การพัฒนารูปแบบผสมผสานการพยาบาลต่อการป่วยซ้ำและเสพซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีน
คำสำคัญ:
การป่วยซ้ำ, การเสพซ้ำ, ผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีน, รูปแบบผสมผสานการพยาบาลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อพัฒนารูปแบบผสมผสานการพยาบาลในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีน และ 2) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบผสมผสานการพยาบาลต่อการป้องกันการป่วยซ้ำและเสพซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีนในขั้นตอนการทดสอบการนำไปใช้ในภาคสนาม
วัสดุและวิธีการ : การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน จำนวน 84 คน เป็นกลุ่มทดลองได้รับการดูแลด้วยรูปแบบผสมผสานการพยาบาล จำนวน 42 คน และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก: รูปแบบผสมผสานการพยาบาลในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีน แบบประเมินระดับอาการทางจิต และชุดทดสอบสารเสพติดเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ ติดตามการป่วยซ้ำ และเสพซ้ำหลังสิ้นสุดการทดลองและจำหน่ายสัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์ 4
ผล : 1) รูปแบบผสมผสานการพยาบาลพัฒนาเป็นคู่มือ “แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก: รูปแบบผสมผสานการพยาบาลในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีน” และ 2) ผลการทดลองภาคสนาม พบว่าการป่วยซ้ำหลังสิ้นสุดการทดลองสัปดาห์ที่ 2 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน แต่หลังสิ้นสุดการทดลองสัปดาห์ที่ 4 ทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มทดลองมีโอกาสป้องกันการป่วยซ้ำเป็น 0.7 เท่าของกลุ่มควบคุม และการเสพซ้ำหลังสิ้นสุดการทดลองสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ระหว่างทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มทดลองมีโอกาสป้องกันการเสพซ้ำเป็น 0.67 เท่า และ 0.69 เท่าของกลุ่มควบคุม
สรุป : รูปแบบการผสมผสานการพยาบาลสามารถป้องกันการป่วยซ้ำและการเสพซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีนได้
References
World Health Organization. Schizophrenia [online]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/schizophrenia. [2022 Nov 1].
Hunt EG, Large MM, Cleary M, Lai HMX, Saunders BJ. Prevalence of comorbid substance use in schizophrenia spectrum disorders in community and clinical settings, 1990–2017: Systematic review and meta-analysis. Drug Alcohol Depend 2018; 191(0376-8716): 234-58.
สินเงิน สุขสมปอง, ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์, พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตครั้งแรก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2559; 61(4): 331-40.
Alvarez-Jimenez M, Priede A, Hetrick SE, Bendall S, Killackey E, Parker AG, et al. Risk factors for relapse following treatment for first-episode psychosis: a systematic review and meta-analysis of longitudinal studies. Schizophr Res 2012; 139(1-3): 116-28.
กรมสุขภาพจิต, ระบบศูนย์กลางการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชของประเทศไทย. รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวช ประจำปีงบประมาณ 2562-2564. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2565.
Murrie B, Lappin J, Large M, Sara G. Transition of substance-induced, brief, and atypical psychoses to schizophrenia: a systematic review and meta-analysis. Schizophr Bull 2020; 46(3): 505-16.
Drake RE, O'Neal EL, Wallach MA. A systematic review of psychosocial research on psychosocial interventions for people with co-occurring severe mental and substance use disorders. J Subst Abuse Treat 2008; 34(1): 123-38.
เอกอุมา อิ้มคำ. การบำบัดด้านจิตสังคมในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ใช้สารเสพติด : การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2556; 21(7): 697-710.
วัฒนาภรณ์ พิบูลอาลักษณ์, จินตนา ยูนิพันธุ์, วิภาวี เผ่ากันทรากร, วีรพล อุณหรัศมี. ผลของการจัดการรายกรณีโดยผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงต่อการป่วยซ้ำในผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและผดุงครรภ์ไทย 2561; 5(2): 5-18.
Chien W, Cheung E, Mui J, R. G, Ip G. Adherence therapy for schizophrenia: a randomised controlled trial. Hong Kong Med J 2019; 25(1): 1-6.
Liu Y, Yang X, Gillespie A, Guo Z, Ma Y, Chen R, et al. Targeting relapse prevention and positive symptom in first-episode schizophrenia using brief cognitive behavioral therapy: A pilot randomized controlled study. Psychiatry Res 2019; 272: 275-83.
Camacho-Gomez M, Castellvi P. Effectiveness of family intervention for preventing relapse in first-episode psychosis until 24 months of follow-up: a systematic review with meta-analysis of randomized controlled trials. Schizophr Bull 2020; 46(1): 98-109.
Abu Sabra AM, Hamdan-Mansour MA. The effectiveness of relapse prevention intervention on the ability of patients and their families to prevent psychotic symptoms of relapse among patients with schizophrenia: systematic literature review. Medico-Legal Update 2021; 21(3): 392-402.
Gumley IA, Bradstreet S, Ainsworth J, Allan S, Alvarez-Jimenez M, et al. The EMPOWER blended digital intervention for relapse prevention in schizophrenia: a feasibility cluster randomised controlled trial in Scotland and Australia. Lancet Psychiatry 2022; 9(6): 477-86.
Rodolico A, Bighelli I, Avanzato C, Concerto C, Cutrufelli P, Mineo L, et al. Family interventions for relapse prevention in schizophrenia: a systematic review and network meta-analysis. Lancet Psychiatry 2022; 9(3): 211-21.
กิตต์กวี โพธิ์โน, วรท ลำใย, ปราณี ฉันพจน์, สุพัตรา สุขาวห. ประสิทธิผลการบำบัด Co-occurring disorder (COD) Intervention ในผู้ป่วยโรคจิตจากเมทแอมเฟตามีน. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561; 63(2): 127-40.
โกศล วราอัศวปติ, กิตต์กวี โพธิ์โน, นพพร ตันติรังสี, ปราณี จันทะโม. ผลของการบำบัด Start Over and Survive (SOS) ต่อการลดการเสพซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทที่มีปัญหาการใช้สารเสพติดเมทแอมเฟตามีน. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2565; 30(2): 87-99.
Harada T, Mori R, Tsutomi H, Wilson B D. Cognitive-behavioural treatment for amphetamine-type stimulants (ATS)-use disorders. Cochrane Database Syst Rev 2018; 12(12): CD011315.
AshaRani P, Hombali A, Seow E, Ong Jw, Tan HJ, Subramaniam M. Non-pharmacological interventions for methamphetamine use disorder: a systematic review. Drug Alcohol Depend 2020; 212: 1-19.
Tran MTN, Luong HQ, Mihn LG, Dunne P. M, Baker P. Psychosocial interventions for Amphetamine Type stimulant use disorder: An overview of systematic reviews. Front Psychiatry 2021; 12: 512076.
Overall JE, Gorham DR. The Brief Psychiatric Rating Scale (BPRS): Recent developments in ascertainment and scaling. Psychopharmacol Bull 1988; 24(1): 97-9.
Nuechterlein KH, Dawson ME, Ventura J, Gitlin M, Subotnik KL, Snyder KS, et al. The vulnerability/ stress model of schizophrenia relapse: a longitudinal study. Acta Psychiatr Scand 1994; 89(382): 58-64.
Emsley R, Chiliza B, Asmal L, Harvey HB. The nature of relapse in Schizophrenia. BMC Psychiatry 2013; 13(50): 1-8.
Battjes RJ, Gordon MS, O'Grady KE, Kinlock TW, Carswell MA. Factors that predict adolescent motivation for substance abuse treatment. J Subst Abuse Treat 2003; 24(3): 221-32.
สุภาภรณ์ นิยวัฒน์ชาญชัย, ปัทมา ศิริเวช. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สุราหรือสารเสพติดในผู้ป่วยโรคจิตเภทร่วมสารเสพติด. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2562; 13(1): 11-20.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา