การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบที่เข้ารับการรักษาที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลหนองหาน

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร โพธิดอกไม้ โรงพยาบาลหนองหาน

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, การประเมินสภาพแรกรับ, ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบที่เข้ารับการรักษาที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช  

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพัฒนา (Development research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้เข้าร่วมการศึกษา ประกอบด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉิน และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบ ทั้งหมดจำนวน 34 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : 1) แนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบมี 9 หมวด คือ (1) Recording of general information and vital signs (2) SAMPLE (3) Primary survey (4) Secondary survey (5) Assessment of local injuries (6) Investigation (7) Diagnosis (8) Management และ (9) Progress note 2) ผลการประเมินผลแนวปฏิบัติทางการพยาบาล พบว่า มีความง่ายโดยรวม คิดเป็น 97.0% พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติทางการพยาบาลได้โดยรวม คิดเป็น 95.6% ความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติทางการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก และผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบที่เข้ารับการรักษาในตึกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ทั้งหมด 15 คน   

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าแนวปฏิบัติทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบได้จริง 

References

World Health Organization. Road traffic injuries [Internet]. Geniva: WHO; 2020 [cited 2022 Apr 20]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/road-traffic-injuries

World Health Organization. Global status report on road safety 2018 [Internet]. Geniva: WHO; 2018 [cited 2022 Apr 30]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789241565684

วิมล อิ่มอุไร. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2562;4(1):e0054

กาญจนา เซ็นนันท์, อรพรรณ โตสิงห์, ศิริอร สินธุ. การช่วยชีวิตของผู้บาดเจ็บในระยะเร่งด่วนฉุกเฉิน:การวิเคราะห์วรรณกรรม. วารสารสภาการพยาบาล. 2551;23(3):26-39.

กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร, ฐิติ ภมรศิลปะธรรม, ลัดดา มีจันทร์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในภาวะวิกฤตโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. 2557;6(1):24-37.

วาสนา สุขกันต์, จุฬาวรี ชัยวงค์นาคพันธ์, กชพร พงษ์แต้. ปัญหาและอุปสรรคของการใช้แบบประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและระบบประสาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2563;12(2):100-12.

โรงพยาบาลหนองหาน. กลุ่มงานหลักประกันสุขภาพ งานยุทธศาสตร์ และสารสนเทศทางการแพทย์. รายงานผลการดำเนินงานประจำงบประมาณ พ.ศ. 2563. อุดรธานี: โรงพยาบาล; 2563.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2556.

กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร, ฐิติ ภมรศิลปะธรรม, ลัดดา มีจันทร์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2557:6(1):24-37.

มะลิสา โรจนหิรัณย์. ประสิทธิผลการใช้แนวทางปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2563;28(3):413-25.

มาลี คำคง, กิตติพร เนาว์สุวรรณ. แนวทางพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560;11(3):30-42.

เพ็ญศรี ดำรงจิตติ, รสสุคนธ์ ศรีสนิท ,พรเพ็ญ ดวงดี. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บรุนแรงในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2557;28(1):43-54.

วิไลวรรณ แสงเนียม. ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

Soukup SM. The Center for Advanced Nursing Practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. Nurs Clin North Am. 2000;35(2):301-9.

National Health and Medical Research Council. A guide to the development, implementation and evaluation of clinical practice guidelines [Internet]. Australia: NHMRC; 1999 [cite 2022 Apr 15]. Available from : https://www.health.qld.gov.au/__data/assets/pdf_file/0029/143696/nhmrc_clinprgde.pdf

Joanna Briggs Institute. JBI EBD Database Guide [Internet]. Australia: JBI; 2014 [cite 2022 Apr 20]. Available from : https://ospguides.ovid.com/OSPguides/jbidb.htm

รักรุ่ง ด่านภักดี. การประเมินประสิทธิผลในการดูแลผู้บาดเจ็บหลายระบบของพยาบาลก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ. ชัยภูมิเวชสาร. 2559;36(1):50-9.

สุนิดา อรรถอนุชิต, วิภา แซ่เซี้ย, ประณีต ส่งวัฒนา. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการประเมินสภาพแรกรับของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2553;2(2):16-28.

จารุพักตร์ กัญจนิตานนท์, สุชาตา วิภวกานต์, รัตนา พรหมบุตร. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้บาดเจ็บรุนแรงหลายระบบโรงพยาบาลกระบี่. วารสารพยาบาลทหารบก. 2562;20(1):339-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31 — Updated on 2022-09-21

Versions