ผลของโปรแกรมการจัดการอาหารร่วมกับกิจกรรมทางกายต่อระดับน้ำตาลในเลือด ของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: โรคเบาหวานเกิดจากความบกพร่องของการหลั่งอินซูลินหรือการทำงานผิดปกติ ผลที่ตามมาคือภาวะน้ำตาล ในเลือดสูงเรื้อรัง โปรแกรมการจัดการอาหารร่วมกับกิจกรรมทางกายจะช่วยเพิ่มการหลั่งอินซูลิน การออกฤทธิ์ของอินซูลิน และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้
วิธีดำเนินการวิจัย: วิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Quasi-experimental, two group pretest-posttest designs) กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่มีผลการประเมินค่าระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง 100-125 มก/ดล. แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 35 คน ได้รับโปรแกรมการจัดการอาหารร่วมกับกิจกรรมทางกายเป็นเวลา 12 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุม จำนวน 35 คน ดูแลตามแนวทางปกติ ช่วงเวลาการศึกษาเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึง กุมภาพันธ์ 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล และ 2) ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกาย ประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือดด้วย Lab Fasting Blood Sugar (FBS) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi- square test, Paired t-test และ Independent t-test
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจาก 116.40 (SD= 5.28) เหลือ 101.91 (SD= 4.21) มก./ดล. (95% CI= 12.05 ถึง 16.92) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ขณะที่กลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดจาก 116.11 (SD= 5.62) เป็น 115.77 (SD= 6.06) มก./ดล. (95% CI= -0.40 ถึง 1.08) ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p> .05) และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม 13.86 มก./ดล. (95% CI= -16.35 ถึง -11.37) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)
สรุปผล: ควรใช้โปรแกรมเป็นแนวทางดูแลกลุ่มเสี่ยงเบาหวานเนื่องจากช่วยปรับปรุงการหลั่งอินซูลินและการทำงานของอินซูลินจึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ อย่างไรก็ตามควรมีการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดในระยะยาวต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.