ประสิทธิผลของน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ต่ออาการปวดและองศา การเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาต สัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง

ผู้แต่ง

  • วรัมพา สุวรรณรัตน์ คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
  • กายแก้ว คชเดช คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
  • ภัชรินทร์ กลั่นคูวัฒน์

คำสำคัญ:

น้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ), โรคลมปลายปัตคาดสัญญาณ 4 5 หลัง, ธาตุเจ้าเรือน

บทคัดย่อ

บทนำ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อเป็นภาวะที่พบได้บ่อย มักก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานทางร่างกาย และ
ความไม่สบายใจ ส่งผลให้ต้องพึ่งการดูแลรักษาอยู่ตลอดเวลา และกระทบต่อการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิต
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ในการบรรเทาอาการปวด
และตึงกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง (ภาวะที่มีอาการปวดและตึงของกล้ามเนื้อ
บริเวณคอ บ่า สะบัก หลังส่วนบน อาจมีอาการมึนงงและเวียนศีรษะร่วมด้วย) และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผล
ของน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ในผู้ป่วยที่มีปถวีธาตุ(ธาตุดิน) เป็นธาตุเจ้าเรือนกับผู้ป่วยที่มี
ธาตุอื่นๆ เป็นธาตุเจ้าเรือน ได้แก่ อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) และเตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
วิธีการศึกษา ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการปวด และตึงกล้ามเนื้อจากโรคลมปลายปัตคาดสัญญาณ 4 หรือ
5 หลัง ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 20 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 คือผู้ที่มีปถวีธาตุเป็นธาตุเจ้าเรือน จำนวน 10 คน และกลุ่มที่ 2 คือ ผู้ที่มีธาตุอื่นๆ เป็นธาตุเจ้าเรือน
ได้แก่ อาโปธาตุ วาโยธาตุ และเตโชธาตุ จำนวน 10 คน ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมัน
ปถวีธาตุ) เพื่อทาในเวลาเช้าและเย็น ครั้งละ 1 มิลลิลิตร ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยก่อนและหลัง
การรักษาผู้ป่วยได้รับการประเมินระดับความปวดด้วย visual rating scales และได้รับการประเมินความตึงของ
กล้ามเนื้อด้วยการวัดองศาการเคลื่อนไหว
ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยที่ทาน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) มีอาการปวดลดลงและมีองศา
การเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างธาตุเจ้าเรือน พบว่า
น้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ช่วยลดระดับความปวดของผู้ป่วยที่มีปถวีธาตุเป็นธาตุเจ้าเรือนได้
มากกว่าผู้ป่วยที่มีธาตุอื่นๆ เป็นธาตุเจ้าเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนองศาการเคลื่อนไหว
พบว่า ไม่แตกต่างกัน
สรุป การทาด้วยน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ช่วยลดความปวดกล้ามเนื้อ และตึงกล้ามเนื้อใน
ผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง โดยผู้ป่วยสามารถใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการปวดด้วยตนเอง
และช่วยลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการรักษาพยาบาล

Author Biography

ภัชรินทร์ กลั่นคูวัฒน์

'

References

1. กิติยา โกวิทยานนท์, ปนตา เตชทรัพย์อมร. เปรียบ
เทียบผลการรักษาผู้ป่วยปวดคอจาก Myofascial
Pain Syndrome ด้วยการนวดไทยกับอัลตร้า
ซาวด์. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก. 2553; 8: 179-90.

2. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย
มหิดล. โรคออฟฟิศซินโดรม. สืบค้นเมื่อ 4
พฤษภาคม 2559, เข้าถึงได้จาก: https://
www.siphhospital.com/th/news/article/
share/696

3. สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. โรคออฟฟิศ
ซินโดรม. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2559, เข้า
ถึงได้จาก: http://www.msdbangkok.go.th/
healthconner_Office%20syndrome.htm

4. สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย.
แนวทางเวชปฏิบัติกลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบ
กระดูกและกล้ามเนื้อ. กรุงเทพ: บริษัท อมรินทร์
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2552.

5. ธราธร อัศว์วัธรวรโชติ และคณะ. คู่มือเทียบ
เคียงโรคทางหัตถเวชกรรมไทย แพทย์แผนไทย
& แพทย์แผนปัจจุบัน. ชมรมหมอยาไทย; 2559.

6. มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิม.
หัตถเวชกรรมแผนไทย (นวดแบบราชสำนัก).
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2554:
112-3.

7. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติจำนวนผู้ป่วยนอก
จำแนกตามกลุ่มสาเหตุการป่วย 21 โรค จากสถาน
บริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขทั่ว
ราชอาณาจักร พ.ศ.2543-2552. สืบค้นเมื่อ 4
พฤษภาคม 2559, เข้าถึงได้จาก: http://service.
nso.go.th/nso/nsopublish/BaseStat/
tables/00000_Whole%20Kingdom/out43-52.xls

8. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติจำนวนผู้ป่วยในการ
จำแนกตามกลุ่มสาเหตุการป่วย 75 โรคจากสถาน
บริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขทั่ว
ราชอาณาจักร พ.ศ. 2543-2552. สืบค้นเมื่อ 4
พฤษภาคม 2559, เข้าถึงได้จาก: http://service.
nso.go.th/nso/nsopublish/BaseStat

9. คณะกรรมการพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติการ
แพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการ
แพทย์ทางเลือก เขตสุขภาพที่ 3. คู่มือแนวทาง
เวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือกเขตสุขภาพที่ 3. สืบค้น
เมื่อ 18 กันยายน 2563, เข้าถึงได้จาก: http://
www.ppho.go.th/webppho/dl_strat/
F20181018140227.pdf

10. มกร ลิ้มอุดมพร, ผกากรอง ขวัญข้าว, บุญทำ กิจนิยม,
ปวัชสรา คัมภีระธัม, นภัสชญา เกษรา, ชลาลัย
โชคดีศรีจันทร์, และคณะ. ประสิทธิผลการรักษา
ด้วยวิธีผสมผสานการนวดไทยร่วมกับการใช้ยา
แผนปัจจุบันในผู้ป่วยปวดศีรษะไมเกรนชนิดมีและ
ไม่มีอาการเตือน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์
สุขภาพ. 2561; 12: 78-87.

11. ยุทธพงษ์ ศรีมงคล, ไพจิตร์ วราชิต, ปราณี ชวลิต
ธำรง, บุษราวรรณ ศรีวรรธนะ, รัดใจ ไพเราะ, จัน
ธิดา อินเทพ, และคณะ. การเปรียบเทียบสรรพคุณ
ของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงกับไดโคลฟีแนคเป็น
ยาบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง. วารสารการ
แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2550;
5: 17-23.

12. ปรีชา หนูทิม. การเปรียบเทียบประสิทธิผลของ
ยาแคปซูลสหัสธารากับยาเม็ดไดโคลฟีแนคใน
การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ. วารสารการ
แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2556;
11: 54-65

13. Laupattarakasem P, Wangsrimongkol T,
Surarit R, Hahnvajanawong C. In vitro
and in vivo anti-inflammatory potential
of Cryptolepis buchanani. Journal of
Ethnopharmacolgy. 2006; 108: 349-54.

14. Shalaby S, Magd El-Din M, Abo-Donia
SA, Mettwally M, Attia ZA. Toxicological
Impacts of the essential oils from
eucalyptus Eucalyptus globules and clove
Eugenia caryophyllus on albino rats. Polish
Journal of Environmental Studies. 2011;
20: 429–34.

15. วารณี ประดิษฐ, สิริวดี ชมเดช, กรกฎ
งานวงศพาณิชย์. งานวิจัยสมุนไพรไทยสำหรับการ ํ
รักษาโรค ขอเสื่อม. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 2557; 
42: 289-302

16. รังสรรค์ ปัญญาธัญญะ, วันทนา งามวัฒน์,
อุไรวรรณ เพิ่มพิพัฒน์, โอรส ลีลากุลธนิต, จรินทร์
จันทรฉายะ และปราณี ชวลิตธำรง. การศึกษา
ความเป็นพิษของไพลในหนู. วารสารศิริราช.
2529; 38: 413-16.


17. Kamatou GP, Vermaak I, Viljoen AM.
Eugenol-from the remote Maluku Islands
to the international market place: a review
of a remarkable and versatile molecule.
Molecules. 2012; 17: 6953-81.

18. คณิต ออตยะกุล, สุมาลี ซื่อธนาพรกุล, ไกรวัชร
ธีรเนตร. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพ
ระหว่าง เจลพริกและเมทเทิลไซลิซาเลทเพื่อเป็น
ยาทาเสริมสำหรับการบำบัดอาการปวดหลังส่วน
ล่างเรื้อรัง. วารสารเวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2550;
17: 91-5.

19. Atawodi SE, Atawodi JC, Pfundstein B,
Spiegelhalder B, Bartsch H, Owen R.
Assessment of the polyphenol components
and in vitro antioxidant properties of
Syzygium aromaticum (L.) Merr. & Perry.
Electronic journal of environmental,
Agricultural and food chemistry. 2011; 10:
1970-8.

20. พัชรี สุนทรพะลิน, ศศิธร วสุวัต. การใช้ครีมผักบุ้ง
ทะเลรักษาผิวหนังอักเสบที่เกิดจากแมงกะพรุน.
สารศิริราช. 1985; 37: 329-38.
21. กัลยา ปานงูเหลือม, วิชัย อึงพินิจพงศ์. ความน่าเชื่อ
ถือและความตรงของเครื่องมือวัดการเคลื่อนไหว
คอ “WE-CAP”. วารสารเทคนิคการแพทย์และ
กายภาพบำบัด. 2561; 30: 237- 43.

22. การประเมินระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ. โครงการ
ตำราคณะพยาบาลศาสตร์. คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2552

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01