ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ และการรับรู้ กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ของผู้สูงอายุความดันโลหิตสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสระโคล่ ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ จำนวน 233 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม และสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และไคว์สแควร์
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 60 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรส การศึกษาระดับประถมศึกษา ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ รายได้เพียงพอต่อการใช้จ่าย อาชีพรับจ้างอิสระ มีระยะเวลาการป่วย ระหว่าง 3 – 9 ปี พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับระดับปานกลาง (X̅ =58.49, S.D. = 4.370 ) และ ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุความดันโลหิตสูง โดยใช้สถิติไคสแควร์ (χ2) พบว่า เพศ ค่าดัชนีมวลกาย ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ และระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05
ทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุความดันโลหิตสูง ได้แก่ ความรู้ (r = 0.350, p< 0.001) การรับรู้โอกาสเสี่ยง (r = 0.185, p< 0.001) การรับรู้ความรุนแรง (r = 0.204, p< 0.001) การรับรู้ประโยชน์ (r = 0.350, p< 0.001) และ การรับรู้อุปสรรค (r = -0.154, p< 0.001)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
References
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus.
จิราวิช วัฒนชัย และคณะ. (2564). พฤติกรรมการดูแลตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อป้องกันโรค
และภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 39(1), 108-117
ชื่นกมล สิทธิยอดยิ่ง (2565). แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ
ดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้โรงพยาบาล. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา. 2(2):46-60
โชฐิรส พลไชยมาตย์และเสน่ห์ แสงเงิน (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย
โรคความดันโลหิตสูง ในชมรมผู้สูงอายุตำบล บางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารสุขศาตรมหาบัณทิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ตวงพร พิกุลทอง (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้ที่มีความเสี่ยง
ในอำเภอคลองขลุงจังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารสุขศาตรมหาบัณทิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสระโคล่ (2565) .อัตราการป่วยอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูง.
ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2566. แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/9aq3N
วริยา บุญทอง และ พัชรา พลเยี่ยม. (2564). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของวัยทำงาน
อายุ 15 – 59 ปี เขตสุขภาพที่ 6. ศูนย์อนามัยที่ 6 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ศตวรรษ อุดรศาสตร์ และคณะ. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ
โรคความดันโลหิตสูงในชุมชน. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคราม, 20(1) . 32-34
สุภาพร มงคลหมู่. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของ
กลุ่มเสี่ยงในอำเภอนาดีจังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยบูรพา.
อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ และคณะ (2561). แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลบางสมัคร อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ:7(2) : 43-51.
Rosenstock, I. M. (1974). The health belief model and preventive health behavior.
Health Education Monographs, 2, 354-386.
Yamane, Taro. (1970) Statistic; Introductory Analysis. 2 nd ed. New York: Harper and Row