ผลของการใช้วีดิทัศน์สำหรับการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวขณะได้รับเคมีบำบัดร่วมกับการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อ ความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับยาเคมีบำบัด การจัดการกับอาการข้างเคียง และแนวทางการดูแลตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักก่อนและหลังได้รับการให้ความรู้โดยใช้วีดิทัศน์ร่วมกับการให้บริบาลทางเภสัชกรรมตามปกติ และศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อวีดิทัศน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ วีดิทัศน์สำหรับการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น รวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับยาเคมีบำบัด การจัดการกับอาการข้างเคียง และแนวทางการดูแลตนเอง 2) แบบสอบถาม
พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของผู้ป่วยมะเร็งต่อวีดิทัศน์ ทำการเก็บข้อมูลก่อนการฉายวีดิทัศน์ และหลังการการฉายวีดิทัศน์ 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 2 สัปดาห์ รวมระยะเวลา 4 สัปดาห์สำหรับผู้ป่วยแต่ละคน ใช้สถิติวิเคราะห์แบบ Repeated ANOVA ในการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบสอบถามความรู้ระหว่างก่อนและหลังการฉายวีดิทัศน์ และใช้สถิติ Freidman test เปรียบเทียบคะแนนของแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองระหว่างก่อนและหลังการฉายวีดิทัศน์ ผลการวิจัย พบว่า หลังการฉายวีดิทัศน์ในสัปดาห์ที่ 4 ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมีความรู้เรื่องยาเคมีบำบัด การจัดการกับอาการข้างเคียง และแนวทางการดูแลตนเองของผู้ป่วย และพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อวีดิทัศน์โดยรวมในระดับดีมาก
ข้อเสนอแนะ ควรมีการฉายวีดิทัศน์สำหรับการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวขณะได้รับเคมีบำบัดร่วมกับการบริบาลทางเภสัชกรรมไปใช้ในการส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักตามบทบาทหน้าที่ของเภสัชกรต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
populations/764-thailand-fact-sheets.pdf.
2. Strategy and Planning Division. Death report year 2550-2554. [Internet]. [cited 2015 October 26]. Available from: http://bps.moph.go.th/sites/default/files/2.3.6-54.pdf.
3. Prasertvithakit N. Adverse drug reaction monitoring on antineoplastic drugs in inpatients at Maharaj Nakorn Chiangmai Hospital. [Master’s Thesis, Faculty of Pharmacy]. Chulalongkorn University; 1999. (in Thai).
4. Hemajutha A. Ambulatory pharmaceutical care: integration in daily pharmacy practice. Bangkok: Faculty of Pharmaceutical Sciences, Chulalongkorn University; 2013. (in Thai).
5. Kinnane N, Stuart E, Thompson L, Evans K, Schneider-Kolsky M. Evaluation of the addition of video-based education for patients receiving standard pre-chemotherapy education. Eur J Cancer Care (Engl) 2008;17(4):328-39.
6. Hensangwirai K. Development and evaluation of a pelvic floor exercise multimedia CD-ROM in women aged 40-60 years old and pregnancy. JMTPT 2013;25(3):274-79. (in Thai).
7. Buakanok FS. Education media development using community practicipatory development approach for establishing awareness of community health: a case study Bann Pae Don Ton, Chompoo sub-district, Lampang province. Journal of Education Studies. 2015;43(1):63-79. (in Thai).
8. Dale E. Audio visual method in teaching. 3rd ed. New York: Dryden Press; 1996. p. 134.
9. Cushnie B. Effects of pharmaceutical care in colorectal cancer patients receiving cancer chemotherapy at Khon Kaen hospital. [Master’s Thesis, Faculty of Pharmacy]. Mahasarakham University; 2011. (in Thai).
10. Wattanachai T. Development and evaluation of the efficiency of an online social media video to promote knowledge about orthodontic treatment in adolescents: a case study of students in two schools in Amphoe Muang Chiang Mai. CM Dent J 2016;37(2):135-44. (in Thai).
11. Subongkot S, Srisawat S, Johns NP, Sookprasert A. Outcome of chemotherapy counseling in oncology patients by pharmacist. IJPS 2009;5(1):34-45. (in Thai).
12. Nonthakhamchan R. Pharmaceutical care in cancer patients receiving chemotherapy at Mahasarakham hospital. [Master’s Thesis, Faculty of Pharmacy]. Mahasarakham University; 2008. (in Thai).
13. Abed MA, Himmel W, Vormfelde S, Koschack J. Video-assisted patient education to modify behavior: a systematic review. Patient Educ Couns 2014;97(1):16-22.