รูปแบบการจัดการปัญหาการใช้ยาไม่ปลอดภัยในชุมชน

ผู้แต่ง

  • กัลยาณี อาชาสันติสุข โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การจัดการ, การใช้ยาไม่ปลอดภัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบ และศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการจัดการปัญหาการใช้ยาไม่ปลอดภัยในชุมชน

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and development)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการร้านค้า มินิมาร์ท ตลาด ร้านขายอาหารสัตว์ ผู้นำท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ครัวเรือน พระภิกษุ และนักเรียน การดำเนินการวิจัยมี 4 ระยะ คือ (1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหาและความต้องการพัฒนา (2) พัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาการใช้ยาไม่ปลอดภัยในชุมชน (3) การนำรูปแบบฯ ไปใช้ เพื่อตรวจสอบประสิทธิผล และ (4) ประเมินผล ปรับปรุงแก้ไข และยืนยันคุณภาพรูปแบบฯ ระยะเวลาศึกษาวิจัย เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 - 31 พฤษภาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกภาคสนาม แบบบันทึกข้อมูลความรอบรู้ และแบบติดตามการจำหน่ายยา Google form วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ และ % differences (ร้อยละความแตกต่าง)

ผลการวิจัย : (1) พบปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาอันตราย และสเตียรอยด์ในครัวเรือน วัด โรงเรียน และมีการจำหน่ายยาชุด ยาอันตราย และยาที่ห้ามจำหน่ายอื่นๆ ในร้านค้า มินิมาร์ท ตลาด และร้านขายอาหารสัตว์ (2) รูปแบบการจัดการปัญหาการใช้ยาไม่ปลอดภัยในชุมชนมีการดำเนินการเป็น “บันได 3 ขั้น”ขับเคลื่อนโดยพัฒนาเป็น นวัตกรรมสื่อและกระบวนการ "MELT model โดยกลไก พชอ. สู่ บวร.ร. และ (3) ผลลัพธ์การพัฒนาในปี พ.ศ. 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2561 ก่อนการพัฒนา พบค่าร้อยละความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทุกกลุ่ม เกี่ยวกับการใช้ยาไม่ปลอดภัยในชุมชน เพิ่มขึ้น 45.92% พบการจำหน่ายยาชุดที่มีสเตียรอยด์ ยาอันตราย และยาที่ห้ามจำหน่ายอื่นๆ ในร้านค้า มินิมาร์ท ตลาด และร้านขายอาหารสัตว์ลดลง คิดเป็นร้อยละความแตกต่าง 190.43%, 191.20% และ 163.86% ตามลำดับ แนวโน้มการพบยา Antibiotics, NSAIDs และ Steroids ในครัวเรือน วัด และโรงเรียนที่ซื้อจากร้านค้า มินิมาร์ท ตลาด และร้านขายอาหารสัตว์ พบว่าลดลง โดยมีค่าร้อยละความแตกต่างมากขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2566 เมื่อเปรียบเทียบก่อนการใช้รูปแบบฯ ในปี พ.ศ. 2561 คิดเป็น 43.53%, 84.25%, 102.90%, 115.99% และ 136.74% ตามลำดับ แนวโน้มการพบอาการไม่พึงประสงค์จากการรับประทานยาชุด และยาอันตรายที่ซื้อจากร้านค้า มินิมาร์ท ตลาด และร้านขายอาหารสัตว์ พบว่าลดลง โดยมีค่าร้อยละความแตกต่างมากขึ้น คิดเป็น 38.13%, 65.69%, 80.31%, 86.72% และ 119.92% ตามลำดับ

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการแก้ปัญหาที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น ส่งผลให้ปัญหาการใช้ยาไม่ปลอดภัยในชุมชนลดลง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำรูปแบบดังกล่าวไปพิจารณาปรับใช้ในพื้นที่

References

Drug and medical supply information center, ministry of public health. Thailand strategic plan for Antimicrobial Resistance Management 2017-2021 English [Internet]. 2016 [cited 2020 April 9]. Available from: http://dmsic.moph.go.th/index/detail/6849

นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิช. จาก RDU Community สู่ RDU Country. ยาวิพากษ์ [Internet]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 เมษายน 2563];11:4-8. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaidrugwatch.org/download/series/series45.pdf

Thai Health Promotion Foundation. Thais have to understand not to use drugs unnecessary [Internet]. 2018 [cited 2020 April 9]. Available from: http://dmsic.moph.go.th/index/detail/6849

สุภาวดี เปล่งชัย. เสียงสะท้อนจากพื้นที่. ยาวิพากษ์ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 9 เมษายน 2565];12:31-38. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaidrugwatch.org/download/series/series50.pdf

ชมพูนุท เสียงแจ้ว, คชาพล นิ่มเดช, นาฎยา สุวรรณ, พุทธชาติ มากชุมนุม, วิโรจน์ ทองฉิม, ณัฐนันท์ เพชรประดิษฐ์. การสำรวจการใช้ยาปฏิชีวนะและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผสมสเตียรอยด์ในผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562;33(1):231-42.

สิริลักษณ์ รื่นรวย. การจัดการปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนโดยเครือข่าย บวร.ร. วารสารเกสัชกรรมไทย. 2563;12(3):858-68.

จันทร์จรีย์ ดอกบัว, รัตนาภรณ์ ขันติมัง, หทัยรัชต์ พุกสะอาด, ณัฐพร สู่หนองบัว. การจัดการปัญหายาที่ไม่เหมาะสมในร้านชำโดยกลไกคณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (Online). 2564;1(1):27-36.

กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2563.

จินดาพร อุปถัมภ์. ผลการสร้างศักยภาพของชุมชนในการจัดการปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสม ในชุมชนบ้านหนองทุ่ม อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานมาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารคุ้มครอบผู้บริโภค. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (Online). 2564;1(1):27-36.

สุทธินี เรื่องสุพันธุ์, วรวุฒิ สุพัชญ์, สมพร พานสุวรรณ. การจัดการเชิงระบบสู่การใช้ยาอย่างสมเหตุผลในเครือข่ายอำเภอโนนสูง. วารสารเภสัชกรรมคลินิก. 2563;26:61-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-21 — Updated on 2024-05-26

Versions