การสำรวจสุขภาพจิตในกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ต
คำสำคัญ:
ประเมิน, ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต, สุขภาพจิตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตในกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ต อายุระหว่าง 18 - 60 ปี
วัสดุและวิธีการ : การวิจัยเชิงสำรวจสุขภาพจิต กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวน 584 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินสุขภาพจิตคนไทย (TMHQ) จำนวน 70 ข้อ แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอาการทางกาย อาการกังวล อาการซึมเศร้า อาการโรคจิต และการเข้าสังคม วิเคราะห์ผลด้วยสถิติพรรณนาหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ t-test เพื่อเปรียบเทียบความต่างของคะแนนเฉลี่ย TMHQ ระหว่างเพศ และประวัติความเจ็บป่วยทางจิตเวชที่แตกต่างกัน ANOVA เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ย TMHQ ในกลุ่มอายุต่างกัน สถิติสหสัมพันธ์ Spearman’s Rank เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสุขภาพจิตด้านต่าง ๆ และ สถิติเชิงพหุถดถอย เพื่อศึกษาความสามารถการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อคะแนน TMHQ
ผล : กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 28.8 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และไม่มีประวัติเจ็บป่วยทางจิตเวช ผลสำรวจโดยรวมพบคะแนน TMHQ ด้านกังวลสูงกว่าด้านอื่น ๆ โดยช่วงอายุ 18 - 30 ปี มีคะแนนสูงสุด เพศหญิงมีคะแนนอาการทางกายสูงกว่าเพศชาย แต่ประวัติความเจ็บป่วยต่างกันมีคะแนน TMHQ ไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้คะแนน TMHQ แต่ละด้านมีความสัมพันธ์กันระดับสูงถึงต่ำ และอายุสัมพันธ์ทางลบกับคะแนนด้านอาการทางกาย ซึมเศร้า และกังวลในระดับต่ำมาก และยังสามารถทำนายคะแนน TMHQ ด้านอาการทางกาย ซึมเศร้า และกังวลได้ในระดับต่ำมากเช่นกัน
สรุป : ผลการศึกษาสุขภาพจิตคนไทยใช้อินเตอร์เน็ตพบว่ามีภาวะกังวลสูงกว่าปกติ โดยไม่มีประวัติการเจ็บป่วยทางจิตเวชมาก่อน ทั้งยังพบว่าปัญหาสุขภาพจิตแต่ละด้านมีความสัมพันธ์ต่อกัน
References
Gianfredi V, Provenzano S, Santangelo OE. What can internet users' behaviours reveal about the mental health impacts of the COVID-19 pandemic? A systematic review. Public Health 2021; 198: 44-52.
กรมสุขภาพจิต. มุมมองจากแพทย์แผนปัจจุบันต่อวิกฤติสุขภาพปี 2564 (ตอนที่ 6จบ). [Online]. Available from: https://dmh.go.th/news/view.asp?id=24342564 [2023 Nov 20].
Marketeet. ในประเทศไทย 2564 ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไทยมากแค่ไหนเมื่อเทียบกับโลก. [Online]. Available from: https://marketeeronline.co/archives/208372 [2023 Nov 20].
สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา, กนกรัตน์ สุขะตุงคะ. การพัฒนาแบบวัดสุขภาพจิตในคนไทย. สารศิริราช 2542; 51(12): 946-52.
สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา, กนกรัตน์ สุขะตุงคะ. การสร้างเกณฑ์ปกติสำหรับวัดสุขภาพจิตในคนไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2542; 44(4): 285-97.
Rewtrakunphaiboon W, Sawangdee Y. Institute for Population and Social Research Mahidol University Nakonpathom. Thailand. Tourism and Hospitality Management 2022; 28(2): 277-96.
กรมสุขภาพจิต. การใช้บริการสาธารณสุข. [Online]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. Available from: https://dtc.dmh.go.th/PublicHealthServices/ReportView?reportCode=4d85493b-1439-467d-853e-e85d6dc8f355 [2023 Nov 20].
Hfocus. ภาวะสังคมไทย 2565 ป่วยซึมเศร้าพุ่งสูง แนวโน้มวัยรุ่น-วัยทำงานฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น. [Online]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2023/03/27358 [2023 Nov 20].
BBC. Mid-life crisis begins in mid-30s, Relate survey says. [Online]. Available from: https://www.bbc.com/news/health -11429993 [2023 July 13].
Miron-Shatz T, Bhargave R, Doniger GM. Milestone age affects the role of health and emotions in life satisfaction: A preliminary inquiry. PLoS One 2015; 10(8): e0133254.
ศรีเรือน แก้วกังวล. จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย วัยรุ่น-วัยสูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2549.
Saris IMJ, Aghajani M, van der Werff SJA, van der Wee NJA, Penninx BWJH. Social functioning in patients with depressive and anxiety disorders. Acta psychiatrica Scandinavica 2017; 136(4): 352-61.
Bekhuis E, Boschloo L, Rosmalen JG, Schoevers RA. Differential associations of specific depressive and anxiety disorders with somatic symptoms. J Psychosom Res 2015; 78(2): 116-22.
Thomas ML, Kaufmann CN, Palmer BW, Depp CA, Martin AS, Glorioso DK, et al. Paradoxical trend for improvement in mental health with aging: A community-based study of 1,546 adults aged 21-100 years. J Clin Psychiatry 2016; 77(8); e1019-e1025.
National Institute of Mental Health. Mental illness. [Online]. Available from: https://www.nimh.nih.gov/health/ statistics/mental-illness [2023 July 17].
Tugade MM, Shiota MN, Kirby LD. Handbook of positive emotion. 2nd ed. New York; Guilford Press; 2014.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา