ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตและ ระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันไม่ได้ โรงพยาบาลทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายต้องใช้วิธีการที่เหมาะสม โปรแกรมการจัดการตนเองจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้และทักษะในการควบคุมระดับความดันโลหิต และสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้
วิธีการศึกษา: วิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (two group pretest-posttest designs) กลุ่มทดลองจำนวน 32 คน ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมจำนวน 32 คน ได้รับการดูแลตามแนวทางปกติ เก็บรวมรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่ 1) ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล และ 2) ข้อมูลพฤติกรรมการจัดการตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเชิงอนุมาน ได้แก่ chi-square test, Paired t test และ Independent t test
ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตสูงกว่ากลุ่มควบคุมทุกด้าน ได้แก่ ด้านการรับประทานอาหาร, ด้านการออกกำลังกาย, ด้านการจัดการความเครียด, ด้านการรับประทานยา, ด้านการมาตามนัด และด้านการควบคุมปัจจัยเสี่ยง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความดันโลหิตระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย Systolic BP เท่ากับ 134.72 (SD= 8.43) น้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่มีค่าเฉลี่ย 153.69 (SD= 15.45) แตกต่างกัน 18.97 มิลลิเมตรปรอท และค่าเฉลี่ย Diastolic BP ของกลุ่มทดลองเท่ากับ 80.63 (SD= 8.43) น้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่มีค่าเฉลี่ย 89.63 (SD= 6.69) แตกต่างกัน 9 มิลลิเมตรปรอท แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
สรุปผล: โปรแกรมมีประสิทธิภาพต่อการแก้ปัญหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันไม่ได้ และสามารถใช้เป็นแนวปฏิบัติในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง สามารถลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงได้
คำสำคัญ: ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, โปรแกรมการจัดการตนเอง, พฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต
นิพนธ์ประสานงาน: สวรส นาบุญ
Email: savarod5087@gmail.com
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.