การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และความยืดหยุ่นทางจิตใจของนิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ปุณมนัส ขันคำมาละ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อุษณีษ์ เข็มรักษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พิมนารา วัฒโน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ปริณดา เทพคำ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ชนากานต์ ฉิมพานิช คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณัชญา ปรียาภัศกุล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • แสงดาว วัฒนาสกุลเกียรติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางอารมณ์, ความยืดหยุ่นทางจิตใจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์และความยืดหยุ่นทางจิตใจ เปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลกับความฉลาดทางอารมณ์และความยืดหยุ่นทางจิตใจ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และความยืดหยุ่นทางจิตใจ

วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในนิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับอายุ 18 - 60 ปี และแบบประเมินความยืดหยุ่นทางจิตใจ (CD-RISC) ฉบับภาษาไทย สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติความแปรปรวนแบบสองทาง สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และศึกษาความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผล : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 370 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 80.5 ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 33.8 เกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป ร้อยละ 41.4 และรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 4,001 - 6,000 บาท ร้อยละ 33.2 พบว่า เพศ ชั้นปีที่ศึกษา เกรดเฉลี่ยที่ต่างกัน มีความฉลาดทางอารมณ์และความยืดหยุ่นทางจิตใจไม่แตกต่างกัน แต่ระดับความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย (Mean = 156.3, S.D. = 17.32) และความยืดหยุ่นทางจิตใจสูง ร้อยละ 99.2 รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีความความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความฉลาดทางอารมณ์และความยืดหยุ่นทางจิตใจ มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง (r = 0.337) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05

สรุป : นิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย และความยืดหยุ่นทางจิตใจสูง รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีความฉลาดทางอารมณ์ที่แตกต่างกัน และความฉลาดทางอารมณ์และความยืดหยุ่นทางจิตใจมีความสัมพันธ์กันทางบวก

Author Biography

กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

นาย กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร   

ตำแห่งวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์

 

ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

99 หมู่ 9 ตำบลท่าโพธิ์   อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก  รหัสไปรษณีย์ 65000

โทรศัพท์ 055961970     0888934353                                           

17 มิถุนายน 2518, โสด

สัญชาติ : ไทย

E-mail : kantabhata@nu.ac.th

 

                                              

ประวิติการศึกษา                                   

                                                          

พฤษภาคม 2531 - มีนาคม 2536               มัธยม โรงเรียนเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพ

พฤษภาคม 2536 - พฤษภาคม 2540          ปริญญาตรี : คณะสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยาคลีนิก มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพ

พฤษภาคม 2540 - สิงหาคม 2544             ปริญญาโท : สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย มหิดล

ตุลาคม 2544 – ธันวาคม 2544                  เรียนภาษาฝรั่งเศส Alliance Française ที่กรุงเทพ

กุมภาพันธ์ 2545 – สิงหาคม 2545             เรียนภาษาฝรั่งเศส Alliance Française ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

กันยายน 2545 - เมษายน 2551                เรียนภาษาฝรั่งเศส ที่ Centre de Français Langue Etrangère, UFR : Lettres et Langues, Université de Poitiers เมือง Poitiers ประเทศฝรั่งเศส

กันยายน 2546 - กันยายน 2549                ปริญญาโท : Master 1 : Maîtrise en psychologie, UFR : Sciences Humaines et Arts, département de psychologie, l’Université de Poitiers, France.

ตุลาคม 2549 - กันยายน 2550                  ปริญญาโท : Master 2 : Master recherche Psychopathologie et santé de l’adolescent et du jeune adulte, UFR : Sciences Humaines et Arts, département de psychologie, l’Université de Poitiers, France.

ตุลาคม 2550 - มีนาคม 2554                    ปริญญาเอก : Doctoral en psychologie clinique, Laboratoire Equipe de recherche en psychologie clinique, UFR : Sciences Humaines et Arts, département de psychologie, l’Université de Poitiers, France.

 

ประกาศนียบัตร

 

2540                                                    วิทยาศาสตร์บัณฑิต (จิตวิทยา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2544                                                     วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (จิตวิทยาคลินิก) มหาวิทยาลัยมหิดล

2549                                                    Maîtrise en Sciences Humaines et Sociales, Mention Psychologie, Mention Assez Bien, Université de Poitiers, France.

2549                                                    Diplôme d'Études Françaises (DEF), France.

2550                                                    Master en Science Humaines et Sociales à finalité Recherche, Mention Psychologie, Spécialité Psychopathologie et Santé de l’Adolescent et du Jeune Adulte, Mention Bien, Université de Poitiers, France.

2550                                                    Diplôme Avancé d'Études Françaises (DAEF), France.

2551                                                    Diplôme Supérieur d'Études Françaises (DSEF), France.

2551                                                    ใบประกอบวิชาชีพ นักจิตวิทยา ประเทศฝรั่งเศส (Titre de Psychologue)

2554                                                    Diplôme de Docteur Sciences Humaines, Secteur de Recherche Psychologie, Psychologie clinique, Psychologie sociale, mention très honorable, l’Université de Poitiers, France.

2562                                                    ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาจิตวิทยาคลินิกประเทศไทย ใบอนุญาตหมายเลขที่ จ.ค. 858

 

 

ประสบการณ์การทำงานและการฝึกงาน

 

 

มิถุนายน 2539 – กันยายน 2539               ฝึกงาน ระดับ ปริญญาตรี : ฝึกงาน โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา, คลองสาน, กรุงเทพ, ตำแหน่งนักจิตวิทยา คลีนิค

พฤษจิกายน 2541 – กุมภาพันธ์ 2542         ฝึกงาน ระดับ ปริญญาโท : ฝึกงาน โรงพยาบาลศิริราช แผนกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น, แผนกผู้ป่วยจิตเวชสำหรับผู้ใหญ่, ตำแหน่งนักจิตวิทยา คลีนิค

มกราคม 2543 – สิงหาคม 2544               รับราชการ : ตำแหน่งนักจิตวิทยา คลีนิก สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่นกระทรวงยุติธรรม

ตุลาคม 2548 – สิงหาคม 2549                  ฝึกงาน ตำแหน่งนักจิตวิทยา คลีนิก ระดับ ปริญญาโท :  Master 1  ที่ Centre Hospitalier Henri LABOLIT à Poitiers, France.

พฤศจิกายน 2549 – สิงหาคม 2550            ฝึกงาน ตำแหน่งนักจิตวิทยา คลีนิก ระดับ ปริญญาโท : Master 2 ที่ Centre Hospitalier Henri LABOLIT à Poitiers, France.

ตุลาคม 2551 – สิงหาคม 2552                  ฝึกงาน ระดับ ปริญญาเอก : ตำแหน่งนักจิตวิทยา คลีนิค ที่ Centre Hospitalier Henri LABOLIT à Poitiers, France.

กรกฎาคม – พฤศจิกายน 2556                   ฝึกอบรม Internship ที่โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ  224 ถนนทางรถไฟเก่า แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร

กันยายน 2555 – ปัจจุบัน                         พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ตำแหน่ง อาจารย์ ประจำภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

 

 

งานวิจัยในระดับมหาวิทยาลัย

 

ประเทศไทย

 

วิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหิดล

 

  • ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อการเผชิญปัญหาของครูผู้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ : กรณีศึกษาในโรงเรียนศึกษาพิเศษมุกดาหาร

 THE EFFECT OF GROUP COUNSELING ON PROBLEM-FOCUS COPING STYLE OF TEACHERS OF CHILDREN WITH SPECIAL NEEDS : A CASE STUDY AT MUKDAHAN SPECIAL EDUCATION SCHOOL.

 

ประเทศฝรั่งเศส

 

Dissertation ระดับ Master 1, Université de Poitiers

 

  • ปิตุฆาต: ลูกชายฆ่าพ่อ

PARRICIDE : UN ADOLESCENT ASSASSINE SON PERE.

 

Dissertation ระดับ Master 2, Université de Poitiers

 

  • การวาดรูปคน ในคนไข้วัยรุ่น ที่พยายามฆ่าตัวตาย

L'UTILISATION DU TEST DU DESSIN DU PERSONNAGE CHEZ L'ADOLESCENT SUICIDAIRE.

 

วิทยานิพนธ์ ระดับ Doctorat, Université de Poitiers

                                   

  • แบบทดสอบการวาดรูปคน ในกลุ่มคนไข้พยายามฆ่าตัวตาย

LE TEST DU DESSIN DU PERSONNAGE CHEZ LE SUJET SUICIDAIRE.

 

 

 

 

 

บทความตีพิมพ์ในวารสาร

 

  • ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ
  • 2019 Sherab Dorji, Patcharin Sirasoonthorn and Kantabhat Anusaksathien. (2019) SCHOOL TEACHERS IN RURAL BHUTAN: QUALITY OF WORK LIFE, WELLBEING AND THE RISKS OF RESIGNATION. South Asia Research 39.3S, November 2019. (published)
  • 2018 Kantabhat Anusaksathien. (2018). Effects of Art Therapy on the Mental Health of Victims of Trafficking in Person at the Phitsanulok Welfare Protection Center, Thailand. การประชุมวิชาการ The Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (ASAIHL) Conference 2018 : “Higher Education for Diversity and Global Citizenship”. Page 63. 26 – 28 March 2018. Soka University Japan. (Oral Presentation)
  • 2016 Anusaksathein K. (2016). Using the draw-a-person test in young Thai women aged 14-17 in Phitsanulok province, Thailand. In Nguyen Thj Anh Thu (Ed.), International Conference Invitation (Psychological Trauma and Support Activities) (pp.110-122). Hanoi: University of Social Sciences and Humanities, Vietnam National University. (Proceeding)
  • 2009 Anusaksathein K. (2009). เด็กติดเกม: นิตยสารบุษบา, France : Vol. 30, avril-juin 2009. Page 32. (published)

 

 

  • ตีพิมพ์ในระดับชาติ
  • 2564 กรรณิการ์ ใจเที่ยง, ฐิติชญา อินชู, วิวัฒน์ เจริญอึ้ง, บุษบง จันทมล, ภูฤทธิ์ เจริญจิตร, จิราภร แสนทวีสุข, นิรันดร์ เงินแย้ม และกันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร. การประเมินความสุขในนิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยนเรศวร. รายงานการประชุมวิชาการการบริหารการพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหารระดับชาติ ครั้งที่ 5 ภายใต้หัวข้อ “Citizen Engagement: พลังภาคประชาชนสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน วันที่ 7 มกราคม 2564 ณ มหาวทิยาลยัราชภัฏบุรีรัมย์. (Proceedings)
  • 2563 กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร, ธนพร ส่งแสงธรรมชัย, โสภิดา คลังภูเขียว, พัชรพล ใจน้อย, เจนจิรา กาแฮ, พิจิตรา รังเจริญ, เกศรินทร์ ตุรงคราวี, จิราภร แสนทวีสุข, นิรันดร์ เงินแย้ม และ สุรเดช ประยูรศักดิ์. (2563). การสร้างแบบประเมินความเครียดในนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร : Naresuan University Stress Assessment Tool. วารสารการวัดและประเมินผลสถิติและการการวิจัยทางสังคมศาสตร์. หน้า 11-19. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563). (Published)
  • 2562 กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร. (2562). การพัฒนาแบบประเมินภาวะซึมเศร้าสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. การประชุมวิชาการระดับชาติ "นเรศวรวิจัย" ครั้งที่ 15. NU Research and Innovation Towards Sustained Society. วันที่ 13 พฤศจิกายน 2562. มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก. (Proceedings)
  • 2561 วิวัฒน์ เจริญอึ้ง, กรรณิการ์ ใจเที่ยง, ฐิติชญา อินชู, ภูฤทธิ์ เจริญจิตร, บุษบง จันทมล และกันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร. (2561). การสร้างแบบประเมินความสุขในนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. Construction of the Undergraduate Naresuan University Happiness Assessment (NUHA). วารสารจิตวิทยาคลินิก. หน้า 1-13. ปีที่ 49 ฉบับที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2561. (Published)
  • 2561 ธิดารัตน์ พุทธวงษ์, ปัณฑรีย์ รัศมี, อรพิน ทองรอง, สุพัฐธิชา เต็มสวัสดิ์, ณัฏฐา ดาวเรือง, ณัฏวรันธร เชื้อฉลาด และกันตพัฒน์ อนุศกัดิ์เสถียร. (2561). ประเมินภาวะซึมเศร้าในนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง Depression Assessment of University Students. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ "นเรศวรวิจัย" ครั้งที่ 14 UNIVERSITY IN DISRUPTIVE ERA. การประชุมวิชาการระดับชาติการประชุมวิชาการระดับชาติ "นเรศวรวิจัย" ครั้งที่ 13 : วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม. หน้า 555-564. วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก. (Proceedings)
  • 2561 Montira Injai, Nattaporn Opasanon, Kantabhat Anusaksathien, Phetcharee Boonsiriya, Kamphol Kiksanthia. (2018). Training on demand: A tailored training program from the Voice Dialogue perspective for pre-cooperative education students.Kasetsart Journal : Social Sciences. Vol. 39 No. 2 (2018): May- August. P 755-767. (Published)
  • 2560 ขนิษฐา วัฒนเดชาสกุล, กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร. (2560). ปัจจัยด้านครอบครัว ที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็ก :กรณีศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาการเด็กเล็ก เทศบาล ตำบลอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติการประชุมวิชาการระดับชาติ "นเรศวรวิจัย" ครั้งที่ 13 : วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม. หน้า 1135-1142. วันที่ 20-21 กรกฎาคม 2560. มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก. (Proceedings)
  • 2560 กันตพัฒน์ อนุศักด์ิเสถียร. (2560). แบบทดสอบการวาดรูป บ้าน-ต้นไม้-คน ในวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์: กรณีศึกษาศูนย์บริการที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น และเยาวชน โรงพยาบาล พุทธชินราช พิษณุโลก. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ "นเรศวรวิจัย" ครั้งที่ 13 : วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม. หน้า 1125-1134. วันที่ 20-21 กรกฎาคม 2560. มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก. (Proceedings)
  • 2560 กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร, สุพรรณี เกลื่อนกลาด. (2560). ถอดบทเรียนการเรียนรู้รูปแบบการจัดการสุขภาพระดับอาเภอ กรณีศึกษาอาเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร. การประชุมระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 3 ประจาปี พ.ศ. 2560 หัวข้อ “Thailand 0 นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”. หน้า 827-832. วันที่ 23 – 24 มีนาคม 2560 ณ ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก. (Proceedings)
  • 2559 มณฑิรา อินจ่าย, กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร, กำพล กิ๊กสันเทีย, เพชรี บุญศิริยะ, และ นัฐพร โอภาสานนท์. (2559). การฝึกอบรมตามอุปสงค์: โปรแกรมที่เหมาะกับตัวตนในมุมมองวอยซ์ไดอะล็อกสำหรับนิสิตเตรียมสหกิจศึกษา. ใน วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์ (บ.ก.), รายงานการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยทางจิตวิทยาระดับชาติ Thailand National Conference on Psychology: Empowering People in the World of Change (TNCP 2016) (น.36). กรุงเทพฯ: คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (Proceedings)
  • 2546 Anusaksathein K. (2003). THE EFFECT OF GROUP COUNSELING ON PROBLEM-FOCUS COPING STYLE OF TEACHERS OF CHILDREN WITH SPECIAL NEEDS : A CASE STUDY AT MUKDAHAN SPECIAL EDUCATION SCHOOL. Journal of Clinical Psychology, Vol. 34, No. 1, January-June. Page 15-28. (Published)

 

 

Administrative Experience (ประวัติด้านการบริหาร):

 

กรกฏาคม 2558 – มิถุนายน 2561              รับตำแหน่ง รองคณบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนิสิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

 

 

ตำแหน่งทางวิชาการ

 

มีนาคม 2561                                       รับตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

 

ประสบการณ์การสอนและสัมมนา

 

  • ปี 2544 บรรยายพิเศษ เรื่อง “จิตวิทยาคลินิก และ กรณีศึกษา ลูกฆ่าพ่อ” ให้กับ นักศึกษา ระดับปริญญาโท คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชา จิตวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปี  2549 บรรยายพิเศษ ในโครงการประชุมวิชาการของนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศสและภาคพื้นยุโรบ ของสมาคมนักเรียนไทยในฝรั่งเศส ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีพุทธศักราช 2549 วันที่ 5-7 พฤษภาคม, ในหัวข้อเรื่อง “จากอดีตสู่ปัจจุบัน ปัญหาการกระทำทารุณและทอดทิ้งเด็ก” เมือง Périgueux ประเทศ ฝรั่งเศส
  • ปี 2550 บรรยายพิเศษ ในโครงการประชุมวิชาการของนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศสและภาคพื้นยุโรบ ของสมาคมนักเรียนไทยในฝรั่งเศส ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีพุทธศักราช 2550 วันที่ 2 – 4 พฤษจิกายน, ในหัวข้อเรื่อง “รู้เท่าเอาไว้กัน รู้ทันเอาไว้แก้ กับ Pedophilia และความผิดปกติทางเพศ (sexual disorders)” ณ. วัดไทยธรรมปทีป เมือง Paris ประเทศ ฝรั่งเศส
  • ปี 2551 บรรยายพิเศษ วันที่ 14 เมษายน ให้กับ สมาคมสตรีไทยในประเทศฝรั่่งเศส. (ASSOCIATION SOLIDARITE THAIE EN FRANCE) ในหัวข้อเรื่อง “จิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้ทางภาษาของเด็ก”  เมือง Paris ประเทศ ฝรั่งเศส
  • ปี 2553 บรรยายพิเศษ ในโครงการประชุมวิชาการของนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศสและภาคพื้นยุโรบ ของสมาคมนักเรียนไทยในฝรั่งเศส ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีพุทธศักราช 2553 วันที่ 22 – 24  มกราคม, ในหัวข้อเรื่อง “แบบทดสอบการวาดรูปคน ในกลุ่มคนไข้พยายามฆ่าตัวตาย” เมือง Bordeaux ประเทศ ฝรั่งเศส
  • ปี 2555  บรรยายพิเศษ วันที่ 19 มกราคม  2555 ให้นักจิตวิทยาคลีนิกบรรจุใหม่ ของ, กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม, ในหัวข้อเรื่อง การตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคนีนิค ในต่างประเทศ
  • ปี 2555  บรรยายพิเศษ วันที่ 26 กุมภาพันธ์  2555 ให้นักจิตวิทยาคลีนิกบรรจุใหม่ ของศาลเยาวชน และ ครอบครัว, ในหัวข้อเรื่อง ทักษะการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาเด็ก เยาวชน และการประเมินครอบครัว : การใช้ Projective drawing techniques : การวาดภาพคน (Draw-A-Person Test) และ การวาดภาพ   บ้าน-ต้นไม้-คน  (House-Tree-Person Test)
  •  

ประสบการณ์การสอน 2555-2562

 

  • Abnormal Psychology จิตวิทยาอปกติ
  • Cognitive Psychology จิตวิทยาปัญญานิยม
  • Counseling Theories and Techniques ทฤษฎีและเทคนิคการปรึกษา
  • General Psychology จิตวิทยาทั่วไป
  • Group Psychotherapy จิตบำบัดกลุ่ม
  • Individual Psychotherapy จิตบำบัดรายบุคคล
  • Introduction to Clinical Psychology จิตวิทยาคลินิกเบื้องต้น
  • Mental Health and Adjustment สุขภาพจิตและการปรับตัว
  • Personality Assessment การตรวจประเมินทางบุคลิกภาพ
  • Practicum in Clinical Psychology การฝึกปฏิบัติทางจิตวิทยาคลินิก
  • Psychological Assessment I การตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยา 1
  • Psychological Assessment II การตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยา 2
  • Psychology of Learning and Behavior จิตวิทยาการเรียนรู้และพฤติกรรม

 

 

ความสนใจอื่นๆ

 

  • ปี 2547-2550 อาสาสมัคร ทำกิจกรรมกับ กลุ่มออทิสติก (เด็กและผู้ใหญ่ออทิสติก) รวมกับ สมาคม ALEPA 86 : Activités et Loisirs Educatifs pour Personnes Autistes เมือง Poitiers  ประเทศ ฝรั่งเศส
  • 2562 – ปัจจุบัน ที่ปรึกษาชมรมพุทธศาสน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • 2562 – ปัจจุบัน กรรมการที่ปรึกษาพัฒนาสุขภาวะนิสิตและบุคลากร มหาวิทยาลัยนเรศวร

References

Hongthong A. The hospital development model to achieve advanced quality. International Academic Multidisciplinary Research Conference in Vienna. 2023; 20: 252-5.

Goel V, Vartanian O. Negative emotions can attenuate the influence of beliefs on logical reasoning. Cogn Emot 2011; 25(1): 121-31.

Gross JT, Cassidy J. Expressive suppression of negative emotions in children and adolescents: Theory, data, and a guide for future research. Dev Psychol 2019; 55(9): 19-38.

Joseph JM. The resilient child: Preparing today’s youth for tomorrow’s world. New York: Plenum; 1994.

Brewer J, Cadman C. Emotional intelligence: Enhancing student effectiveness and patient outcomes. Nurse Educ 2000; 25(6): 264-6.

Mancini G, Biolcati R, Joseph D, Trombini E, Andrei F. Emotional intelligence: Current research and future perspectives on mental health and individual differences. Front Psychol 2022; 13: 1-3.

Segal J, Smith M, Robinson L, Shubin J. Improving Emotional Intelligence (EQ): Emotional intelligence affect’s. Help Guide 2022; 5: 1-5.

รัศมี มณีนิล. ความฉลาดทางอารมณ์: อีคิวคืออะไร. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2560.

กรมสุขภาพจิต. เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต RQ : Resilience Quotient. นนทบุรี: สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต; 2563.

Grant L, Kinman G. Emotional resilience in the helping professions and how it can be enhanced. HSC 2014; 3(1): 23-34.

American Psychological Association. The road to resilience. APA PsycNet. 2004: 227-9.

Hussain R, Guppy M, Robertson S, Temple E. Physical and mental health perspectives of first year undergraduate rural university students. BMC 2013; 13(1): 1.

Herbst U, Voeth M, Eidhoff AT, Müller M, Stief S. Studierendenstress in Deutschland – Ene Empirische Untersuchung Bd, vol. 85. Berlin: AOK Bundesverband; 2016.

Van Rooy DL, Viswesvaran C. Emotional intelligence: A meta-analytic investigation of predictive validity and nomological net. J Vocat Behav 2004; 65(1): 71-95.

Nelson CA. Neural plasticity and human development. Curr. Dir. Psychol 1999; 8(2): 42-5.

Akeman E, Kirlic N, Clausen AN, Cosgrove KT, McDermott TJ, Cromer LD, Paulus MP, Yeh HW, Aupperle RL. A pragmatic clinical trial examining the impact of a resilience program on college student mental health. Depression and Anxiety 2020; 37(3): 202-13.

VanBreda AD. Resilience of vulnerable students transitioning into a South African university. High. Educ 2018; 75: 1109-24.

Howard Gardner. Frames of mind: The theory of multiple intelligence. New York: Basic Books; 1983.

รุจิกาญจณ์ เหลี่ยมเจริญ. ความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 มหาวิทยาลัยนเรศวร [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2560.

วัลลพ ล้อมตะคุ, สิทธิชัย ลีวิวัฒน์วงศ์, สิริเกียรติ รัชชุศานติ. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีเงินออมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. Rajapark Journal 2566; 17(51): 192-204.

Tsurugano S, Nishikitani M, Inoue M, Yano E. Impact of the COVID-19 pandemic on working students: Results from the Labour Force Survey and the student lifestyle survey. J Occup Health 2021; 63(1): e12209.

Ching SS, Cheung K. Factors affecting resilience of nursing, optometry, radiography and medical laboratory science students. Int J Environ Res Public Health 2021; 18(8): 38-67.

Ang WH, Shorey S, Lopez V, Chew HS, Lau Y. Generation Z undergraduate students’ resilience during the COVID-19 pandemic: a qualitative study. Curr Psychol 2022; 41(11): 8132-46.

Pertegal-Felices ML, Valdivieso-Salazar DA, Espín-León A, Jimeno-Morenilla A. Resilience and academic dropout in ecuadorian university students during Covid-19. Sustainability 2022; 14(13): 8066.

Auttama N, Seangpraw K, Ong-Artborirak P, Tonchoy P. Factors associated with self-esteem, resilience, mental health, and psychological self-care among university students in Northern Thailand. J Multidiscip Healthc 2021: 1213-21.

Quintiliani L, Sisto A, Vicinanza F, Curcio G, Tambone V. Resilience and psychological impact on Italian university students during COVID-19 pandemic. Distance learning and health. Psychol Health Med 2022; 27(1): 69-80.

Wu Y, Yu W, Wu X, Wan H, Wang Y, Lu G. Psychological resilience and positive coping styles among Chinese undergraduate students: a cross-sectional study. BMC Psychology 2020; 8(1): 1-11.

DiFabio A, Saklofske DH. Promoting individual resources: The challenge of trait emotional intelligence. Pers Individ Dif 2014; 65: 19-23.

Trigueros R, Padilla AM, Aguilar-Parra JM, Rocamora P, Morales-Gázquez MJ, López-Liria R. The influence of emotional intelligence on resilience, test anxiety, academic stress and the Mediterranean diet. A study with university students. Int J Environ Res Public Health 2020; 17(6): 20-71.

Bano Z, Pervaiz S. The relationship between resilience, emotional intelligence and their influence on psychological wellbeing: A study with medical students. Pak Armed Forces Med J 2020; 70(2): 390-394.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-17