ผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดต่อความวิตกกังวลและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ที่เข้ารับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในโรงพยาบาลเกษตรวิสัย
คำสำคัญ:
การเตรียมความพร้อม, ความวิตกกังวล, ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ, การปฏิบัติตัวบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยก่อนวันผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบ 2 กลุ่ม โดยวัดก่อนและหลังการทดลอง (Two-group pretest-posttest design)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 60 คน เป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence interval
ผลการวิจัย : หลังการทดลองพบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลโดยรวม น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลน้อยกว่า 1.07 คะแนน (95%CI: 0.92, 1.21) และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับโดยรวมมากกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 2.22 คะแนน (95%CI: 1.90, 2.53)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยมีความวิตกกังวลลดลงและการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดดีขึ้น ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวนำนวัตกรรมทางสุขภาพนี้ไปใช้
References
จารุณี ตั้งใจรักการดี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดของพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลหัวหิน. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2561;3(1):1-6.
สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์; 2551.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery: ODS) และการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: MIS) ปี พ.ศ.2565. กรุงเทพฯ: บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด; 2564.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ และการผ่าตัดแผลเล็ก (ODS&MIS) ปี 2566. กรุงเทพฯ: บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด; 2565.
โรงพยาบาลเกษตรวิสัย. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์. ร้อยเอ็ด; 2565.
Division of Medical Technical and Academics Affairs, Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Suggestion in the development of one day surgery 2019. Nontaburi: The Printing Business Office of The War Veterans Organization of Thailand; 2019.
ยุวดี วัดแก้ว, อาภา เติมเกาะ. การเยี่ยมของพยาบาลห้องผ่าตัดที่มีต่อความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ โรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: โรงพยาบาลเพชรบุรี; 2551.
Leventhal H, Johnson J E. Laboratory and field experimentation development of a theory of self-regulation. In P. T. Wooldridge, M. H. Schmitt RC, Leonard JK. Skipper (Eds.). Behavioral Science and Nursing Theory. (pp. 189-262). St. Louis: The C.V. Mosby; 1983.
ศุภธิดา จันทร์บุรี, อินทิรา ปากันทะ, ชมนาด วรรณพรศิริ, สิริลักษณ์ ทูลยอดพันธ์. ผลของโปรแกรมการปรับตนเองต่อความวิตกกังวล ความปวดและการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดถูกทางหน้าท้อง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2562;13(2):40-54.
Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang A G. Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods. 2009;41(4):1149-60.
สุวดี มีสมบูรณ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่รู้สึกตัวขณะผ่าตัดศัลยกรรมกระดูก [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.
Spielberger C D. Manual for the state-trait Anxiety inventory (Form Y). Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press; 1983.
Polit D F, Beck C T. Essentials of Nursing Research: Methods, Appraisal, and Utilization (6th ed.).Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins; 2006.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย จำกัด; 2553.
อวยพร จงสกุล, นารีรัตน์ อยู่สมบูรณ์, ศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับแบบครบวงจรของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2563;39(1):109-25.
สกาวเดือน ขำเจริญ, เบญจวรรณ มนูญญา. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในโรงพยาบาลเครือข่าย จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2566;3(2):25-36.
นัยนา ผาณิบุศย์, วัลลภา ช่างเจรจา, สุนันท์ นกทอง. ผลการพัฒนาระบบการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลบึงกาฬ.วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา. 2562;50(2):50-6.
วิริญญา โชติพันธ์ชินคำ. การพัฒนาระบบบริการการผ่าตัดและการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2566;4(2):137-49.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง