กลยุทธ์การพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ตามหลักการเรียนรู้เป็นทีม

ผู้แต่ง

  • นันตศักดิ์ เศษสุวรรณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจตุรพักตรพิมาน

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การพัฒนา, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ, หลักการเรียนรู้เป็นทีม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอตามหลักการเรียนรู้เป็นทีม และประเมินประสิทธิผลกลยุทธ์การพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอตามหลักการเรียนรู้เป็นทีม

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา  (Research  and  Development  Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย: การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอตามหลักการเรียนรู้เป็นทีม ระยะที่สองเป็นการนำกลยุทธ์ไปทดลองใช้แล้วประเมินประสิทธิผล โดยทดลองใช้กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) จำนวน  21  คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสมรรถนะ แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมโดยใช้สถิติทดสอบ Wilcoxon signed  rank test

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นชาย (66.7%) อายุเฉลี่ย 41.90 ปี (SD = 8.78) และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี (57.1%) กลยุทธ์การพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอตามหลักการเรียนรู้เป็นทีมประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ การกำหนดเป้าหมายและวางแผนเรียนรู้ การเรียนรู้เป็นรายบุคคล  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และตัดสินใจ การประยุกต์ใช้ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ไปใช้และการประเมินผล หรือ PISAE Model และหลังการพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตฯ มีคะแนนการทำงานเป็นทีมเพิ่มขึ้น (p = 0.0001) และมีคะแนนพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นทีมค่อนข้างมาก (M =4.23,SD = 0.03) (95% CI = 4.16-4.29)

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ากลยุทธ์การพัฒนาการทำงานเป็นทีมส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งกระบวนการและพฤติกรรมการเรียนรู้ทำงานเป็นทีม ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำกลยุทธ์ไปใช้ในการพัฒนากลุ่มเป้าหมายในพื้นที่

References

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจตุรพักตรพิมาน. รายงานผลการปฏิบัติราชการตามยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ.2561. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ; 2561.

ประภัสร์ อ่อนฤทธิ์, รัชนี นิธากร, ขวัญดาว แจ่มแจ้ง. การพัฒนากลยุทธ์การจัดทำแผนชุมชนของหมู่บ้านในจังหวัดกำแพงเพชร. การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15. 23 กรกฎาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ลำเทียน เผ้าอาจ. การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาสอำเภอเมืองตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

Cronbach LJ. Essentials of psychological testing. 5th ed.New York: Harper Collins; 1990.

สายพิน สีหรักษ์. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการเรียนรู้เป็นทีมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

เอกพงศ์ เกยงค์, ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์, กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด. การพัฒนากลยุทธ์การเสริมสร้างประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 2562;13(1):52-68.

วรางคณา ผลประเสริฐ. การจัดการเชิงกลยุทธ์ในโรงพยาบาล. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 58708 สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2554.

Knowles MS. The modern practice of adult education: Andragogy versus pedagogy. Englewood Cliffs, N. J. : Prentice Hall/Cambridge; 1980.

สุรีย์ภรณ์ เลิศวัชรสกุล, สุทธิพร ชมพูศรี. การมีส่วนร่วมการขับเคลื่อนกระบวนการจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา. 2557;15(3):69-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01 — Updated on 2022-03-15

Versions