyi, M. (2010). Remote audit: A research framework. Journal of Emerging Technologies in Accounting, 7, 73–88.
The British Standards Institute. (2020). BSI guidance for remote audit – eAudit. https://www.bsigroup.com/globalassets/localfiles/en-th/our-service/assessment-and-cert/remote-audit/gd-bsi-guidance-remote-audit-04apr20.pdf.