ประสบการณ์การทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3

Main Article Content

วรรณวดี เนียมสกุล

บทคัดย่อ

    การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจต่อประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรกในขณะฝึกปฏิบัติที่แผนกห้องคลอดของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีแห่งหนึ่งในภาคเหนือ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข รายวิชาการปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ปีการศึกษา 2557 รวบรวมข้อมูลโดยมอบหมายให้นักศึกษาได้เขียนบอกเล่าความรู้สึกในการทำคลอดครั้งแรกภายหลังทำคลอดภายใน 24 ชั่วโมงและการทำอภิปรายกลุ่มภายหลังการเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติทุกกลุ่ม โดยคัดเลือกนักศึกษาพยาบาลผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 26 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์แก่นเนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาพยาบาลมีประสบการณ์ต่อการทำคลอดครั้งแรกแบ่งเป็นแก่นเนื้อหาหลัก (major themes) 3 ประการได้แก่ 1) ความรู้สึกหลากหลายต่อประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรก  2) สิ่งที่คาดหวังในการทำคลอดอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริงเสมอไป และ 3) ความตระหนักถึงความสำเร็จและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการทำคลอดครั้งแรก นักศึกษาพยาบาลมีประสบการณ์ทั้งด้านลบและบวก ได้แก่ ความรู้สึกเครียด วิตกกังวล กลัว ซึ่งส่งผลให้ขาดสมาธิและหลงลืมขั้นตอนในการทำคลอด แต่เมื่อนักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อมตนเองทั้งด้านความรู้และฝึกทักษะในห้องปฏิบัติการตลอดจนให้กำลังใจตนเองและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากอาจารย์นิเทศ และมารดาและทารกปลอดภัยหลังคลอดส่งผลให้เกิดความรู้สึกมีความสุขและ ประทับใจข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยคือการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแก่อาจารย์นิเทศจากวิทยาลัยและอาจารย์พี่เลี้ยงจากแหล่งฝึกที่มุ่งเน้นการจัดประสบการณ์ที่ประทับใจแก่นักศึกษาพยาบาล การจัดทรัพยากรการเรียนรู้ที่ทันสมัย และพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ช่วยลดความเครียดแก่นักศึกษาพยาบาลขณะฝึกปฏิบัติงานในแผนกห้องคลอด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1. BunJung, O. B., and Park, H. J. (2011).Experience on delivery room practice of male nursing students. Korean Journal of Women Health Nursing, 17(1), 64-76.
2. Clarke, V. & Ruffin, C. (1992). Perceivedsources of stress among student nurses. Contemporary Nurse, 1(1), 35-40.
3. Jumthong, S., Yolao, D., Vanindananda, N.,& Bhukong, S. (2009). StressExperience and Stress Coping Behavior of Nursing Students from Clinical Learning at Labour Room. Journal of Behavioral Science, 15(1), 39-56. (in Thai)
4. Kasamanon, C., Prachasaisoradej, K., Duangjai,O., Satarak, P. (2015, July). Stress relives among the third year nursing students, batch number 33 in the Maternal and Newborn Nursing and Midwifery Practicum I. Retrieved from http://www.bnc.ac.th/cheqa55/2/2.6-5-
1.pdf. (in Thai)
5. Lazarus, R. S., &Folkman, S. (1984). Stress, appraisal and coping. New York: SpringerPublishing Company.
6. Lertsakornsiri, M. (2015). The Stress, Stress Management of Nursing Students during Practice in the Labor Room. Kuakarun Journal of Nursing, 22(1), 7- 16. (in Thai)
7. Limthongkul, M., & Aree-Ue, S. (2009). Sources of stress, coping strategies, and outcomes among nursing students during their initial practice. Ramathibodi Nursing Journal, 15(2), 192-205. (in Thai)
8. Nuchareonkul, S. (2010). Self-care: Science and art in nursing. Bangkok: V.J. Printing. (in Thai)
9. Selye, H. (1974). Stress without distress. Philadelphia: J. B. Lippincott Co.
10. Suwannobol, N., & Suwachan, L. (2012). The practical delivery room experience of nursing students at Suranaree University of Technology. World Academy of Science, Engineer and Technology, 6, 11-21.
11. Tannirundorn, Y., &Pujareon, W. (2008). Maternal and Fetal Medicine. 2 nd edition. Bangkok: Pimdee Publishing. (in Thai)
12. Vatanasin, S. (2001). Percieved stress level and sources of stress among nursing students at Faculty of Nursing, Burapha University. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 18(1), 47-59. (in Thai)