การพัฒนาการบำบัดการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการพยาบาลในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ผู้แต่ง

  • พีรดา เพิ่มความสุข สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • วัฒนาภรณ์ พิบูลอาลักษณ์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การบำบัดการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการพยาบาล, ความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย, โรคซึมเศร้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการบำบัดการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการพยาบาลในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

วัสดุและวิธีการ : รูปแบบการพัฒนาและวิจัย 7 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การวิจัยและรวบรวมข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ (2) การวางแผน (3) การพัฒนารูปแบบบำบัดเบื้องต้น (4) การทดลองภาคสนามเบื้องต้น (5) การทดสอบภาคสนามหลัก (6) การทดสอบภาคสนาม ด้วยรูปแบบกึ่งทดลองในกลุ่มตัวอย่างโรคซึมเศร้าที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มควบคุม 22 คน ติดตามความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายก่อน-หลังทดลอง 1 เดือน และ 3 เดือน และ (7) การเผยแพร่และการนำไปใช้

ผล : การบำบัดการฆ่าตัวตายฯ แบบรายบุคคล บูรณาการจาก 4 แนวคิด ได้แก่ สัมพันธภาพบำบัด การบำบัดความคิดและพฤติกรรม การบำบัดโดยการแก้ปัญหา และสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว ประกอบด้วย 8 กิจกรรมใน 3 สัปดาห์ พบว่า ก่อนทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม หลังการทดลอง 1 เดือน และ 3 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยการบำบัดการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการพยาบาลมีโอกาสป้องกันความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายระดับปานกลางถึงรุนแรงได้ 0.88 และ 0.86 เท่าของการพยาบาลตามปกติ

สรุป : การบำบัดการฆ่าตัวตายฯ สามารถป้องกันความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในได้

References

Pukrittayakamee P, Ratta-apha W, Sirirat C, Singhakant S, Wannachavee U, Satra T, et al. Prevalence and associated factors of suicidal ideation among patients with major depressive disorder. J Med Assoc Thai 2022; 105(2): 85-90.

มาโนช หล่อตระกูล. การฆ่าตัวตาย: การรักษาและการป้องกัน. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนต์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2553.

พีรดา เพิ่มความสุข, วัฒนาภรณ์ พิบูลอาลักษณ์, สุดาพร สถิตยุทธการ. ประสบการณ์การพยายามฆ่าตัวตายของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา: แรงจูงใจและความตั้งใจ. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2566; 17(1): 20-39.

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กลุ่มภารกิจการพยาบาล. มุมมองพยาบาลจิตเวชต่อการพยาบาลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย. กิจกรรม Nursing Update. กรุงเทพฯ: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา; 2565.

Rosso IM, Killgore WD, Olson EA, Webb CA, Fukunaga R, Auerbach RP, et al. Internet-based cognitive behavior therapy for major depressive disorder: A randomized controlled trial. Depress and Anxiety 2017; 34(3): 236-45.

Li JM, Zhang Y, Su WJ, Liu LL, Gong H, Peng W, et al. Cognitive behavioral therapy for treatment-resistant depression: A systematic review and meta-analysis. Psychiatry Res 2018; 268: 243-50.

Leuzinger-Bohleber M, Hautzinger M, Fiedler G, Keller W, Bahrke U, Kallenbach L, et al. Outcome of psychoanalytic and cognitive-behavioural long-term therapy with chronically depressed patients: a controlled trial with preferential and randomized allocation. Can J Psychiatry 2019; 64(1): 47-58.

Bernal G, Rivera-Medina CL, Cumba-Aviles E, Reyes-Rodriguez ML, Saez-Santiago E, Duarte-Velez Y, et al. Can cognitive-behavioral therapy be optimized with parent psychoeducation? a randomized effectiveness trial of adolescents with major depression in Puerto Rico. Fam Process 2019; 58(4): 832-54.

พันธ์ทิพย์ รัตนบรรพต. ผลของโปรแกรมบำบัดทางพฤติกรรมความคิดแบบครอบครัวต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

อาณัติ เพิ่มธรรมสิน, อรรรณ สุนทวง, ชูศรี โพธิ์สูง. การพัฒนารูปแบบการให้บริการคลินิกครอบครัวบำบัดตามแนวทางการปรับความคิดและพฤติกรรมโดยทีมสหวิชาชีพในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2565; 67(3): 280-8.

อัครเดช กลิ่นพิบูลย์, วิภาดา คณะไชย, สาคร บุปผาเฮ้า. การพัฒนาโปรแกรมบำบัดโดยการแก้ไขปัญหาในผู้ป่วยจิตเวชที่มีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย. วาสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2563; 28(1): 86-98.

Dunlop BW, Polychroniou PE, Rakofsky JJ, Nemeroff CB, Craighead WE, Mayberg HS. Suicidal ideation and other persisting symptoms after CBT or antidepressant medication treatment for major depressive disorder. Psychol Med 2019; 49(11): 1869-78.

Rodcharoen S, Kongsuwan V, Chanchong W. The effects of self-guided cognitive behavioral modification program on self-esteem and depression of elders with major depressive disorder. Nursing Science Journal of Thailand 2019; 37(3): 91-106.

Zhang A, Borhneimer LA, Weaver A, Franklin C, Hai AH, Guz S, et al. Cognitive behavioral therapy for primary care depression and anxiety: a secondary meta-analytic review using robust variance estimation in meta-regression. J Behav Med 2019; 42(6): 1117-41.

Zakhour S, Nardi AE, Levitan M, Appolinario JC. Cognitive-behavioral therapy for treatment-resistant depression in adults and adolescents: a systematic review. Trends Psychiatry Psychother 2020; 42(1): 92-101.

ศิริลักษณ์ ปัญญา, เพ็ญนภา แดงต้อมยุทธ์, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. ผลของกลุ่มจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2558; 60(2): 99-110.

Yamboonruang T, Yunibhand J. Effects of the interpersonal need program on suicidal ideation and suicidel attempt in mentally ill patients. J Health Res 2017; 31(3): 177-83.

Peplau EH. Interpersonal relations in nursing: a conceptual frame of reference for psychodynamic nursing. New York: Springer publishing company; 1991.

Beck AT. Cognitive therapy and emotional disorder. New York: International Universities press; 1976.

D'Zurilla TJ, Bezu AM. Problem-solving therapies. London: Hutchinson; 2010.

Anderson CM, Reiss, D. J., & Hogarty, G. E. Schizophrenia and the family a practitioner's guide to psychoeducation and management. New York: A division of Guilford publications; 1986.

พิเชฐ อุดมรัตน์, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. การใช้แบบสัมภาษณ์ M.I.N.I. ฉบับภาษาไทย The Mini-International Neuropsychiatric Interview (Thai version). เชียงใหม่: ไอแอมออเกไนเซอร์แอนด์แอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง; 2547.

Malone MK, Haas LH, Sweeney AJ, Mann JJ. Major depression and the risk of attempted suicide. J Affect Disord 1995; 34: 173-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30