การศึกษาลักษณะอาการทางคลินิก ปัจจัยเสี่ยง และผลการรักษาของผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดอุดกั้น ในปอดเฉียบพลันในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว
คำสำคัญ:
โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดเฉียบพลัน, ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำส่วนลึก S1Q3T3 patternบทคัดย่อ
บริบท โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดเฉียบพลันเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้บ่อยมากขึ้น มีอัตราการเสียชีวิตสูง
แต่การศึกษาในไทยเกี่ยวกับโรคนี้ยังมีไม่มาก
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะอาการทางคลินิก ปัจจัยเสี่ยง และผลการรักษาของผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดอุดกั้น
ในปอดเฉียบพลันในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว
วิธีการศึกษา ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่วินิจฉัยครั้งแรกว่าเป็นโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดเฉียบพลันและรักษา
ตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2554 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2563
จำนวน 89 คน บันทึกข้อมูลพื้นฐาน ปัจจัยเสี่ยง อาการทางคลินิก ผลตรวจ และผลการรักษาของผู้ป่วยแล้วนำ
ข้อมูลมาวิเคราะห์
ผลการศึกษา แนวโน้มอุบัติการณ์จาก 0-1 คนในพ.ศ. 2554 - 2556 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 21 คน ในพ.ศ. 2561 และลด
ลงเล็กน้อยในพ.ศ. 2562 และ 2563 ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 57.7±15.7 ปี ร้อยละ 70.4 ของผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดอุดกั้นใน
ปอดเฉียบพลันมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ปัจจัย ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อย ได้แก่ โรคมะเร็ง (ร้อยละ 37.1) ภาวะติดเตียง
(ร้อยละ 17.9) หลังได้รับอุบัติเหตุ (ร้อยละ 6.7) หลังผ่าตัด (ร้อยละ 6.7) และ congenital thrombophilia
(ร้อยละ 6.7) อาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ เหนื่อย (ร้อยละ 71.9) ปวดขาหรือขาบวม (ร้อยละ 24.7) ไม่มีอาการ
(ร้อยละ 13.5) การตรวจพบ ได้แก่ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดน้อยกว่าร้อยละ 90 (ร้อยละ 34.8) อัตรา
การเต้นหัวใจ ≥110 ครั้งต่อนาที (ร้อยละ 34) ผลตรวจเอกซเรย์ปอดพบปกติมากที่สุด (ร้อยละ 50) คลื่นไฟฟ้า
หัวใจพบ sinus tachycardia (ร้อยละ 62.3) พบ S1Q3T3 pattern (ร้อยละ 41) พบลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ
ส่วนลึกที่ขา (ร้อยละ 29.2) จัดเป็นโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดเฉียบพลันชนิดรุนแรง (ร้อยละ 12.4) มีผู้เสียชีวิต
สูงถึงร้อยละ 30.3 สาเหตุการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากที่สุด
สรุป โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดเฉียบพลันมีแนวโน้มพบมากขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2560 - 2563 ลักษณะอาการทาง
คลินิกมีความหลากหลาย ส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย โดยโรคมะเร็งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบมากที่สุด และเป็น
สาเหตุสูงสุดของการเสียชีวิต
References
embolism and deep vein thrombosis. The
Lancet. 2012; 379: 1835-46.
2. Wendelboe AM, Raskob GE. Global burden
of thrombosis: Epidemiologic aspects. Circ
Res. 2016; 118: 1340-7.
3. Keller K, Hobohm L, Ebner M, Kresoja KP,
Munzel T, Konstantinides SV, et al. Trends
in thrombolytic treatment and outcomes
of acute pulmonary embolism in Germany.
Eur Heart J. 2020; 41: 522-9.
4. Nakamura M, Fujioka H, Yamada N,
Nakano T, Sakuma M, Okada O, et al.
Clinical characteristics of acute pulmonary
thromboembolism in Japan: results of
a multicenter registry in the Japanese
society of pulmonary embolism research.
Clinical cardiology. 2001; 24: 132-8.
5. Pollack CV, Schreiber D, Goldhaber SZ,
Slattery D, Fanikos J, O’Neil BJ, et al.
Clinical characteristics, management,
and outcomes of patients diagnosed
with acute pulmonary embolism in the
emergency department: initial report
of EMPEROR (Multicenter Emergency
Medicine Pulmonary Embolism in the Real
World Registry). Am Coll Cardiol. 2011; 57:
700-6.
6. Kamonwon Lenghong, Kobkarn Kulsutcharit,
Korakot Apiratwarakul, Dhanu Gaysonsiri,
Thapanawong Mitsungnern, Vajarabhongsa
Bhudhisawasdi. Characteristics and
mortality in high-, intermediate-, and lowrisk acute pulmonary embolism patients in
the emergency department. J Med Assoc
Thai. 2020; 103: 42-6.
7. Suree Sompradeekul, Suthinee Ittimakin.
Clinical characteristics and outcome
of Thai patients with acute pulmonary
embolism. J Med Assoc Thai. 2007; 90:
59-67.
8. Kearon C. Natural history of venous
thromboembolism. J circulation. 2003;
107: 22-30.
9. Konstantinides S, Meyer G, Becattini C,
Bueno H, Geersing G-J, Harjola V-P, et
al. 2019 ESC guidelines for the dignosis
and management of acute pulmonary
embolism developed in collaboration with
the European Respiratory Society (ERS).
European heart journal. 2020; 41: 543-603.
10. Miniati M, Cenci C, Monti S, Poli D.
Clinical presentation of acute pulmonary
embolism: survey of 800 cases. J PloS one.
2012; 7: e30891.
11. Thanawat Vongchaiudomchoke, Thananya
Boonyasirinant. Positive pulmonary
computed tomography angiography
in patients with suspected acute
pulmonary embolism: clinical prediction
rules, thromboembolic risk factors, and
implications for appropriate use. J Med
Assoc Thai. 2016; 99: 25-33.
12. Digby GC, Kukla P, Zhan ZQ, Pastore CA,
Piotrowicz R, Schapachnik E, et al. The
value of electrocardiographic abnormalities
in the prognosis of pulmonary embolism:
a consensus paper. Ann Noninvasive
Electrocardiol. 2015; 20: 207-23.