การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากยา Metformin ในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่รักษาในโรงพยาบาลนางรอง ปี 2559-2564

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ แก้วชนะ โรงพยาบาลนางรอง

คำสำคัญ:

ภาวะเลือดเป็นกรด, โรคเบาหวานประเภทที่ 2

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ได้รับยา Metformin

รูปแบบการวิจัย : การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective descriptive study)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ได้รับยา Metformin และมารับการรักษาในโรงพยาบาลนางรอง ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 ถึง เดือนกันยายน 2564 จำนวน 93 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-square test, Fisher, s exact  

ผลการวิจัย : พบผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยา Metformin มีภาวะเลือดเป็นกรด (52.69%) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (53.06%) อายุมากกว่า 70 ปี (44.90%) ระยะเวลาในการได้รับยา Metformin น้อยกว่า 5 ปี (57.14%) ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล 5-9 วัน (42.86%) ขนาดยา Metformin ที่ผู้ป่วยได้รับต่อวัน 1,000 (42.86%)  สำหรับประสิทธิภาพการทำงานของไตพบว่าผู้ป่วยที่มีค่า eGFR 30-59 ml/min/1.73 mเกิดภาวะเลือดเป็นกรด (46.94%) รองลงมา eGFR 60-89 ml/min/1.73 m2 (28.57%) ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด HbA1c ≥ 7 mg% (71.43%) โรคร่วมส่วนมากคือ ไขมันในเลือดสูง(77.55%) และความดันโลหิตสูง (65.13%) ตามลำดับ และไม่พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ได้รับยา Metformin แต่มีแนวโน้มเกิดภาวะเลือดเป็นกรดมาก ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง แม้จะได้รับยาขนาดไม่สูง หรือผู้ป่วยที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรมีการติดตามค่าการทำงานของไต ค่า eGFR, Serum Creatinine ทุก 3 - 6 เดือน ในผู้ป่วยที่ได้รับยา Metformin เพื่อช่วยลดโอกาส ความรุนแรงและป้องกันการเกิดภาวะเลือดเป็นกรด

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.

วิกาวี รัศมีธรรม. การศึกษาการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากแล็กติกคั่งจากยาเมทฟอร์มิน โดยใช้ข้อมูลรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562.

Salpeter SR, Greyber E, Pasternak GA, Salpeter EE. Risk of fatal and nonfatal lactic acidosis with metformin use in type 2 diabetes mellitus. Cochrane Database Syst Rev. 2010;(4):CD002967. doi: 10.1002/14651858.CD002967.pub4. PMID: 20393934; PMCID: PMC7138050.

Richy FF, Sabidó-Espin M, Guedes S, Corvino FA, Gottwald-Hostalek U. Incidence of lactic acidosis in patients with type 2 diabetes with and without renal impairment treated with metformin: a retrospective cohort study. Diabetes care. 2014;37(8):2291-5.

PobPad. เลือดเป็นกรด [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: 2022 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pobpad.com.

Daniel WW. Biostatistics:a foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. New York: Wiley & Sons; 1995.

วิลาสินี เสียงตรง, พัชรี ยิ้มรัตนบวร, จินดา ประจญศานต์, บุญส่ง เอี่ยมฤกษ์ศิริ, นรินทร์ จินดาเวช, อัญชนา คำพิลา. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะ Metformin Associated Lactic Acidosis ในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ได้รับยาเมทฟอร์มินโรงพยาบาลบุรีรัมย์ระหว่าง พ.ศ.255 -2560. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28(5):1066-76.

Renda F, Mura P, Finco G, Ferrazin F, Pani L, Landoni G. Metformin-associated lactic acidosis requiring hospitalization. A national 10 year survey and a systematic literature review. Eur Rev Med Pharmacol Sci. 2013;17(Suppl 1):45-9.

เฟื่องรักษ์ ร่วมเจริญ. ภาวะกรดในเลือดจากยา Metformin ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาในโรงพยาบาลนครพนม ปี 2553-2556. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2558;24(2):337-46.

วิกาวี รัศมีธรรม, กรัณฑ์รัตน ทิวถนอม. ผลของเมทฟอร์มินขนาดสูงต่อการทำงานของไตและขนาดที่เหมาะสม ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง. วารสาร Veridian E Journalฯ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2561;5(3):139-48.

สุจิตรา วีณิน. ภาวะ Metabolic acidosis จากยาหรือสารพิษ. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 2563;30 (3):198-212.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-21

ฉบับ

บท

บทความต้นนิพนธ์