รูปแบบการเสริมสร้างพฤฒพลังผู้สูงอายุด้วยนวัตกรรมสังคมการเรียนรู้จากวิถีชีวิตใหม่สู่วิถีชีวิตถัดไป
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานขั้นสูง มีระยะการวิจัยเชิงผสมผสานแบบคู่ขนาน แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างพฤฒพลังผู้สูงอายุ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพฤฒพลังผู้สูงอายุด้วยนวัตกรรมสังคมการเรียนรู้จากวิถีใหม่สู่วิถีถัดไป และ 3) การวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบและเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมสร้างเสริมพฤฒพลังผู้สูงอายุก่อนและหลังใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุชายและหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 295 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามตามแนวคิดพฤฒพลังของผู้สูงอายุ และแนวคิดการสนับสนุนทางสังคม และกระบวนการประชุมอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน สถิติเชิงเนื้อหา สร้างและทดลองใช้รูปแบบและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการเสริมสร้างพฤฒพลังผู้สูงอายุจากสังคมการเรียนรู้จากวิถีชีวิตใหม่สู่วิถีชีวิตถัดไปก่อนและหลังด้วยสถิติทดสอบเปรียบเทียบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมผู้สูงอายุภายใต้การสูงวัยอย่างมีพฤฒพลังจากวิถีชีวิตใหม่สู่วิถีชีวิตถัดไป ทั้ง 3 ด้าน เฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.70, SD = 0.44) โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างพฤฒพลังผู้สูงอายุ ได้แก่ แรงสนับสนุนด้านการมีส่วนร่วมในการคิดวางแผนและตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ และด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อเป็นผู้สูงอายุพฤฒพลัง (ด้านการมีสุขภาพดี และด้านการมีส่วนร่วมในสังคม) และอาชีพ (ข้าราชการบำนาญ) สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 54.5 โดย “รูปแบบการเสริมสร้างนวัตกรรมพฤฒพลังผู้สูงอายุจากสังคมการเรียนรู้จากวิถีชีวิตใหม่สู่วิถีชีวิตถัดไปมีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ความรอบรู้ด้านสุขภาพทุกมิติสุขภาพ 2) การรับรู้สุขภาพของตนเองก่อนและหลังการสร้างเสริมพฤฒพลัง 3) การป้องกันภัยจากโซเชียลเน็ตเวิร์กและสื่อออนไลน์ และ4) ภาคีเครือข่าย เครือข่ายผู้ดูแลและผู้ประสานงานผู้สูงอายุ ภายใต้ชื่อ “เวียงท่ากานอุ้ยโมเดล” หลังการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพดี การมีส่วนร่วมกิจกรรมภายใต้โรงเรียนชมรมผู้สูงอายุ และมีความมั่นคงปลอดภัยต่อการใช้ชีวิตในวิถีชีวิตถัดไปมากขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute (TGRI). Situation of the Thai older persons 2020. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University; 2021.
World Health Organization. World report on ageing and health 2015. [Internet]. [cited 2023 November 12]. Available from: https://www.who.int/ageing/events/world-report-2015-launch/en/.
World Health Organization. Active ageing: policy framework 2002. [Internet]. [cited 2023 November 12]. Available from: https://extranet.who.int/agefriendlyworld/wp-content/uploads/2014/06/WHO-Active-Ageing-Framework.pdf.
Weston T, Chutintaranond T. Crisis communication strategies of the Center for Situation Administration on the outbreak of Coronavirus disease 2019 (COVID-19). Journal of Communication and Management NIDA (e-Journal) 2022;8(3):1-16. (in Thai).
Amornkitpinyo P. Social innovation for quality of life. Journal of Innovation in Educational Management and Research 2022;4(2):279-86. (in Thai).
Luszczynska A, Schwarzer R. Social cognitive theory. Fac Health Sci Publ 2015;225
Cahapay MB. Navigating the post-COVID-19 era of ‘Next Normal’in the context of Philippine higher education. Asia-Pacific Journal of Educational Management Research 2021 [Internet]. [cited 2023 November 12]. Available from: https://ssrn.com/abstract=3791769.
Wanichbancha K, Wanichbancha T. Using SPSS for Windows to analyze data. 27th ed. Bangkok: Samlada: 2016. (in Thai).
Likert R. New patterns of management 1961. [Internet]. [cited 2023 November 12]. Available from: https://psycnet.apa.org/record/1962-05581-000.
Fisher RA. Contributions to mathematical statistics 1950. [Internet]. [cited 2023 November 12]. Available from:https://psycnet.apa.org/record/1951-01390-000.
Chuenram K. Developing a model for self-health care in patients with insulin-independent diabetes at Sukirin hospital using participatory planning (AIC) techniques. [Master’s Thesis, Faculty of Science Technology and Agreculture]. Yala Rajabhat University 2016. (in Thai).
Permpool P. Developing the vitality of the elderly through integrated group consultation using existential theory as a base. [Doctoral Dissertation, Faculty of Education]. Burapha University, 2020. (in Thai).
Bowling A. Enhancing later life: how older people perceive active ageing?. Aging Ment Health 2008;12(3):293-301.
Sanghuaiprai B., Phoochinda W. Comparison of the quality of life and health service needs by the activities of daily living of the elderly serviced by tertiary hospitals of the Royal Thai Navy. RTN Med J 2020;47(2):394-413. (in Thai).
Kamnerd E. Effect of a program to promote social participation of active aging among eldery people. [Master’s Thesis, Faculty of Humanities]. Srinakharinwirot University; 2022. (in Thai).