การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจของครอบครัวที่มีต่อผู้สูงอายุที่มีภาวะเรื้อรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้รูปแบบการวิจัยผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่มีภาวะเรื้อรัง องค์ประกอบการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกครอบครัวในการดูแลจิตใจผู้สูงอายุที่มีภาวะเรื้อรัง เปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกครอบครัวในการดูแลจิตใจผู้สูงอายุที่มีภาวะเรื้อรังก่อนและหลังการได้รับรูปแบบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกครอบครัวในการดูแลจิตใจผู้สูงอายุที่มีภาวะเรื้อรัง ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะเรื้อรังที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าโพธิ์ พิษณุโลก จำนวน 200 คน และสมาชิกครอบครัวที่ปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะเรื้อรัง จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ฉบับสั้น 15 ข้อ แบบสอบถามการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกครอบครัวในการดูแลจิตใจผู้สูงอายุที่มีภาวะเรื้อรังรูปแบบการฝึกอบรมการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกครอบครัวในการดูแลจิตใจผู้สูงอายุที่มีภาวะเรื้อรัง และเชิงคุณภาพคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่าสถิติที
และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผู้สูงอายุที่มีภาวะเรื้อรังมีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนปกติ คิดเป็นร้อยละ 37.50 ผู้สูงอายุที่มีภาวะเรื้อรังมีสุขภาพจิตเท่ากับปกติ คิดเป็นร้อยละ 31.50 และผู้สูงอายุที่มีภาวะเรื้อรังมีสุขภาพจิตสูงกว่าปกติ คิดเป็นร้อยละ 31.00 โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบของการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกครอบครัวในการดูแลจิตใจผู้สูงอายุที่มีภาวะเรื้อรัง มี 4 องค์ประกอบ คือ การสื่อสาร ความผูกพันทางอารมณ์ การแก้ปัญหา และการทำกิจกรรมร่วมกัน มีค่าความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความรู้ เจตคติ และทักษะเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกครอบครัวในการดูแลจิตใจผู้สูงอายุที่มีภาวะเรื้อรัง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ที่ระดับนัยสำคัญ .05 (ความรู้ ก่อนการทดลอง มีค่า 2.22 หลังการทดลองมีค่า 3.41 เจตคติ ก่อนการทดลอง มีค่า 2.66 หลังการทดลอง มีค่า 3.50 และทักษะก่อนการทดลอง มีค่า 2.25 หลังการทดลอง มีค่า 3.46 )
Article Details
บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
2. คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมแลความมั่นคงในมนุษย์. (2552).แผนผู้สูงอายุ แห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545–2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1.
3. ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์. (2554). การสร้างเสริมสุขภาพครอบครัวโดยนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ.(ฉบับพิเศษ).
4. ประภาส อุครานันท์ และคณะ. (2557). การพัฒนาและทดสอบแบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุ.ขอนแก่น : โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์.
5. ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2552). ครอบครัวและผู้สูงอายุ.การทบทวนและสังเคราะห์องค์ความรู้ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2545-2550. แผนงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).
6. สุชาติ ศุภปีติพร และศิริลักษณ์ ศุภปีติพร. (2548).การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวกับการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทไม่ต้องพึ่งอินซูลิน. จุฬาลงกรณ์เวชสาร49(5) (พฤษภาคม) 269-280. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ครอบครัว..ความสุขของผู้สูงวัย.สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2557 จาก .nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/news_family1.jsp.
7. อรวรรณ คูหา และนันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์. (2552).การศึกษาระบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีความเปราะบางด้านสุขภาพในชุมชน.วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ,10(4) (ตุลาคม-ธันวาคม): 9-16.
8. อุมาพร ตรังสมบัติ. (2544). จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัว.
9. Gagne, R.M. (1985). The Conditions of Learningand Theory of Instruction. 4th ed. NewYork: Holt, Rinehart and Winston.
10. Hitchcock, J.E., Schubert, P.E., Thomas, SA.(2002). Community Health Nursing : Caringin Action. 2nd ed. Clifton Park, New York: Thomson Delmar.
11. Kathleen, E.D. (2012). A Typology of FamilyFunctioning in a Child and Adolescent Outpatient Community Mental Health Treatment Facility. Doctorial Dissertation, University of Pittsburgh. Retrieved 2015
June 12 from http://d- scholarship.pitt.edu/16466/1/ daviesk_etd2012.pdf
12. Nanthamongkolchai S, et al. (2007). Self- Esteem of the Elderly in Rural Areas of NakhonSawan Province. J Med Assoc Thai. 90 (1): 155-9.
13. Olson, D.M. (1999). Circumplex Model of Marital& Family Systems. Retrieved 2015 April 20.from http://www.uwagec.org/eruralfamilies/ERFLibrary/Readings/CircumplexModelOf Marital And FamilySystems.pdf
14. Skinner, H.A., Steinhauer P.D., Santa-Barbara J.(1995). Family Assessment Measure-IIICanada. Multi-Health System Inc