การพัฒนาระบบบริการ RAMAN Systems Prevent for Mortality เด็กรามันต้องรอด!!!
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาระบบบริการผู้ป่วยเด็กของโรงพยาบาลอำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลาและเพื่อพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยเด็ก ให้เข้าถึงการบริการมากขึ้นเพื่อลดอัตราเสียชีวิตของผู้ป่วยเด็ก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนา ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยได้แก่ กุมารแพทย์ประจำอำเภอ 1 คน พยาบาล จำนวน 6 คน และภาคีเครือข่ายสาธารณสุขอำเภอในจังหวัดยะลา เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบตรวจสอบ (Check list) เก็บข้อมูลจากทะเบียนผู้ป่วยในระยะเวลา 6 เดือน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และหลักสถิติ ผลการวิจัยพบว่าสาเหตุของปัญหาประกอบด้วย 1) โรงพยาบาลขาดศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีระดับความรุนแรงขั้นกึ่งวิกฤติ และวิกฤติ 2) ผู้ป่วยขาดโอกาสในการคัดกรองโรคหรือภาวะต่างๆ 3) ผู้ปกครองขาดความตระหนักต่อความเจ็บป่วยของบุตรหลาน 4) ขาดความมั่นใจในแผนการรักษาของแพทย์ 5) ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างเครือข่ายบริการ ปัญหาเหล่านี้หากปล่อยไว้โดยไม่มีการดำเนินการแก้ไขจะทำให้อัตราเสียชีวิตของผู้ป่วยเด็กสูงขึ้น และองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษานี้คือ ระบบบริการผู้ป่วย RAMAN ABC Model ซึ่งประกอบด้วยการตรวจและคัดกรองภาวะต่างๆได้มากขึ้น(Access, A) เพิ่มความความเชื่อมั่นของผู้ปกครองต่อการบริการด้านสาธารณสุข (Believe, B) และเพิ่มศักยภาพการให้บริการของโรงพยาบาล (Capacity, C) และผลลัพธ์พบว่าอัตราเสียชีวิตของเด็กอำเภอรามันได้ลดลง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2564, เมษายน 2). Retrieved from https://dmh.go.th/test/whoqol/.
กรมอนามัย. (2563, เมษายน 5). Retrieved from www.dph.go.th.
คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561, มิถุนายน 3). Retrieved from https://www.rama.mahidol.ac.th/risk_mgt/th/article/03202017-1523: https://www.rama.mahidol.ac.th/risk_mgt/th/article/03202017-1523
ชมพูนุช สุภาพวานิช ไพสิฐ จิรรัตนโสภา เบญจวรรณ พูนธนานิวัฒน์กุล และ บุญแทน กิ่งสายหยุด. (2565). การพัฒนาสมรรถนะการทํางานของบุคลากรสาธารณสุขในมุมมองผู้บริหารของเขตสุขภาพที่1 -12. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กันยายน–ธันวาคม, 138 - 153.
ชาญณรงค์ วงศ์วิชัย. (2560). กำลังคนสุขภาพในฐานะแรงงาน : ปัญหาและทางออกของระบบสุขภาพไทย. HiFocus, 3-17.
ฝ่ายโภชนาการ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. (2560, สิงหาคม 22). Retrieved from https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=1287
วิศรุต เลาะวิถี. (2563). การเสริมสร้างสุขภาวะตามแนวทางของศาสนทูตแห่งอิสลาม. วารสาร ศิล ป ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 มกราคม -มิถุนายน , 64-80.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2559, กันยายน 11). Retrieved from https://www.hsri.or.th/people/media/care/detail/5737.
อิสราภา ชื่นสุวรรณ. (2565). Thailand’s national universal developmental screening programme for young children: action research for improved follow-up. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Business Research Methodology. (2017, May 5). Retrieved from https://research-methodology.net/research-philosophy/: https://research-methodology.net/research-philosophy/
JICA. (2017, May 5). Retrieved from https://www.jica.go.jp/Resource/english/our_work/types_of_assistance/tech/projects/activities/activities_36.html.
SDG Move. (2565, เมษายน 5). Retrieved from https://www.sdgmove.com/2022/11/17/screening-programme-children-dspm/.
Stanley, S. &. (1992). Social Research: Theory and Methods. Indiana University: Allyn and Bacon.
UNESCO. (2004, May 5). Retrieved from https://ich.unesco.org/en/what-is-intangible-heritage-00003.