การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้สูงอายุที่ระงับความรู้สึกในการผ่าตัดสะโพกโดยประยุกต์ใช้โปรแกรมส่งเสริมการฟื้นตัวเร็วหลังผ่าตัดในโรงพยาบาลกระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้เพื่อศึกษาสภาพการณ์ พัฒนารูปแบบและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการดูแลผู้สูงอายุที่ระงับความรู้สึกในการผ่าตัดสะโพก โดยประยุกต์ใช้โปรแกรมส่งเสริมการฟื้นตัวเร็วหลังผ่าตัดในโรงพยาบาลกระบี่ ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์โดยใช้วิธีวิเคราะห์จากเอกสาร และวิธีเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ วิสัญญีพยาบาล จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบ โดยนำผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 ก่อนยกร่างเป็นรูปแบบผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิดหนึ่งกลุ่มวัดหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ วิสัญญีพยาบาล 15 คน และผู้ป่วย 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ One sample t-test สถิติ Wilcoxon signed rank test และสถิติ Repeated measure ANOVA ผลวิจัย พบว่า
1. สถานการณ์ พบว่า ผู้ป่วยที่มาผ่าตัดสะโพกมีความเสื่อมของร่างกายและมีโรคประจำตัวร่วมด้วย ทำให้การฟื้นตัวหลังผ่าตัดช้ากว่าปกติ เกิดภาวะแทรกซ้อนและวิสัญญีพยาบาลขาดการอบรมเรื่องการฟื้นตัวเร็ว
2. รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ระงับความรู้สึกในการผ่าตัดสะโพก แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ก่อน ระหว่าง และหลังระงับความรู้สึก โดยเน้นการเตรียมผู้ป่วยจากทีมสหสาขาวิชาชีพตั้งแต่ก่อนผ่าตัด เพื่อความปลอดภัย ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และส่งเสริมการฟื้นตัวที่เร็วขึ้น รวมถึงการส่งต่อข้อมูลและติดตามผู้ป่วยหลังจำหน่าย
3. หลังใช้รูปแบบ วิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลกระบี่ มีความรู้เพิ่มขึ้นและมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผู้สูงอายุที่ระงับความรู้สึกในการผ่าตัดสะโพก ค่าเฉลี่ยความปวดมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุทุกคนมีคะแนนความปวดไม่เกิน 3 ในชั่วโมงที่ 72 และก่อนจำหน่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 27.26, p < .001) สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เหมือนเดิมภายหลังกลับบ้าน 1 สัปดาห์ ร้อยละ 88 และความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบมากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Institute of Medical Research and Technology Assessment. Guideline quality assessment tool for research and evaluation. Nonthaburi: Department of Medical Services, Ministry of Public Health; 2013. (in Thai).
Soffin EM, YaDeau JT. Enhanced recovery after surgery for primary hip and knee arthroplasty a review of the evidence. Br J Anaesth 2016;117(suppl 3):62-72.
Kittikornchaichan K. Anesthetic management in enhanced recovery after surgery (ERAS). TMJ 2016;16(4):694-704. (in Thai).
Stower MDJ, Manuopangai L, Hill AG, Gray JR, Coleman B, Munro JT. Enhanced recovery after surgery in elective hip and knee arthroplasty reduces length of hospital stay. ANZ J Surg 2016;86(6):475-9
Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods 2007;39(2):175-91.
Black W, Babin BJ. Multivariate data analysis: its approach, evolution, and impact. In: Babin BJ, Sarstedt M, editorS. The great facilitator: reflections on the contributions of Joseph F. Hair, Jr. to marketing and business research. Cham: Springer; 2019. p. 121-30.
Srikluenkit P. Effects of clinical practice guideline for post operative pain management in the elderly with hip fracture. Academic Services Journal, Prince of Songkla University 2015;26(1):130-40. (in Thai).
Naimkerd P, Jitramontree N, Danaidutsadeekul S. Impacts of health belief promoting programme on self-practice behaviour in older patients having undergone hip arthroplasty. The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council 2020;35(4):99-111. (in Thai).
Janpilom, N, Chutitharamanan L. Development model of emergency medical service for the older people with hip fracture. Nursing Journal of The Ministry of Public Health 2021;31(3):176-88. (in Thai).
Nakprom N, Puttapitukpol S, Kasetsunthorn S. A Development of enhanced recovery program after colorectal surgery in the surgical department Suratthani hospital. Journal of Health Research and Innovation 2023;6(2):1-15. (in Thai).
Pansamai L, Ujuntuk J, Jeanjankij V, Buhome N, Poorananon P, Meenasantirak A. Pre-operative preparation nursing model in geriatric anesthesia of anesthetist nurses. Mahasarakham Hospital Journal 2017;14(3):76-89. (in Thai).