This is an outdated version published on 2024-08-26. Read the most recent version.

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการสุขาภิบาลอาหารต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลโรงอาหาร และการตรวจ การปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในโรงเรียนประถมศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ปริษา อุทัยวรรณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

สุขาภิบาลโรงอาหาร, การปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย, โรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานสุขาภิบาลโรงอาหาร และศึกษาผลการตรวจการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในโรงเรียนประถมศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Qua-si experimental study) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One group pre-test post-test design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 105 คน และอาหารพร้อมรับประทาน น้ำดื่ม ภาชนะอุปกรณ์ใส่อาหารในโรงเรียนประถมศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ แบบบันทึก และอุปกรณ์ตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (SI2) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ % Differences

ผลการวิจัย : หลังการดำเนินการโรงอาหารในโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีมาตรฐานสุขาภิบาล โรงอาหารในโรงเรียนโดยรวมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 39.29 และผลการตรวจการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียโดยใช้น้ำยาตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (SI2) พบว่า มือของผู้สัมผัสอาหารมีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 40 คน (38.1%) ภาชนะและอุปกรณ์ (จาน ถาดหลุม) จำนวน 61 ร้าน (65.60%) ประเภทอาหาร (ผักสด) จำนวน 52 ร้าน (53.10%) และน้ำดื่มในโรงเรียน ประเภทน้ำประปาผ่านเครื่องกรองน้ำจำนวน 36 ร้าน (81.80%)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้โรงอาหารในโรงเรียนถูกหลักสุขาภิบาลเพิ่มขึ้นและอาหารถูกปนเปื้อนลดลง

References

กลุ่มระบาดวิทยาโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดโรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/tSVF7

กรมอนามัย. การดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน กพด. (รายสังกัด) ปีงบประมาณ 2565. กลุ่มพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหาร สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ; 2565.

ทวีศักดิ์ มีสวัสดิ์, ทรรศนะ ธรรมรส, นิรุชา ปรีชาเลิศศิลป์, นิธิรุจน์ เพ็ชร์สินเดชากุล, จักรพงษ์ เพ็งแจ้ง, นันท์นภัส ยุทธไธสงค์ และคนอื่นๆ. การสอบสวนการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนประจำแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี. วารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์. 2566;17(2):118-31.

กลุ่มโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ. คู่มือแนวทางสำหรับครูเรื่องการป้องกันควบคุมโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน (ฉบับปรับปรุง ปี 2563). นนทบุรี: บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด; 2563.

สุวรรณ แช่มชูกลิ่น, สมชาย แช่มชูกลิ่น, สุทัศน์ ชายทุ่ย. สถานการณ์การจัดการสุขาภิบาลอาหารและน้ำดื่มในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 26 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://foodsan.anamai.moph.go.th/download/.pdf

ภูมรินทร์ ฐานะ. ความรู้และการปฏิบัติตามข้อกำหนดสุขาภิบาลของผู้ประกอบอาหารในโรงเรียนเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ เฝ้าไร่อำเภอเฝ้าไร่จังหวัดหนองคาย. [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.

นภพรรณ นันทพงษ์, นิธิมา เคารพครู, อังคณาคงกัน, ปาริชาติ สร้อยสูงเนิน. การศึกษาความซุกของโรคอาหารเป็นพิษของผู้ประกอบการค้าในตลาด [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 26 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://foodsan.anamai.moph.go.th/download/D_Abstract/2559.pdf

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. แนวทางการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารปีงบประมาณ 2566. กรมอนามัย; 2565.

Mushota O, Mathur A, Pathak A. Effect of school-based water, sanitation, and hygiene intervention on student’s knowledge in a resource-limited setting. BMC Public Health. 2021;21:2258.

Nogueira T, Ferreira R J, Sócrates M, Dias da Silva V, Liñan Pinto M, Borrego R, et al. Sintra Grows Healthy: A community-based participatory research on the impact of nutrition education in Portuguese primary schools. Public Health Nutr. 2022;25(5):1176–82. doi:10.1186/s12889-021-10456-2.

พรสุดา ผานุการณ์, พีระยา สมชัยยานนท์. การพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัดกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้. 2563;3(2):52-61.

จิตรดา มาตยาคุณ. มาตรฐานโรงอาหารของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 2559;2(3):299-312.

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26

Versions