ผลของกลวิธีเพื่อลดพฤติกรรมการสั่งยาปฏิชีวนะของแพทย์ในแผนกผู้ป่วยนอก และแผนกฉุกเฉิน ของโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • จักรพันธุ์ ศิริบริรักษ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ประเทศไทย
  • จุฑามาศ สุวรรณเลิศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ประเทศไทย
  • ผกาพรรณ ดินชูไท คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ประเทศไทย
  • ฉวีรัตน์ ชื่นชมกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

กลวิธี, ยาปฏิชีวนะ, การสั่งยาปฏิชีวนะ, การใช้ยาอย่างสมเหตุผล, การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม

บทคัดย่อ

บริบท โครงการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาได้ผลลัพธ์ไม่เป็น
ไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้แม้ว่าจะมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ เพื่อทราบผลของกลวิธีเพื่อลดพฤติกรรมการสั่งยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมของแพทย์ต่ออัตรา
การสั่งยาปฏิชีวนะที่แผนกผู้ป่วยนอกและแผนกฉุกเฉินใน 3 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ
ส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Upper Respiratory Tract Infection; URI) โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
(Acute Gastroenteritis; AGE) และการใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันการติดเชื้อในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ
วิธีการศึกษา กลวิธี ได้แก่ การอบรมให้ความรู้แก่แพทย์ การนำแผ่นพับให้ความรู้สำหรับผู้ป่วยวางไว้ที่โต๊ะตรวจ
และการแจ้งเตือนด้วยโปรแกรมตรวจโรค เมื่อมีการสั่งยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม เก็บข้อมูลเปรียบเทียบใน
ช่วง 3 เดือน ก่อนและหลังจากที่เริ่มกลวิธี
ผลการศึกษา กลวิธีดังกล่าวสามารถลดการสั่งยาปฏิชีวนะใน URI, AGE และการป้องกันการติดเชื้อในบาดแผลสด
ลงได้ร้อยละ 9.39 (p < 0.001, 95%CI 7.48-11.31), 7.03 (p < 0.001, 95%CI 3.72-10.33) และ 2.60
(p = 0.020, 95%CI 0.40-4.80) ตามลำดับ ไม่มีความแตกต่างของอัตราการกลับมาพบแพทย์ซ้ำภายใน
48 ชั่วโมง และอัตราการนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วย URI รวมทั้งไม่พบความแตกต่างของอัตราการเกิดแผลติดเชื้อ
ในผู้ป่วยบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ ในผู้ป่วย AGE พบการเพิ่มขึ้นของอัตราการกลับมาแพทย์ซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง
ร้อยละ 0.61 (p = 0.025, 95%CI 0.08-1.13) อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของอัตราการนอนโรงพยาบาล
ในผู้ป่วย AGE
สรุป การใช้กลวิธีเพื่อลดพฤติกรรมการสั่งยาปฏิชีวนะของแพทย์มีความสัมพันธ์กับการลดลงของอัตราการสั่งยา
ปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
และการใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันการติดเชื้อในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ

References

1. Fleming-Dutra KE, Hersh AL, Shapiro DJ,
Bartoces M, Enns EA, File TM, Jr., et al.
Prevalence of Inappropriate Antibiotic
Prescriptions Among US Ambulatory Care
Visits, 2010-2011. Jama. 2016; 315: 1864-
73.
2. Schroeck JL, Ruh CA, Sellick JA, Jr.,
Ott MC, Mattappallil A, Mergenhagen
KA. Factors associated with antibiotic
misuse in outpatient treatment for upper
respiratory tract infections. Antimicrob
Agents Chemother. 2015; 59 : 3848-52.
3. Zhang Z, Zhan X, Zhou H, Sun F, Zhang H,
Zwarenstein M, et al. Antibiotic prescribing
of village doctors for children under 15
years with upper respiratory tract infections
in rural China: A qualitative study. Medicine
(Baltimore). 2016; 95: e3803.
4. Strumilo J, Chlabicz S, Pytel-Krolczuk B,
Marcinowicz L, Rogowska-Szadkowska D,
Milewska AJ. Combined assessment of
clinical and patient factors on doctors›
decisions to prescribe antibiotics. BMC Fam
Pract. 2016; 17: 63.
5. Watphimai S, Chanthapasa K, Areemit J.
Opinions of Doctors on the Implementation
of Rational Drug Use Policy: A Case Study
of a Province in Northeastern Region. Thai
Journal of Pharmacy Practice [Internet}.
2019 [cited 2019 Mar 4]; 12: 114-27.
Available from: https://he01.tci-thaijo.
org/index.php/TJPP/article/view/195040
(in Thai)
6. Kim H, Oh JK, Kim MK, Bae K, Choi H.
Reduced antibiotic prescription rates
following physician-targeted interventions
in a dental practice. Acta Odontol Scand.
2018; 76: 204-11.
7. Wei X, Zhang Z, Walley JD, Hicks JP, Zeng
J, Deng S, et al. Effect of a training and
educational intervention for physicians
and caregivers on antibiotic prescribing for
upper respiratory tract infections in children
at primary care facilities in rural China: a
cluster-randomised controlled trial. Lancet
Glob Health. 2017; 5: e1258-e67.
8. Vellinga A, Galvin S, Duane S, Callan A,
Bennett K, Cormican M, et al. Intervention
to improve the quality of antimicrobial
prescribing for urinary tract infection: a
cluster randomized trial. CMAJ : Canadian
Medical Association journal = journal de
l›Association medicale canadienne. 2016;
188: 108-15.
9. Rubin MA, Bateman K, Alder S, Donnelly S,
Stoddard GJ, Samore MH. A multifaceted
intervention to improve antimicrobial
prescribing for upper respiratory tract
infections in a small rural community.
Clinical infectious diseases : an official
publication of the Infectious Diseases
Society of America. 2005; 40: 546-53.
10. Juzych NS, Banerjee M, Essenmacher L,
Lerner SA. Improvements in antimicrobial
prescribing for treatment of upper
respiratory tract infections through provider
education. Journal of general internal
medicine. 2005; 20: 901-5.
11. Opondo C, Ayieko P, Ntoburi S, Wagai J,
Opiyo N, Irimu G, et al. Effect of a multifaceted quality improvement intervention
on inappropriate antibiotic use in children
with non- bloody diarrhoea admitted to
district hospitals in Kenya. BMC pediatrics.
2011; 11: 109.
12. Phantaneeya R, Lerkiatbundit S. Impact of
Multiple Intervention on Use of Antibiotics
in Acute Pharungitis and Acute Diarrhea
in Primary Care Units at Palpayoon
District, Phatthalung. Thai Journal of
Pharmacy[Internet]. 2019 [cited 2019
Mar 4]; 12: 78-91. Available from: https://
he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/
view/195038 (in Thai)
13. Chongtrakul P. Antibiotics Smart Use. 2nd
ed. Bangkok: Aksorn Graphic and Design;
2011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29