ผลการสอนสุขศึกษาโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เรื่องการปฏิบัติตัวหลังทำผ่าตัดต้อกระจกให้กับผู้ป่วย ผ่าตัดต้อกระจก

Main Article Content

อังคนา อัศวบุญญาเดช
ดุจดาว ศุภจิตกุลชัย
วริศนันท์ ปุรณะวิทย์

บทคัดย่อ

บริบท โรคต้อกระจก เป็นภาวะที่เลนส์แก้วตาขุ่น ทำให้การมองเห็นแย่ลง มักพบในคนสูงอายุเป็นส่วนใหญ่ เป็น ภาวะโรคที่พบมาก ทำให้โรคต้อกระจกเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดความพิการในผู้สูงอายุ การรักษาต้อกระจกยัง ไม่มียาชนิดใดที่รักษาหรือป้องกันได้ นอกจากการผ่าตัดต้อกระจก หลังการผ่าตัด ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ สำหรับการดูแลตนเอง เพื่อช่วยส่งเสริมให้รอยแผลหลังการผ่าตัดสมานหายสนิท ดังนั้นการดูแลหลังการผ่าตัดจึงมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการสอนสุขศึกษาโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เรื่องการปฏิบัติตัวหลังทำผ่าตัดต้อกระจกให้กับผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก และความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์ของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก
วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อกระจกและได้รับการผ่าตัดต้อกระจกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึง 31 กรกฎาคม 2563 รวม 35 คน โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่างและได้รับการสอนสุขศึกษาด้วยสื่อวีดิทัศน์เรื่องการปฏิบัติตัวหลังทำผ่าตัดต้อกระจก โดยทำแบบทดสอบก่อน
และหลังการชมสื่อวีดิทัศน์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) วีดิทัศน์ ที่ได้ผ่านการพิจารณาความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน 2) แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคต้อกระจกและความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังทำผ่าตัดต้อกระจก และแบบวัดความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์ของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก ตรวจสอบความเที่ยงตรง
ตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับหรือมากกว่า 0.6 ขึ้นไปทุกข้อค่าดัชนีความสอดคล้องทั้งฉบับ มีค่า เท่ากับ 0.76 ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ โดยนำเครื่องมือไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประชากรในการศึกษา ทำการประเมินหาค่าความเชื่อมั่นแบบคูเดอร์ริชาร์คสัน ได้ค่า เท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Wilcoxon Signed Ranks test)
ผลการศึกษา สื่อวีดิทัศน์เรื่องการปฏิบัติตัวหลังทำผ่าตัดต้อกระจก สามารถสื่อความรู้ให้กับผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกเพิ่มขึ้น ผลความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์ของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกภายหลังชมสื่อวีดิทัศน์อยู่ในระดับมาก และผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคต้อกระจก และความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังทำผ่าตัดต้อกระจกหลังชม
สื่อวีดิทัศน์มีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
สรุป ผลจากการวิจัยนี้ หน่วยงานสามารถนำสื่อวีดิทัศน์ใช้ในการสอนสุขศึกษากับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจก
ซึ่งอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวรได้ หากปฏิบัติตัวได้ไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยเข้าถึงสื่อได้โดยง่ายจาก QR code ทำให้สามารถทบทวนความรู้และดูแลการปฏิบัติตัวต่อเนื่องที่บ้านได้ด้วยตนเอง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กิติกุล ลีละวงศ์. แนวคิดด้านจักษุสาธารณสุข. วารสารจักษุสาธารณสุข. 2552; 22: 50-5.

รังสรรค์ คีละลาย, ประเสริฐ์ ประสมรักษ์. ผลของรูปแบบการส่งเสริมการดุแลตนเองในชุมชนของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก ในพื้นที่ รพ.ส่งเสริมสุขภาพ ต.นากอก อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร. ว.การพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560 ; 5 : 242-58.

กนกพร อริยภูวงศ์ , ศุภพร ไพรอุดม , ทานตะวัน สลีวงศ์. ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุน และให้ความรู้ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลสุโขทัย. ว.วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2562 ; 2 : 17 – 30.

อมราภรณ์ ลาภชูรัต. ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่อความรู้ และการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก รพ. สุราษฎร์ธานี. ว.วิชาการแพทย์เขต 11. 2561; 32 : 1109-112.

อรทัย เส็งกิ่ง, ศุภิกษณา ตันชาว. ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลโดยการใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และความสามารถของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุหลังผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลนครพิงค์ 2560; 8: 22-32.

ยุวดี ชาติไทย, นภาพร วาณิชย์กุล, สุชาดา ภัทรมงคลฤทธิ์. ผลของการให้คำแนะนำผ่านสื่อวีดิทัศน์ และหุ่นสาธิตต่อความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังผ่าตัดต้อกระจก ของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัด จากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่. สงขลานครินทร์ 2559 ; 36 : 159-70.

จิตราภรณ์ ชั่งกริส. การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เพื่อการเรียนรู้ ตามแนวคิด Fipped Classroom เรื่องการตรวจร่างกายรายวิชาการประเมินภาวะสุขภาพ (วิทยานิพนธ์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ; 2559.

ปานเนตร ปางพุฒพงค์. โรคตา.(อินเทอร์เน็ต).นนทบุรี : กรมการแพทยกระทรวงสาธารณสุข ; 2557. (เข้าถึงเมื่อ25 กันยายน 2562). เข้าถึงได้จาก: www.hiso.or.th/hiso/picture/report Health/report/report8_13.pdf.

แผนกจักษุ. คำแนะนำหลังผ่าตัดต้อกระจก (แผ่นพับ).ชลบุรี: โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ;2560.

ต้อกระจก (อินเทอร์เนต). สิงคโปร์: บริษัทราเนลาจ จำกัด; 2559. ( เข้าถึงเมื่อ 25 ก.ย. 2562 ). เข้าถึงได้จาก: http :// pobpad.com.

ศิริลักษณ์ กิจศรีไพศาล, จุไรรัตน์ ภูริบุตร. การรับรู้และความต้องการความรู้ที่จำเป็นสำหรับการดูแลตนเองของผู้ป่วยและผู้ดูแลที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกแบบไม่ค้างคืน.ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2555;20: 437-48.

อรุณรัตน์ รอดเชื้อ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก รพ. ราชวิถี. ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2555; 28: 25-37.

ผุสดี บรมธนรัตน์. ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อการลดความวิตกกังวลและการลดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี.ว.วิชาการแพทย์เขต 11. 2559 ;30,129-31.