ปัจจัยทำนายบทบาทมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด – 2 ปี ที่มารับบริการคลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลในจังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายบทบาทมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด - 2 ปี ที่มารับบริการคลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดีในโรงพยาบาลจังหวัดราชบุรี โดยประยุกต์ใช้แบบจำลอง PRECEDE-PROCEED เป็นกรอบแนวคิด ใช้วิธีการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่มีบุตรแรกเกิด - 2 ปี จำนวน 147 คน จาก 4 โรงพยาบาล เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า มีค่าความตรงของเครื่องมือทั้งหมดอยู่ระหว่าง 0.70 - 0.90 และค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.64 - 0.76 ระยะเวลาการเก็บข้อมูลเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2564 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาไคสแควร์ และสถิติถดถอยโลจิสติกทวิ
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการปฏิบัติบทบาทมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กระดับสูง ร้อยละ 93.9 และปัจจัยทำนายบทบาทมารดา ได้แก่ ระดับการศึกษาของมารดา (ORadj = 10.93, p = .013) ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (ORadj = 8.56, p = .018) และการได้รับคู่มือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (DSPM/DAIM) (ORadj = 6.16, p = .001) คำแนะนำ คือ พยาบาลควรส่งเสริมให้มารดาที่เข้ารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดีมีความรู้ร่วมกับกระตุ้นมารดาให้ใช้คู่มือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.