อัตราการตรวจพบเชื้อวัณโรคปอดโดยวิธีตรวจทางอณูชีววิทยา (Gene X pert) จากตัวอย่างสเมียร์เสมหะที่ย้อมสีทนกรดให้ผลลบในผู้ป่วยคลินิกทางเดินหายใจ โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ ชัยโชติ โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน

คำสำคัญ:

การตรวจพบเชื้อวัณโรคปอด, Gene X pert, AFB stain

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอัตราการตรวจพบเชื้อวัณโรคปอดโดยวิธีตรวจทางอณูชีววิทยา (Gene X pert) จากตัวอย่างสเมียร์เสมหะที่ย้อมสีทนกรดให้ผลลบ ในผู้ป่วยคลินิกทางเดินหายใจ โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนาย้อนหลัง (Retrospective Descriptive Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ศึกษาจากทะเบียนประวัติผู้ป่วยจากโปรแกรมของโรงพยาบาล และจากโปรแกรมเว็บ TBCM ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2564 รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นตัวอย่างเสมหะของประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ผลสเมียร์เสมหะผลลบต่อการย้อมสีทนกรด นำมาตรวจด้วยเทคนิคทางอณูชีววิทยา (Gene X pert) โดยนำส่งตรวจที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จำนวน 349 ราย

ผลการวิจัย : พบว่า จากตัวอย่างทั้งหมดให้ผลบวก (Detected) จำนวน 58 ราย (16.6%) และให้ผลลบจำนวน 291 ราย (83.4%) เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคืออายุมากกว่า 60 ปี ส่วนความชุกของผู้ป่วยที่ให้ผลบวกต่อการตรวจ Gene X pert พบมากที่ตำบลหัวช้างและตำบลน้ำใส พบจำนวน 10 รายเท่ากัน รองลงมาคือตำบลดงแดง พบจำนวน 7 ราย ตามลำดับ        ความชุกของกลุ่มเสี่ยงต่างๆ พบว่า กลุ่มผู้ป่วยทั่วไปผลเอกซเรย์ปอดผิดปกติเข้าได้กับวัณโรค แต่ผล AFB smear เป็นลบ (96.6%) 

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การนำเทคนิคทางอณูชีววิทยา real-time PCR   โดยตรวจสารพันธุกรรมด้วยเครื่อง X pert MTB/RIF สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจพบเชื้อวัณโรคได้

References

กรมควบคุมโรค. สำนักวัณโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561 National Tuberculosis control Programme Guidelines, Thailand 2018. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

Pai M, Minion J, Jamieson F, Wolfe J, Behr M. Diagnosis of active tuberculosis and drug resistance [Internet]. Ottawa: Public Health Agency of Canada; 2014 [cited 2022 Jan 9]. Available from: https://cts-sct.ca/wp-content/uploads/2018/01/Canadian-Tuberculosis-Standards_7th-edition_Complete.pdf

หัทยา ธัญจรูญ. เทคนิค Xpert MTB/RIF ในการวินิจฉัยกลุ่มผู้ป่วยที่น่าจะเป็นวัณโรคในโรงพยาบาลตากสิน. วารสารเทคนิคการแพทย์. 2562;47(1):6840-58.

World Health Organization. Rapid implementation of the Xpert MTB/RIF diagnostic test : technical and operational“How to”practical considerations [internet]. Geneva: WHO; 2011 [cited 2022 Jan 29]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/44593

กรมควบคุมโรค. กองวัณโรค. National Tuberculosis Information Program (NTIP) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: กองวัณโรค; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ntip-ddc.moph.go.th/uiform/Manual.aspx

World Health Organization. Global tuberculosis report 2017 [Internet]. Geneva: WHO; 2017 [cited 2022 Jan 30]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/259366

Srisurach N. Result of using Xpert MTB/RIF for finding tuberculosis in risk groups of Khon Kaen province. In: Document of CQI service of HIV /TB and STD in the 2nd seminar 2016. Bangkok: Aksorn graphic and design publication limited partnership; 2016. 69-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-25 — Updated on 2023-06-02

Versions