ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาดอกไม้ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

Main Article Content

สุทธิพร สุพล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน  ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาดอกไม้ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาดอกไม้ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม จำนวน 146 คนคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2566 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานทดสอบความสัมพันธ์ใช้ไคสแควร์ (Chi-square)และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน(Pearson’ s Correlation) วิเคราะข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)


ผลการวิจัย  พบว่า  พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การรับประทานยาและการตรวจตามนัด  และการจัดการความเครียดอยู่ในระดับดี  พฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคล  พบว่า สถานที่รับบริการคลินิกเบาหวานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.005 แต่เพศ  อายุ  สถานภาพสมรสระดับการศึกษาอาชีพ ดัชนีมวลกายและระยะเวลาการเจ็บป่วยไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ปัจจัยแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพได้แก่  การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค  การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรค  การรับรู้ประโยชน์ของการ ปฏิบัติตน  และการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติตนไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2


คำสำคัญ เบาหวาน, พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุสุมา กังหลี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน

ชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 15 (3), 256-268.

ธาริน สุขอนันต์, ณัฐพร มีสุข, และอาภิสรา วงศ์สละ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับ

น้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี.

วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 27 (1), 93-102

เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. (2556). แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ. ชุมชนออนไลน์เพื่อการจัดการความรู้.

สืบค้นวันที่ 13 เมษายน 2562.

พานิช แกมนิล และบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอ

สามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัศมี ลือฉาย. (2553).ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน อำเภอร่องคำ จังหวัด

กาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 10(2), 19-31.

ศศิธร เป้รอด และสุภิกกา สุขรอด. (2541). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานกรณีศึกษา

ตำบลนครไทย อำเภอนครไทยจังหวัดพิษณุโลก. รายงานวิจัยตามโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ

ของมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช.

อนุชา คงสมกัน และมณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย

เบาหวานที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารสุขศึกษา, 35(1), 63-73.