ผลการเตรียมความพร้อมก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติงานต่อผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ ๑ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Main Article Content

สุกัญญา ม่วงเลี้ยง
สุดารัตน์ ไชย์ประสิทธิ์
ณัฏฐมณฑน์ โกศัย
สิริกานดา สุขเกษม
วิรินทร พิมไลย

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 และผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่าง 36 คน เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความพร้อมด้านทักษะการปฏิบัติการพยาบาล แบบประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเตรียมความพร้อมก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยายและสถิติ paired t-test


          ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนระดับความพร้อมด้านทักษะปฏิบัติการพยาบาลเกี่ยวกับการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติงานอยู่ในระดับพอใช้ มีค่าเฉลี่ย 2.39 (SD = .27) และหลังการเข้าร่วมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.08 (SD = .22)  2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความพร้อมด้านทักษะปฏิบัติการพยาบาลเกี่ยวกับการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเตรียมความพร้อมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมการเตรียมความพร้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .001 3) ค่าเฉลี่ยของผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเตรียมความพร้อมด้านทักษะปฏิบัติการพยาบาล เกี่ยวกับการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 ก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติงานสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมการเตรียมความพร้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเตรียมความพร้อมก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 4.25, SD= .12)


          การวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการเตรียมความพร้อมก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติงาน มีผลต่อผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนการขึ้นปฏิบัติงาน เพื่อผลลัพธ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Gagne, R. M. (1985). The conditions of learning ang theory of instruction. New York: CBS College Publishing. (in Thai).

Higher Education Commission Ministry of Education. (2017). Announcement of the higher education commission re: guidelines for compliance with the national higher education qualifications framework. (in Thai).

Jamjang, S., Attametakul, V. & Pitaksin, D. (2018). The effect of readiness preparation for nursing practice in ward of 2nd year nursing students, Boromarajonani college of nursing, Ratchaburi. Journal of Science & Technology, 20(3), 147-163. (in Thai).

Jampathet, N., Boontan, W. & Phantasi, P. (2015). Student and teaching factors in correlation with happy learning in fundamentals of nursing, practicum of nursing students, Faculty of Nursing, Hauchiew Chalermprakiet University. HCU Journal of Health Science, 19(37), 1-14. (in Thai).

Jantavat, P. (2020). Preparation of nursing student for stress relief during oractice in delivery room. Kuakarun Journal of Nursing, 25(1), 184-191. (in Thai).

Lapchiem, P. (2020). The results of pre-clinic program on knowledge and nursing practical skill preparation in maternal-child nursing and midwifery of the third year nursing students at Boromarajonani college of nursing, Chiang Mai. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Surin, 9(2), 42–54. (in Thai).

Macneil, C. (2001). The supervision as a facilitator or informal learning in work teams. Journal of Workplace Learning, 13(16), 246-253. (in Thai).

Nash, R., Lemcke, P. & Sacre, S. (2009). Enhancing transition: An enhanced model of clinical for final years nursing students. Nurse Education Today, 29(1), 48-56. (in Thai).

Rungnoei, N. & Seesawang, J. (2019). Effects of self-development supportive for the pre- practicum preparation at Intensive care unit on knowledge and skills among nursing students. Journal of Phrapokklao Nursing College, 27(2), 29-38. (in Thai).

Saetan, C. & Kampun, S. (2014). Stress and coping strategies of nursing students in clinical practice preparation of maternal and child health nursing and midwifery 1. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 30(3), 54-63. (in Thai).

Soontonmalai, K. (2018). Factors prediction and stress reduction guideline for stress in maternal-newborn nursing and midwifery practicum 1 of police nursing students at police nursing students at police nursing college. Journal of The Police Nurses, 9(2), 128-138. (in Thai).