รูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนห้วยโรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

พรพรรณ มนสัจจกุล
ศุภรดา ชุมพาลี
ถนอม มงคลผิวทอง
ธิรดา ป้อมพยัคฆ์
ปุญชิดา อิ่มทอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินผลรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคของประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนห้วยโรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จำนวน 51 คน ได้แก่ประชาชนที่เข้ารับคำปรึกษา/แสดงความต้องการในการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคและผู้เคยใช้กัญชาหรือสารสกัดจากกัญชาเพื่อรักษาโรคในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยโรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี  จำนวน 29 คน และภาคีเครือข่ายชุมชน ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโรง บุคคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยโรง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)  งานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกโรงพยาบาลห้วยโรง จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบสังเกต กระบวนการวิจัย 5 ระยะ 1) การจัดประสบการณ์อย่างเป็นระบบเพื่อค้นหาปัญหา ความต้องการและแนวทางในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรค 2) การวิเคราะห์วิธีและความเป็นไปได้ในการใช้แนวทางการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3) การสะท้อนกลับเพื่อประเมินแนวทางที่ออกแบบ 4) การดำเนินการตามแนวทางที่ได้ออกแบบ 5) การเรียนรู้อย่างเป็นระบบผ่านการประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและการทดสอบวิลคอกซัน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการจำแนกประเภทข้อมูล


           ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคของประชาชนชุมชนห้วยโรง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 1) สร้างความเข้าใจและความร่วมมือในภาคีเครือข่าย 2) จัดช่องทางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย 3) พัฒนาศักยภาพต้นแบบเพื่อการสื่อสารด้านสุขภาพ 4) ออกแบบสื่อการสอน 5) พัฒนากิจกรรมเสริมความรอบรู้ เมื่อทดสอบผลของการใช้รูปแบบที่พัฒนาพบว่า 1) ต้นแบบเพื่อการสื่อสารด้านสุขภาพหลังพัฒนาศักยภาพมีความรู้และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์เพิ่มขึ้น 2) ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคเพิ่มขึ้น 3) กิจกรรมได้ช่วยส่งเสริมให้เกิดความตระหนักและทักษะการเลือกใช้ รวมถึงเกื้อหนุนการตัดสินใจในการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรค จากผลการศึกษาสามารถประยุกต์รูปแบบดังกล่าวเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคพื้นที่อื่น ๆ และเสริมสร้างศักยภาพชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในทุกขั้นตอนการดำเนินงานซึ่งอาจช่วยให้ประชาชนได้พัฒนาทักษะในแต่ละองค์ประกอบของความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันความเสี่ยงและผลกระทบต่อการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

Assanangkornchai, S., Thaikla K., Talib, M., Paileeklee, S., Charoenratana, S. & Saingam, D. (2021). A study of the situation of medical marijuana use in Thailand. Retrieved (2022, November 20) from https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5346?locale- attribute=th (in Thai).

Choeisuwan, V., (2017). Health literacy: concept and application for nursing practice. Royal Thai Navy Medical Journal, 44(3), 183–197. (in Thai).

Chomsri, P., Matrakul, M., Chairinkam, W., Chaikamwang, T. & Likhitsathian, S. (2020). Development enhancing health literacy program to cannabis used on medication among population in Chiang Rai province. Retrieved (2022, November 2) from

https://cads.in.th/cads/media/upload/1613622254Canabis%20Full_V5%20cutoff%20EN.pdf

Dandongying, R. & Chanthapasa, K. (2021). Cannabis use among public and their reasons: a case study in Kalasin Province. Thai Journal of Pharmacy Practice, 14(3), 594-603. (in Thai).

Division of Non-Communicable Diseases Department of Disease Control. (2021). Annual report 2021. Bangkok: Aksorn graphic and design. (in Thai).

Dontumprai, P. Panma, P., Norkaew, M. & Bodeerat C. (2021). Free cannabis as a medical plant. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(1), 184-198. (in Thai).

Fischer, B., Russell, C., Sabioni, P., Van Den Brink, W., Le Foll, B., Hall, W., Rehm, J. & Room, R. (2017). Lower-risk cannabis use guidelines: a comprehensive update of evidence and recommendations. American journal of public health, 107(8), 1-12.

Im-iam, S., Saensanor, S., Sukcharoen, P. & Sawasdichai, C. (2019). Cannabis. The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center, 36(4), 356-362. (in Thai).

Matsee, C. & Waratwichit, C. (2017). Promotion of health literacy: from concept to practice. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 9(2), 96-111. (in Thai).

Muangyai, A., Chantuma, K., Prombutr, T. & Yingyuen, S. (2018). Promoting community health by acupuncture guidelines to sustainable alternative medicine. Journal of Social Sciences, Law and Politics, 2(1), 138-152. (in Thai).

NimSomboon, T. (2020). Toxicology of cannabis. Thai Journal of Hospital Pharmacy, 30(2), 125-136. (in Thai).

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health promotion international, 15(3), 259-267.

Panthes, K., Prutipinyo C. & Aimyong. N. (2021). Factor related with utilizing of Thai traditional medicines knowledge in primary health care service, Chachoengsao province. Public Health Policy and Laws Journal, 7(3), 397-409. (in Thai).

Photihung, P. (2021). Relationship of health literacy to health promoting and disease prevention behaviors in Thailand: a systematic review. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 29(3), 115-130. (in Thai).

Ponsen, K., Silawan, T., Pacheun, O., & Khansakorn, N. (2017). Community health problems identification and synthesis through participatory learning process. The Public Health Journal of Burapha University, 11(2), 22-32. (in Thai).

Poonthananiwatkul, B., Phungphol, J., Boonruen, S., Yodkong, W., Chomputawut, N. & Chamta, P. (2022). Factors associated with decision making on the utilization of medical cannabis of patients receiving treatment in selected Thai traditional hospitals, Journal of Health Research and Innovation, 5(1), 47-61. (in Thai).

Radapong, S., Suppajariyawat, P., & Phadungkit, M. (2021). Pharmacological and Toxicological effects of Cannabis. Bulletin of the Department of Medical Sciences, 63(1), 219-232. (in Thai).

Riyaphun, S., Bhooanasasn, N., & Prakongyos, Y. (2021). The competency development of community leaders in mental health promotion of the elderly people at Bangsue District, Bangkok. Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine, 65(2), 143-152. (in Thai)

Sornpaisarn, B., Lamyai, W., Ratchadapunnathikul, C., Angkurawaranon, C., Dejkriengkraikul, N. & Rehm, J. (2022). Essential and urgent policy and research and initial policy recommendations regarding the medical cannabis policy in Thailand. Journal of Health Systems Research, 16(1), 34-53. (in Thai).

Suwanasaeng, N., Yingyoud, P. (2020). Primary care cluster: concept and management of registered nurses’ roles. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council, 35(1), 5-17. (in Thai).

Tachavijitjaru, C. (2018). Health Literacy: A key Indicator towards Good Health Behavior and Health Outcomes. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 19(Supplement), 1-11. (in Thai).

The Royal College of Pediatricians of Thailand & Pediatric Society of Thailand. (2022). Reports of pediatric cases with cannabis-related illnesses. Retrieved (2022, December 25). from https://www.thaipediatrics.org/?p=1695 (in Thai).

Yueran. S. & Waratwichit, C. (2018). Participatory action research and the success of policy change in health system. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(2), 288-300. (in Thai).