ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงสูง โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมรียเขต กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยง โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งผู้วิจัยพัฒนามาจากแนวคิด Breckler (1986) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ 2 ส ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.0 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 วิเคราะห์ขอมูลโดยสถิติพรรณนาและสถิติ Paired Sample T-test
ผลการวิจัย พบว่า หลังจากกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง 1) คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง (=0.77, SD=0.08), 2) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองตามหลัก 3 อ 2 ส ในภาพรวมทุกด้าน (=3.02, SD=0.14), 3) ค่าความดันโลหิตตัวบน (=141.92, SD=6.51), และระดับความดันโลหิตตัวล่าง (=77.77, SD=9.21) ดีขึ้นกว่าก่อนการใช้โปรแกรม งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงสูง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของตนเอง ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและภาวะแทรกซ้อนที่สามารถป้องกันได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
References
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2564). รายละเอียดตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการการ ดำเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อ (โรคเบาหวานและโรคความดัน
โลหิตสูง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1186620211006043036.pdf
Feigin, V. L., Brainin, M., Norrving, B., Martins, S., Sacco, R. L., Hacke, W., . . . Lindsay, P. (2022). World Stroke Organization (WSO):
Global Stroke Fact Sheet 2022. Int J Stroke, 17(1), 18-29. doi:10.1177/17474930211065917
Gawulayo, S., Erasmus, C. J., & Rhoda, A. J. (2021). Family functioning and stroke: Family members' perspectives. Afr J Disabil, 10, 801.
doi:10.4102/ajod.v10i0.801
ศรารินทร์ พิทธยะพงษ์. (2561). สถานการณ์ปัญหาและอุปสรรคการดูแลผู้ป่วยหลังการเกิดโรคหลอดเลือด
สมองระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน.วารสารพยาบาล สภากาชาดไทย, 11(2), 26-39.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2563). ข้อมูลสถิติการป่วยและตายด้วยโรคไม่ ติดต่อ ปี 2559–2562. สืบค้นจาก
http://www.thaincd.com/2016/mission3
อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2561).รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและการป้องกันโรค. สำนัก
สื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก http://bsris.swu.ac.th/upload/283350.pdf
World Health Organization. (1998). Health promotion glossary. WHO publications.
Baker, DW. (2006). The Meaning and the Measure of Heath Literacy. Journal of General Internal Medicine. 21(8), 878-883.
i:10.1111/j.1525-1497.2006.00540.x 8/9/65
Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication
strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.doi:10.1093/heapro/15.3.259% J Health
Promotion International
สมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต, โรงพยาบาล. ( 2565). รายงานประจำปี .
ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ และ นรีมาลย์ นีละไพจิตร. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้แจ้งแตกฉานทางสุขภาพ (Health Literacy) สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและ
โรคความดันโลหิตสูง.นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2558.
วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, โสภิต สุรรณเวลาและวราณี สัมฤทธิ์. (2560). ผลของโปรแกรมการสร้างความ ตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของ
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในเขต อ.เมือง จ.ตรัง.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(2), 94-107.
Breckler, S. W. (1986). Attitude Structure and Function. New Jork: L Eribaum Association.
กัญญาวีญ์ ต้นสวรรค์. การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองใน
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงสูง.2566.
Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York:
McGraw-Hill; 1971.
ขจรพรรณ คงวิวัฒน์. (2560). ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการพยาบาลและการ
ดูแลสุขภาพ. 35(2), 129-137.
กรรณิการ์ การีสรรพ์, พรทิพย์ มาลาธรรม, นุชนาฏ สุทธิ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และ
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2562;25(3):280-95.
พิภพ ดีแพ, กมลทิพย ขลังธรรมเนียม และนพนัฐ จําปาเทศ. (2562). ปจจัยที่มีความสัมพันธกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อปองกันโรคหัวใจและหลอด
เลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับความดัน โลหิตสูงในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา.วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 35 (3) หนา 48-59.
ทรัพย์ทวี หิรัญเกิด, พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม และสุรชาติ สิทธิปกรณ์. (2556). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับ
ความดันโลหิต ของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลแก่งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสาร สมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,
(4), 97-104.
นรเศรษฐ์ พูนสุวรรณ, สุมัทนา กลางคาร และโกเมนทร์ ทิวทอง. (2558). ประสิทธิผลของโปรแกรม ปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพและการจดัการพฤติกรรม
สุขภาพของตนเองต่อความเสี่ยงการเกิดความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ตำบลโคกมะม่วง อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ,
(2), 70-78.