การเสริมสร้างพฤติกรรมการกล้าแสดงออกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสิริรัตนาธร โดยการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม

ผู้แต่ง

  • บุษราคัม รักพวก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ชลพร กองคำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • กาญจนา สุทธิเนียม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • อโนทัย แทนสวัสดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการกล้าแสดงออก, การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการกล้าแสดงออกของกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการกล้าแสดงออกของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

วัสดุและวิธีการ : วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะทดลอง และระยะหลังการทดลอง โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง 30 นาที      รวม 12 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสิริรัตนาธร กรุงเทพมหานคร โดยมีคะแนน ความกล้าแสดงออกต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา สมัครใจและผู้ปกครองให้ความยินยอมในการเข้าร่วมการปรึกษากลุ่ม จำนวน 16 คน สุ่มอย่างง่าย เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวัดพฤติกรรมการกล้าแสดงออก มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และค่าความเที่ยงโดยรวมเท่ากับ 0.7 และ 2) การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนาซึ่งได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงเปรียบเทียบโดยใช้ t-test

ผล : 1) พฤติกรรมการกล้าแสดงออกของกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม มีพฤติกรรมการกล้าแสดงออกสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมการปรึกษากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01             2) พฤติกรรมการกล้าแสดงออกของกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน มีพฤติกรรมการกล้าแสดงออกหลังการเข้าร่วมการปรึกษากลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

สรุป : การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมสามารถเสริมสร้างพฤติกรรมการกล้าแสดงออกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสิริรัตนาธรได้

References

วิมพ์วิภา ถาสกุล. การใช้กิจกรรมตามทฤษฎีเผชิญความจริง เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมกล้าแสดงออก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกโดยใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมติของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารครุพิบูล 2558; 2(1): 31.

จิตราภรณ์ ชีรนรวนิชย์. พฤติกรรมการกล้าแสดงออกในชั้นเรียนอย่างเหมาะสมของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2556.

ฤทัย บุญมาเมือง. การใช้กิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมความกล้าแสดงออกในวิชา 102 นาฏศิลป์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดเกตการาม จังหวัด เชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2554.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล, ไชยณัฐ ดำดี. พฤติกรรมศาสตร์: ขอบข่ายและวิธีการศึกษาสำหรับการพัฒนาองค์การ. วารสารสารคาม 2563; 11(2): 31.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.

Bower SA, Bower GH. Asserting yourself: a practical guide for positive change. Oxford: Addison-Wesley; 1976.

Corey G. Theory and Practice of group Counselling. 4th ed. California: Brooks-Cole; 2018.

อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์, พัชรินทร์ รุจิรานุกูล. การพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่เหมาะสมของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์. [วิทยานิพนธ์]. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี; 2558

กาญจนา สุทธิเนียม. การพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนิสิตครูโดยการให้การปรึกษากลุ่ม. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2561; 32(1): 17-32.

บุญจิรา ชลธารนที. ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมต่อความวิตกกังวล ในวัยรุ่นตอนต้น. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-07