Home
การส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
Where available, URLs for the references have been provided.
The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.
Submissions
Submission Preparation Checklist
1. บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น
2. หากเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ต้องผ่านการเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย
3. บทความจะต้องพิมพ์ภายใต้รูปแบบตามที่วารสารกำหนดอย่างเคร่งครัด
4. บทความที่ออกหนังสือรับรองการตีพิมพ์ก่อนมีการเผยแพร่จะต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงวุฒิหรือกองบรรณาธิการก่อนจึงจะถือว่าหนังสือรับรองการตีพิมพ์จะสมบูรณ์ หากไม่แก้ไขจะถือสิทธื์ว่าไม่สมบูรณ์ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการใดๆ ทั้งสิ้น
คำแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับการเขียนต้นฉบับ ( Manuscript preparation )
1. การเขียนต้นฉบับ (Manuscript) สามารถเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่บทคัดย่อ (Abstract) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื้อหาต้นฉบับควรมีความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษขนาด A4
2. การสร้างไฟล์ต้นฉบับ ควรพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ควรใช้ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK ขนาด 16 พอยท์ จัดหน้าขนาด A4 ห่างจากขอบกระดาษ ทุกด้าน 1 นิ้ว หรือ 2.54 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 บรรทัด
3. ส่งต้นฉบับจำนวน 1 ชุด พร้อมจดหมายนำส่ง ระบุชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และ E-mail address ได้ทางระบบออนไลน์ สามารถเข้าไปดูรายละเอียด คู่มือการใช้งานเว็บไซต์ได้ที่ URL:https://www.tci-thaijo.org
4. ชื่อเรื่อง (Title): ควรสั้น กะทัดรัด และสื่อเป้าหมายหลักของการศึกษาวิจัย ไม่ใช้คำย่อ ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ใช้อักษรใหญ่ capital letter ในตัวแรก เน้นประโยคด้วยตัวหนา (Bold) ขนาดตัวอักษรขนาด 20 พอยท์ ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
5. ชื่อผู้นิพนธ์และที่อยู่: ให้มีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และระบุตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานหรือสถาบันที่สังกัด ที่อยู่ และอีเมล์ของผู้นิพนธ์ (correspondent author) เพื่อใช้ติดต่อเกี่ยวกับต้นฉบับและบทความที่ตีพิมพ์แล้ว
6. ตาราง และรูปภาพ (Tables and figures) (ถ้ามี): ควรคัดเลือกตารางและรูปภาพเฉพาะที่จำเป็น โดยจัดตารางและรูปภาพแยกออกจากเนื้อหาเรียงไว้ด้านท้ายของเอกสารอ้างอิง โดยเรียงลำดับให้สอดคล้องกับคำอธิบายในเนื้อหา ทุกตารางและรูปภาพ ต้องมีหมายเลขและเขียนเรียงตามลำดับ มีคำอธิบายสั้นๆ สื่อความหมาย ได้สาระครบถ้วน และมีรูปแบบดังนี้
6.1 สำหรับตาราง ต้องสร้างโดยใช้คำสั่งหรือเครื่องมือสร้างตารางของโปรแกรม Microsoft Word ไม่ใช้เครื่องมือในการวาดเส้นหรือวาดรูป เพื่อวาดเส้นต่างๆ ประกอบกันเป็นตาราง เมื่อจะขึ้นบรรทัด (line) ใหม่ต้องใช้ row ใหม่เสมอไม่ควรใช้การเคาะเอนเตอร์ (enter)
6.2 ตารางต้องมีหมายเลขตาราง (พิมพ์ตัวหนา) และคำอธิบายอยู่ด้านบนตาราง (พิมพ์ตัวธรรมดา)
6.3 กรณีที่เป็นรูปภาพ มีหมายเลขรูปภาพ (พิมพ์ตัวหนา) และคำอธิบายอยู่ด้านล่างรูปภาพ (พิมพ์ตัวธรรมดา) รูปภาพควรเป็นภาพที่ชัดเจน
ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของคำแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับการเขียนต้นฉบับ ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1MzBBUAtTmNiGYiJuSAMwAAhFlI9evNkU/view?usp=sharing