ศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยโยคะต่อการทรงตัว ช่วงการเคลื่อนไหวของรยางค์ส่วนล่าง และประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ในเด็กสมองพิการ: การศึกษานำร่อง

Main Article Content

ณิศศา อัศวภูมิ
จิรัชญา ใจชุ่ม
ระพีพร แซ่ตัน
กรกฎ เห็นแสงวิไล
อาทิตยา ทูลเศียร
ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน

บทคัดย่อ

บริบท โยคะเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาเพื่อฟื้นฟูเด็กสมองพิการที่มีความบกพร่องในการเคลื่อนไหว
เพิ่มประสิทธิภาพการทรงตัว เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เพิ่มประสิทธิภาพการ
ทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ ศึกษาประสิทธิภาพของการออกกำลังกายด้วยโยคะในเด็กสมองพิการที่มีระดับความสามารถ
ด้านการเคลื่อนไหว ระดับ I และ II ต่อการทรงตัว ช่วงการเคลื่อนไหวและประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อ
มัดใหญ่
วิธีการศึกษา เด็กสมองพิการ จำนวน 4 คน อายุระหว่าง 4-12 ปี ระดับความสามารถด้านการเคลื่อนไหวระดับ
I และ II ได้รับการออกกำลังกายด้วยโยคะ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เปรียบเทียบผลของการ
ทรงตัว ช่วงการเคลื่อนไหว และประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ก่อนและหลังการออกกำลังกาย
ด้วยโยคะ โดยใช้สถิติ dependent t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษา พบว่าหลังการออกกำลังกายด้วยโยคะ การทรงตัวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p = 0.038) เมื่อเทียบกับก่อนออกกำลังกาย สำหรับช่วงการเคลื่อนไหว และประสิทธิภาพการทำงานของ
กล้ามเนื้อมัดใหญ่ พบว่า ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป การออกกำลังกายด้วยโยคะ ช่วยเพิ่มความสามารถด้านการทรงตัวในเด็กสมองพิการได

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

พรรณี ปึงสุวรรณ. กายภาพบำบัดในเด็กสมอง พิการ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

นิชรา เรืองดารกานนท์. ตำราพัฒนาการและ พฤติกรรมเด็ก. กรุงเทพฯ: โฮลิ สติก พับลิชชิ่ง; 2551.

Pegrum J. Yoga fun. London: Cisco; 2010.

Bugajski S, Christian A, O’Shea RK, Vendrely AM. Exploring Yoga’s Effects on Impairments and Functional Limitations for a Nine-YearOld Female with Cerebral Palsy: A Case Report. J Yoga Phys Ther. 2013; 3: 140.

ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน, ปาริชาติ อันองอาจ, ภาวิณี บำเพ็ญ, ฐิติกร จันทาทร, ชลิตา หลิม วานิช, วุฒิพงษ์ แก้วมณี. ผลการรักษาด้วยเทคนิค Prolonged passive stretching ตามด้วยเทคนิค Repeated Contractions ต่อการใช้พลังงาน ในการเดินในเด็กสมองพิการประเภท Spastic diplegia ที่มีรูปแบบการเดิน Crouch gait ร่วมกับ Apparent equinus. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2562; 25: 1-14.

ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน และนงนุช ล่วงพ้น. การจัดการทางกายภาพบำบัดในภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2564; 27: 120-31.