ความสอดคล้องระหว่างค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์รายบุคคล และ ค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบันสำหรับการตรวจติดตามผลความหนาแน่นกระดูก

Main Article Content

ผาณิต ฤกษ์ยินดี
วัลลภ ใจดี
อลิสรา วงศ์สุทธิเลิศ

บทคัดย่อ

บริบท การใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบันแทนการใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสี
การแพทย์รายบุคคลสำหรับแปลผลร้อยละการเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นกระดูก ในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจ
ติดตามผล อาจเกิดความไม่แน่นอนในการแปลผล
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาความสอดคล้องระหว่างค่าความแม่นยำรายบุคคลและค่าเฉลี่ยความแม่นยำของ
สถาบันในการจัดท่าสำหรับตรวจติดตามผลความหนาแน่นกระดูก
วิธีการ การวิจัยแบบตัดขวางที่รวบรวมข้อมูลผลการตรวจความหนาแน่นกระดูกที่ตรวจด้วยเครื่อง DXA ของ
ผู้มารับบริการในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2557 จำนวน
120 ราย ผู้วิจัยวิเคราะห์ค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์แต่ละรายและค่าความแม่นยำในการ
จัดท่าเฉลี่ยของสถาบัน จากนั้นผู้วิจัยจะส่งแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลให้รังสีแพทย์เพื่อแปลผลการเปลี่ยนแปลง
ของความหนาแน่นกระดูกของผู้มารับบริการตรวจติดตามผลความหนาแน่นกระดูก จำนวน 120 ราย ผู้วิจัย
วิเคราะห์ความสอดคล้องของค่าความแม่นยำ ในการจัดท่าทั้งสองวิธีด้วยค่าร้อยละของความสอดคล้องและ
ทดสอบนัยสำคัญด้วยสถิติ kappa analysis
ผลการศึกษา ค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบันที่กระดูกสันหลังระดับบั้นเอว กระดูกต้นขาส่วน
คอ กระดูกข้อสะโพกรวม และกระดูกข้อมือคือ ร้อยละ 3.20 ร้อยละ 2.91 ร้อยละ 2.73 และร้อยละ 3.01
ตามลำดับ ความสอดคล้องระหว่างค่าความแม่นยำในการจัดท่าทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกันระหว่างนักรังสี
การแพทย์ (p<0.05) ตำแหน่งของกระดูกข้อสะโพกรวมมีความถูกต้องในการแปลผลมากที่สุด (ร้อยละ 95.2;
95%CI 89.9 - 100.0) รองลงมาคือกระดูกต้นขาส่วนคอ (ร้อยละ 80.6; 95%CI 70.8 - 90.4) ส่วนกระดูกสัน
หลังระดับบั้นเอว (ร้อยละ 75.8; 95%CI 65.1 - 86.5) และกระดูกข้อมือ (ร้อยละ 77.4; 95%CI 67.0 - 87.8)
มีความถูกต้องไม่สูงมากนัก
สรุป จากการศึกษานี้พบว่าเมื่อใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบัน ซึ่งมาจากค่าเฉลี่ยของนักรังสีการ
แพทย์รายบุคคลภายในสถาบัน ในการแปลผลร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นกระดูก เปรียบเทียบกับการ
ใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์รายบุคคล พบว่าตำแหน่งของกระดูกข้อสะโพกรวมมีความ
ถูกต้องในการแปลผลมากที่สุด และพบว่าร้อยละของความสอดคล้องมีที่ตำแหน่งของกระดูกข้อสะโพกรวมเพียง
ตำแหน่งเดียว จึงสรุปได้ว่าค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบันไม่มีความสอดคล้องกับค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์รายบุคคล ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบัน
แทนการใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์รายบุคคลสำหรับประกอบการแปลผลการตรวจ
ติดตามความหนาแน่นกระดูกได้


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Carey JJ, Delaney MF. Utility of DXA for
monitoring, technical aspects of DXA BMD
measurement and precision testing. Bone.
2017; 104: 44-53.

2. 2019 ISCD Official Positions – adult
[Internet]. 2019 [accessed December 27,
2019]. Available from: https://www.iscd.
org/official-positions/2019-iscd-officialpositions-adult/

3. Baim S, Wilson CR, Lewiecki EM, Luckey
MM, Downs RW Jr, Lentle BC. Precision
assessment and radiation safety for dualenergy X-ray absorptiometry: position paper
of the International Society for Clinical
Densitometry.J Clin Densitom. 2005; 8:
371-8.

4. Lewiecki EM, Lane NE. Common mistakes
in the clinical use of bone mineral density
testing. Nat Clin Pract Rheumatol. 2008; 4:
667-74.

5. International Atomic Energy Agency. Dual
energy X Ray Absorbtiometry for bone
mineral density and body composition
assessment. [Internet]. 2010 [accessed
April 29, 2018]. Available from: https
HYPERLINK “https://www-pub.iaea.org/
MTCD/Publications/PDF/Pub1479_web.
pdf”.

6. Bonnick SL, Lewis LA. Bone densitometry for
technologists: The Importance of precision.
3rded.New York: Springer Science+Business
Media; 2013: 163-82.

7. Kim HS, Yang SO. Quality control of
DXA system and precision test of radiotechnologists. J Bone Metab. 2014; 21: 2-7.

8. Lewiecki EM, Binkley N, Morgan SL,
Shuhart CR, Camargos BM, Carey JJ, et
al. Best practices for dual-energy x-ray
absorptiometry measurement and
reporting: International Society for Clinical
Densitometry Guidance. J Clin Densitom.
2016; 19: 127-40.

9. Nelson L, Gulenchyn KY, Atthey M, Webber
CE. Is a fixed value for the least significant
change appropriate? J Clin Densitom. 2010;
13: 18-23. doi: 10.1016/j.jocd.2009.10.001.

10.Kiebzak GM, Morgan SL. Long-term versus
short-term precision of dual-energy x-ray
absorptiometry scans and the impact on
interpreting change in bone mineral density
at follow-up. J Clin Densitom. 2011; 14:
108-15.