การเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนนานาชาติอินเตอร์เนชั่นแนลไพโอเนียร์สโดยการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเกสตัลท์

ผู้แต่ง

  • สุนิสา ลอยเมฆ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • กาญจนา สุทธิเนียม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ชลพร กองคำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • อโนทัย แทนสวัสดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเกสตัลท์, จิตสาธารณะ, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อเปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเกสตัลท์ ก่อนและหลังการทดลอง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเกสตัลท์กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามระบบการดูแลของโรงเรียน

วัสดุและวิธีการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนนานาชาติอินเตอร์เนชั่นแนลไพโอเนียร์ส ปีการศึกษา 2565 จากนักเรียนที่มีคะแนนจิตสาธารณะต่ำ จำนวน 16 คน และสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมการปรึกษากลุ่ม และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามระบบการดูแลของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67 - 1.00 และค่าความเที่ยงโดยรวมเท่ากับ 0.77 และ 2) การปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเกสตัลท์มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย ซึ่งได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงเปรียบเทียบโดยใช้ Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U test

ผล : 1) ผลการเปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มทดลองหลังได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเกสตัลท์สูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการปรึกษากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หากพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการใช้และการดูแลสาธารณสมบัติและด้านการถือเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านการรับรู้และเคารพในสิทธิของบุคคลไม่แตกต่างกัน 2) ผลการเปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเกสตัลท์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หากพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการถือเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านการใช้และการดูแลสาธารณสมบัติและด้านการรับรู้และเคารพในสิทธิของบุคคลไม่แตกต่างกัน

สรุป : การปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเกสตัลท์สามารถเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นได้

References

วิมล ชาติชำนิ. ปัจจัยบางประการที่มีความสัมพันธ์ต่อจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. สกลนคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร; 2555.

ชัยยงค์ จันทร์โสดา. การพัฒนาการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของ นักเรียนโรงเรียนแสลงโทนพิทยาคม อำเภอประโคนชัยจังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2550.

บดินทร์ เสวาภพ. การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านบะหว้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. สกลนคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร; 2561.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 -2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด; 2554.

สุพจน์ เปลี่ยวสงัด. ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมที่มีต่อการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้จังหวัดนครศรีธรรมราช [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. สงขลา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2557.

นิรุทธ์ วัฒโนภาส. ผลของการให้คำปรึกษาแนวโยนิโสมนสิการที่มีต่อการเพิ่มพูนจิตสำนึก สาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal SU 2554; 688-703.

Vinogradov S & Yalom ID. Concise guide to group psychotherapy. Washington, DC: America Psychiatric Press Inc; 1989.

กาญจนา ไชยพันธุ์ , อภิเชษฐ จันทนา. ผลของการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านโป่งขุนเพชรพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา 2553; 4(3): 130-138.

Lekwilai S, Nithiwaraphakul K, Akkararat P. Effects of using public mind enhancement model on bachelor of education students at Phranakhon Rajabhat University. Solid State Technology 2020; 63(4): 599-608.

กาญจนา สุทธิเนียม. การพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนิสิตครูโดยการให้การปรึกษากลุ่ม. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2561; 32(1): 17-32.

อุมาภรณ์ สุขารมณ์, การพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2566; 13: 65-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30