ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเชื่อมโลหะในช่างเชื่อมโลหะ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

Main Article Content

ชมพูนุช สุภาพวานิช
เจียระไน แย้มมีศรี
อัญชลี พงศ์เกษตร

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาอัตราความชุกและปัญหาสุขภาพจากการประกอบอาชีพในช่างเชื่อมโลหะจำนวน 116 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้มีการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล อาการป่วยที่สัมพันธ์กับการทำงาน ปัจจัยด้านการประกอบอาชีพ และ ภาวะคุกคามด้านสิ่งแวดล้อม มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.9 โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา


            ผลการศึกษาพบว่าช่างเชื่อมโลหะส่วนใหญ่ ร้อยละ 98.3 มีอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก โดยพบอาการปวดบั้นเอว ร้อยละ 93.1 รองลงมาคืออาการปวดหลัง ร้อยละ 92.2  และปวดหัวไหล่ ร้อยละ 83.6 ตามลำดับ ส่วนความผิดปกติทางตาและการมองเห็น พบร้อยละ 95.7 โดยมีอาการเคืองตา น้ำตาไหล ร้อยละ 83.6 รองลงมาคือ ปวดตา ตาพร่ามัว ร้อยละ 82.8 และ ตาแดง แสบตา ร้อยละ 70.7 ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบความผิดปกติด้านระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ78.4 โดยส่วนใหญ่มีอาการคันคอ ไอ เสียงแหบ ร้อยละ 90.3 รองลงมาคือ อาการระคายเคืองจมูกและลำคอ ร้อยละ 57.8 และ อาการหายใจขัด หอบเหนื่อยง่าย ร้อยละ 23.3 ตามลำดับ อุบัติเหตุจากการทำงานพบร้อยละ 12.9 ซึ่งช่างเชื่อมโลหะร้อยละ 89.7 มีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และมีเพียงร้อยละ 10.3 ที่ไม่มีการใช้อุปกรณ์ป้องกัน


            จากการศึกษาพบว่าปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำงานพบมากในกลุ่มช่างเชื่อมโลหะซึ่งการให้ความรู้ในส่วนของสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองที่เหมาะสมอาจมีส่วนช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานลดอันตรายจากการทำงานได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bakri I, Imran RA., Mulyadi, Fikramudyah AEA. Ergonomics analysis and social demographic factors associated with welder in small-scale workshops in Makassar, Indonesia. International conference of Occupational health and safety (ICOHS). 2017:Vol 2018:p1-13.

Bakri SFZ, Harri A., & Ismail M. Metal fumes toxicity and its association with lung health problems among welders in automotive industry. 2019. International conference on mechanical and manufactouring engineering(ICME2018).p1-16

Chauthan A., Anand T., Kishore J., Danielsen TE., & Ingle GK. Occupational hazard exposure and general health profile of welders in rural Delhi. Indian Journal Occupational and Environmental medicine.2014:18(1):p21-26.

Cosgrove MP. Pulmonary fibrosis and exposure to steel welding fume. Occupational Medicine. 2015:65(9);p706-712.

El-Zein, M., Malo JL., Infante-Rivard C., Gautrin D. Prevalence and association of welding related systemic and respiratory symptoms in welders’. Occupational and Environmental Medicine. 2015:60(9).P655-661.

Miller K. & Chang A. Acute inhalation injury. Emergency Medicine Clinics of North America. 2003:21(2);p533 – 557.

Nanthasang P. & ,Nathapindhu G. Health problems and work environment of arc welders at Muang district, Nongbualamphu province. KUU Journal of Public Health Research. 2012:5:p21-30.

Okunamiri EO., Okaorie PC., Nwoke BEB., Amadi AN., Obiano EC., Muhammad KU., Okeke KN., & Emaimo J. Journal of Environmental science, Toxicology and Food Tecnology. 2018.12(9):p1-10.

Riccelli MG., Goldoni M., Poli D., Mozzoni P., Cavallo D., & Corradi M. Welding fumes, a risk factor for lung diseases. International Journal of Environmental Research and public health.2020:17:p1-32.

Singh B., & Singhal P. Work related musculoskeletal disorder (WMSDs) risk assessment for different weldeing positions and processes. 14th International Conference on Humanizing work and work environment (HWWE-2016). 2016:p264-267.

Stanislawska M., Janasik B., Kuras R., Malachowska B., Halatex T., & Wasowicz W. Assessment of occupational exposure to stainless steel welding fumes-A human biomonitoring study. Toxicology letter.2020.329(2020):p47-55.

Suman D., Debamalya B.,& Shankarashis M. A report based on analysis of posture and occupational health of welders in different welding units. Universal Journal of Public Health.2018:6(3):p127 – 134.

Weyh C., Pilat C., & Krüger K. Musculoskeletal disorders and level of physical activity in welders. Occupational Medicine. 2020:70(8):p586 – 592.