ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรกลุ่มผู้เพาะกล้าถาดข้าว ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรกลุ่มผู้เพาะกล้าถาดข้าว ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช กลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย ดำเนินเก็บข้อมูลในเดือนกรกฎาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.50 อายุระหว่าง 18 – 75 ปี มีอายุเฉลี่ย 45.74 ปี สถานภาพสมรส คู่มากที่สุด ร้อยละ 70.00 ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 58.75 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 8,001 – 11,000 บาท ร้อยละ 36.25 ( = 6,181.25 บาท) ด้านความรู้โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 12.15, SD = 2.38) ร้อยละ 78.90 ด้านทัศนคติโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 30.89, SD = 3.78) ร้อยละ 88.60 และด้านการปฏิบัติตนโดยรวม อยู่ในระดับสูง ( = 50.75,SD =3.99) ร้อยละ 90.00
ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมในด้านความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง มีการติดตามและเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรเพิ่มการปฏิบัติตนที่ถูกต้องและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
References
รายการอ้างอิง
กรมการข้าว. (2561). ข่าวสารเตือนภัยศัตรูข้าว. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2563, เข้าถึงได้จาก
http://trsi.ricethailand.go.th/images/PDF/trsi61-12.pdf.
กรมควบคุมโรค. (2561). สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2562). ส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2563, เข้าถึงได้จาก
จุฑามาศ เวชพานิช, คนึงเดช เชื่อมวราศาสตร์, และ ปุณยนุช พิมใจใส. (2558). ประสิทธิผลของการอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ในจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 21(2), 215-230.
เฉลิมพล ตันสกุล. (2543). พฤติกรรมศาสตร์สาธารณสุข. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์.
ทองพูล แก้วกา. (2557). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวของเกษตรกรที่เสี่ยงต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชพื้นที่ตำบล วังทอง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(4), 117-128.
ทัศนีย์ แสงอำนาจเจริญ. (2556). การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอ โพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง. วารสารวิชาการ รพศ/ รพท เขต 4, 15(3), 211-218.
บรรเลง ผาสุข. (2558). ผลการใช้โปรแกรมสุขศึกษาที่มีต่อความรู้ ทัศคติ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย บ้านโนนศรีสง่า หมู่ที่ 4 ตำบลท่าใหญ่ อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการสาธารณสุขชุมชน, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
พัชรีพร ตนภู. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ส่งผลต่อสุขภาพของเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพด ตำบลสถาน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, การจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิมพ์ลดา ภิรมย์จิตร และสุชาดา ภัยหลีกลี้. (2557). ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรบ้านนาเหล่า อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(3), 299-309.
ยุทธนา คำมงคล. (2550). ความรู้และการปฏิบัติในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับการปฏิบัติในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรพันธะสัญญา บ้านห้วยสิงห์ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนคา. (2559). โครงการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรทำนา ตำบล ดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี.
ศูนย์การเรียนรู้เพาะกล้าถาดข้าวในตำบลดอนคา. (2562). วิธีการเพาะกล้าถาดข้าว. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://alc.doae.go.th/wp-content/uploads/2017/06/18.pdf
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. (2561). วัตถุอันตรายที่ได้รับการขึ้นทะเบียน. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน, 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.doa.go.th/ard/?page_id=386
สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี. (2562). ข้อมูลด้านการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.suphanburi.doae.go.th/Data(agri).html
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภออู่ทอง. (2562). ข้อมูลทั่วไปอำเภออู่ทอง. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2563, เข้าถึงได้จาก http://district.cdd.go.th.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2562). อัตราป่วยจากพิษสารกำจัดศัตรูพืช เขตสุขภาพที่ 5 จังหวัดสุพรรณบุรี. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562, เข้าถึงได้จาก https://spb.hdc.moph.go.th/hdc/reports
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี. (2562). ข้อมูลพื้นฐาน จังหวัดสุพรรณบุรี. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://suphanburilocal.go.th/public/history/data/index/menu/22
อิทธิพล ดวงจินดา. (2557). การผสมสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในนาข้าวที่มีต่อผลผลิตข้าวและสุขภาพของเกษตรกร อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี.
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. การจัดการสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Bloom, B.S. (1971). Handbook on for motive and Summative Evaluation of Study Learning. New York: David Mackay.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.