ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง: กรณีศึกษาตำบลไสหร้า อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ดุษณีย์ สุวรรณคง
รัตติกานต์ สีและ
ชนกนันท์ รามแก้ว
ชำนาญ ชินสีห์

บทคัดย่อ

บทนำ:  ผู้ปกครองบางส่วนยังขาดความเข้าใจถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กตามแนวทางการ ส่งเสริมและประเมินพัฒนาการตามวัย ส่งผลให้มีความล่าช้าต่อการประเมินติดตามเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กและรับการแก้ไขปัญหาในการกระตุ้นพัฒนาการให้เหมาะสมต่อวัยอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์การศึกษานี้เพื่อศึกษา 1) การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง อิทธิพลระหว่างบุคคล และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และ 2) ความสัมพันธ์ของ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง และ อิทธิพลระหว่างบุคคลกับพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง


วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณา ในผู้ปกครอง 120 คน ตำบลไสหร้า จังหวัดนครศรีธรรมราช  รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไป การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง อิทธิพลระหว่างบุคคล และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน


ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์ระดับมาก (Mean, S.D.= 2.98, 1.28) การรับรู้อุปสรรคระดับน้อย (Mean, S.D.= 1.23, 0.59) การรับรู้ความสามารถของตนเองและอิทธิพลระหว่างบุคคลระดับมาก (Mean, S.D.= 1.62, 0.90; 2.96, 0.18) พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับปานกลาง (Mean, S.D.= 1.60, 0.49) การรับรู้อุปสรรคและการรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองอย่างมีนัยสำคัญสถิติ (p<0.001) 


สรุปผล: การรับรู้อุปสรรคและการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างมีนัยสำคัญสถิติ 


 


คำสำคัญ: การส่งเสริมพัฒนาการ; เด็กปฐมวัย; ผู้ปกครอง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ดุษณีย์ สุวรรณคง, Thaksin University

Health Sciences, health promotion, qualitative study, ethnographic study, social determinant of health, school health