การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพุทธชินราช

Main Article Content

รุ่งทิวา หวังเรืองสถิตย์
อัญชลี แก้วสระศรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 219 คน แบ่งเป็นอาจารย์พยาบาลของวิทยาลัยฯ ทั้งหมด จำนวน 49 คน อาจารย์พิเศษสอนภาคปฏิบัติ จำนวน 15 คน ผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2563 จำนวน 142 คน และผู้บริหารทางการพยาบาล จำนวน 13 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามการประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 และแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งมีโครงสร้าง การตรวจสอบความตรงของเนื้อหาของแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน พบค่า IOC เท่ากับ .50-1.00 และหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .99  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 


          ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าบริบทของหลักสูตรและกระบวนการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.64, SD= .37 และ gif.latex?\bar{X}= 4.57, SD= .39 ตามลำดับ) ส่วนผลผลิตของหลักสูตรและปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=  4.36, SD= .42 และ gif.latex?\bar{X} = 4.24, SD= .47 ตามลำดับ) ผลการวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับบริบทของหลักสูตรพบว่าควรมีการปรับเนื้อหาหลักสูตรให้ทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโรคและระบบสุขภาพ ด้านปัจจัยนำเข้าพบว่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้พยาบาลจบใหม่ลาออกคือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชาชีพพยาบาล และค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะงานที่หนัก ด้านกระบวนการพบว่ากระบวนการบริหารหลักสูตรเหมาะสม และด้านผลผลิตของหลักสูตรพบว่านักศึกษาพยาบาลควรฝึกปฏิบัติทักษะการพยาบาลเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีศักยภาพในการปฏิบัติการพยาบาลได้  ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 พัฒนาการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Boromarajonani College of Nursing Buddhachinaraj. (2017). The bachelor of nursing science curriculum (Revised. B.E. 2017). Phitsanuloke: Boromarajonani College of Nursing Buddhachinaraj. (in Thai).

Boromarajonani College of Nursing Buddhachinaraj. (2020). Action plan B.E. 2563. Phitsanuloke: Boromarajonani College of Nursing Buddhachinaraj. (in Thai).

Boromarajonani College of Nursing Buddhachinaraj. (2020). Curriculum management handbook B.E. 2563. Phitsanuloke: Boromarajonani College of Nursing Buddhachinaraj. (in Thai).

Chidnayee, S., Chomchan, S., Unban, P. & Chotiga, P. (2021). The curriculum evaluation of the bachelor of nursing

science program (Revised in 2017), Boromarajonani College ofNursing, Chiangma. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 13(2), 199-214. (in Thai).

Fitzpatrick, Sanders, & Worthen. (2011). Program evaluation: Alternative approaches and practical guidelines (4th Ed.). New York: Allyn & Bacon. Canadian Publisher: Pearson.

Internal Quality Assessors. (2021). Internal quality assessment report B.E. 2563. Phitsanuloke: Boromarajonani College of Nursing Buddhachinaraj. (in Thai).

Kooariyakul, A., Chidnayee, S., Wuttijurepan, A., Udomleard, M., Lortamma, P. & Sripalakich, J.(2017). The evaluation of the bachelor of nursing curriculum revised edition 2012, Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 9(1), 44-58. (in Thai).

Krua-chottikul, S., Noppornpanth, M., Chanhom, S., Sitthapirom, V. & Samutpradit, K. (2016).

The curriculum evaluation of the bachelor of nursing science (revised curriculum 2012) of Faculty of Nursing, Saint Louis College. Journal of Health and Health Management, 3(3), 10-24. (in Thai).

Mile, M.B. & Huberman, M. (1994). Qualitative data analysis: an expanded sourcebook (2nd ed.). Thousand Oaks: Sage.

Ministry of Education. (2015). Undergraduate program standard Criteria B.E. 2558. Retrieved

(2020, August 10). from https://acrd.tu.ac.th/course/documents/1.1/criterion_b58.PDF (in Thai).

Ministry of Education. (2017). Standard qualifications framework for undergraduate program in

nursing science B.E. 2560. Retrieved (2020, August 10). from

https://www.ubu.ac.th/web/files_up/46f2018011909463762.pdf (in Thai).

Phatphon, M. (2019). Contemporary curriculum development model. Bangkok: Innovative Leaders Center of Curriculum and Learning. (in Thai).

Photawon, P., Boonnual, C. & Saiwaree, T. (2022). An evaluation of the bachelor of nursing science program (revised curriculum B.E. 2559). The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 9(1), 199-212. (in Thai).

Poonchai, S., Arayathanitkul, B., Meeparn, A., Indhraratana, A., Untaja, P., Prasittivejchakul, A. & Chewsothon, S. (2019). An evaluation of the bachelor science in nursing curriculum (revised. B.E. 2555) of the Royal Thai Army Nursing College. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 20(2), 380-389. (in Thai).

Thailand Nursing and Midwifery Council. (2020). Guideline for nursing school accreditation. B.E.2563. Bangkok: Jodtong publishing. (in Thai).

Wongyai, V. (2011). Curriculum development for higher education. Bangkok: R & Print Company. (in Thai).