ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เกษร ศรีธรรมมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัว

คำสำคัญ:

กิจกรรมกลุ่ม, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

รูปแบบการวิจัย :  แบบกึ่งทดลอง (Qua-si experimental design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 64 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 32 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการใช้กิจกรรมกลุ่มและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มควบคุมใช้กิจกรรมตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ใช้เวลาในการดำเนินงาน 14 สัปดาห์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ Independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการวิจัย : หลังการทดลอง พบว่า กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีคะแนนเฉลี่ยแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวม มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.94 คะแนน (95% CI: 0.715, 0.984)  และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวม  มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.05 คะแนน (95% CI; 1.773, 2.339)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้กิจกรรมกลุ่มและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงมีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น

References

World Health Organization. Global status report on non-communicable diseases [Internet]; 2010 [cited 2019 December 25]. Available from https://www.who.int /nmh/publications/ncd_report_full_en.pdf].

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 (Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017). กรุงเทพฯ: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย; 2560.

อรุณรัตน์ สู่หนองบัว, ไดอาน่า ศรีพรกิจขจร. ผลการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมืองชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2560; 37: 59-69.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัว. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ปีงบประมาณ พ.ศ.2562. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด, 2562.

พรทิพย์ มาลาธรรม, ปิยนันท์ พรหมคง, ประคอง อินทรสมบัติ. ปัจจัยทำนายระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2553; 16: 218-37.

สุภาภรณ์ อนุรักษ์อุดม, ศากุล ช่างไม้, สมพันธ์ หิญชีระนันทน์, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2553; 16: 155-68.

Pender NJ. Health promotion in nursing practice. NY: Appleton Century Croft; 1982.

Pender NJ. Health promotion in nursing practice. 3rded. Stamford: Appleton & Lange; 1996.

American Diabetes Association. Implications of the diabetes control and Complications trial. Diabetes Care 1997; 20: S6-S13.

กรมอนามัย. ผู้เป็นเบาหวานเลี่ยงอาหารน้ำตาลสูง เน้นคุมปริมาณข้าว-แป้ง ออกกำลังกาย สม่ำเสมอ. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

สมบัติ วัฒนะ, ดรรชนี สินธุวงศานนท์. ผลลัพธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยวิถีพุทธสำหรับผู้ใช้บริการกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปต่อโรคเบาหวาน กรณีศึกษาตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2562; 13 (30): 76-91.

สมศักดิ์ มาคกลิ่นกูล, พนิดา รัชฎามาศ, นวลระหงษ์ ณ เชียงใหม่. การพัฒนารูปแบบการป้องกัน โรคบาหวาน และความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงตำบลอุโมงก์ อำเภอเมือง จังหวัดสำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2553; 6(2): 175-81.

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, พิสมัย จารุชวลิต. สุขศึกษากับโรคเบาหวาน : การทบทวนองค์ความรู้สถานการณ์และรูปแบบการให้บริการสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2542.

World Health Organization. Global status report on non-communicable diseases [Internet]; 2010 [cited 2019 December 25]. Available from https://www.who.int /nmh/publications/ncd_report_full_en.pdf].

จีรศักดิ์ เจริญพันธ์, เฉลิมพล ตันสกุล. พฤติกรรมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. มหาสารคาม: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2549.

Polit, D. F., & Beck, C. T. Nursing research principle and methods (7" ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. 2004.

อรุณีย์ ศรีนวล. การประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนองเพื่อป้องกันโรคบาหวานของประชาชนกลุ่มสี่ยงในอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์, 2548.

ดวงเดือน หันทยุง, วรพล แวงนอก, วรากร เกรียงไกรศักดา. ผลของการใช้กระบวนการกลุ่มและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559; 11(1): 36-51.

วิไล แสนยาเจริญกุล, กีรดา ไกรนุวัตร และปิยะธิดา นาคะเกษียร. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน. NURS SCI J THAIL 2562; 37(1): 60-72.

นงลักษณ์ เทศนา, จมาภรณ์ ใจภักดี, บุญทนากร พรหมภักดี ,กนกพร พินิจลึก. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง. สำนักงานป้องกันควบคุม โรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น, 2558.

Moore SM, Hardie EA, Hackworth NJ, Critchley CR, Kyrios M, Buzwell SA, et al. Can he onset of type 2 diabetes be delayed by a group-based lifestyle intervention? A randomized control trial. Psychol Health 2011; 26(4): 485- 99.

Bo S, Ciccone G, Baldi C, Benini L, Dusio F, Forastiere G, et al. Effectiveness of a lifestyle intervention on metabolic syndrome. A randomized controlled trial. J Gen Intern Med 2007; 22 (12): 1695 703.

LI G, Zhang P, Wang J, et al. The long-term effect of lifestyle interventions to prevent diabetes in the China Da Qing Diabetes y: a 20 year follow-up study. Lancet 2008; 371; 1783 9.

สุรากรี หนูแบน, อารยา ปรานประวิตร, สาโรจน์ เพชรมณี. ผลของการใช้กระบวนการกลุ่มและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารบัณฑิตวิจัย 2559; 7(1): 101-14.

โรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต. คู่มือการจัดกิจกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายคนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม สำหรับบุคลากรสาธารณสุข, 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01