ปัจจัยเสี่ยงในการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมชนิด

Main Article Content

ปองทิพย์ อุ่นประเสริฐ
ภาคภูมิ บำรุงราชภักดี
พุฒิศักดิ์ พุทธวิบูลย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลในการกลับเป็นซ้ำ และศึกษาลักษณะทางคลินิกในผู้ป่วย โรคมะเร็ง เต้านมชนิด Triple-Negative Breast Cancer (TNBC)


วิธีการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น TNBC ตั้งแต่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 นำมาแบ่งกลุ่มย่อยตามอายุ ประวัติครอบครัว อาการนำ วิธีการตรวจพบ ขนาดของก้อนมะเร็ง ระดับของมะเร็ง (cancer grade) การแพร่กระจายไปยัง ต่อมน้ำเหลือง การแพร่กระจายผ่านทางเดินน้ำเหลือง ขอบเขตของเนื้อเยื่อที่ตัด การรักษาด้วยวิธีการทางยา เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีผลในการพยากรณ์โรค และการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมชนิด TNBC


ผลการศึกษา มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 80 รายที่ได้รับการวินิจฉัย TNBC อายุเฉลี่ย 50.9 ปี (พิสัย 28-79 ปี) เกือบทั้งหมด มาด้วยก้อนที่เต้านม (ร้อยละ 98.75) ส่วนใหญ่เป็นเนื้องอกระดับ (เกรด) 3 (ร้อยละ 64) และเนื้องอกมีขนาด มากกว่า 2 เซนติเมตร (ร้อยละ 73.7) ร้อยละ 30 มีส่วนประกอบของมะเร็งชนิด invasive intraductal ร้อยละ 56.25 พบการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง ร้อยละ 38.75 พบว่ามีการแพร่กระจายผ่านทางเดินน้ำเหลือง โดยพบว่าการแพร่กระจายผ่านทางเดินน้ำเหลืองเป็นตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติในการกลับเป็นซ้ำ (odds ratio 4.17, 95% CI : 1.5183 - 11.4343, p = 0.0056)


สรุป งานวิจัยนี้แสดงว่าการแพร่กระจายผ่านทางเดินน้ำเหลืองเป็นปัจจัยที่สำคัญทางสถิติในการกลับเป็นซ้ำ ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมชนิด TNBC

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Rakha EA, Ellis IO. Triple-negative/basal-like
breast cancer: review. Pathology. 2009;
41: 40-7.

2. Dawood S, Broglio K, Kau SW, Green
MC, Giordano SH, Meric-Bernstam F, et
al. Triple receptor-negative breast cancer:
the effect of race on response to primary
systemic treatment and survival outcomes.
J Clin Oncol. 2009; 27: 220-6.

3. Rakha EA, El-Sayed ME, Green AR, Lee
AH, Robertson JF, Ellis IO. Prognostic
markers in triple-negative breast cancer.
Cancer. 2007; 109: 25-32.

4. Tan DS, Marchió C, Jones RL, Savage K,
Smith IE, Dowsett M, et al. Triple negative
breast cancer: molecular profiling
and prognostic impact in adjuvant
anthracycline-treated patients. Breast
Cancer Res Treat. 2008; 111: 27-44.

5. Matkovic B, Juretic A, Separovic V, Novosel
I, Separovic R, Gamulin M, et al.
Immunohistochemical analysis of ER,
PR, HER-2, CK 5/6, p63 and EGFR antigen
expression in medullary breast cancer.
Tumori. 2008; 94: 838-44.

6. Nofech-Mozes S, Trudeau M, Kahn HK, Dent
R, Rawlinson E, Sun P, et al. Patterns, of
recurrence in the basal and non-basal
subtypes of triple-negative breast cancers.
Breast Cancer Res Treat. 2009; 118: 131-7.

7. Carey LA, Rugo HS, Marcom PK, Mayer
EL, Esteva FJ, Ma CX, et al. TBCRC 001:
EGFR inhibition with cetuximab added to
carboplatin in metastatic triple-negative
(basal-like) breast cancer. J Clin Oncol.
2008; 8: 178-86.

8. Dent R, Trudeau M, Pritchard KI, Hanna
WM, Kahn HK, Sawka CA, et al. Triplenegative
breast cancer: Clinical features
and patterns of recurrence. Clin Cancer
Res. 2007; 13: 4429-34.

9. Ovcaricek T, Frkovic SG, Matos E, Mozina
B, Borstnar S. Triple negative breast
cancer – prognostic factors and survival.
Radiol Oncol. 2011; 45: 46-52.

10. Collett K, Stefansson IM, Eide J, Braaten
A, Wang H, Eide GE, et al. A basal epithelial
phenotype is more frequent in interval
breast cancers compared with screen
detected tumors. Cancer Epidemiol
Biomarkers Prev. 2005; 14: 1108-12.

11. Liedtke C, Mazouni C, Hess KR, André
F, Tordai A, Mejia JA, et al. Response
to neoadjuvant therapy and long-term
survival in patients with triple-negative
breast cancer. J Clin Oncol. 2008; 26:
1275-81.

12. Banerjee S, Reis-Filho JS, Ashley S, Steele
D, Ashworth A, Lakhani SR, et al. Basal-like
breast carcinomas: clinical outcome and
response to chemotherapy. J Clin Pathol.
2006; 59: 729-35.