ผลของการใช้สื่อมัลติมีเดียให้ความรู้สุขภาพจิตเพื่อลดภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ชฎาภา ประเสริฐทรง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • พชรมณฐ์ กฤชปัญญาวโรช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ชลธิชา แก่นนาคำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

นักศึกษาพยาบาล, ภาวะหมดไฟ, สื่อมัลติมีเดีย, สุขภาพจิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : ศึกษาผลของการใช้สื่อมัลติมีเดียให้ความรู้สุขภาพจิต เพื่อลดภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาพยาบาล

วัสดุและวิธีการ : การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง กลุ่มทดลองเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวนทั้งสิ้น 32 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า เครื่องมือเป็นแบบสอบถามออนไลน์ภาวะหมดไฟในการเรียน และสื่อมัลติมีเดียให้ความรู้สุขภาพจิตเรื่อง How to break burn out  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเปรียบเทียบด้วย paired t-test

ผล : กลุ่มทดลองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 96.9 อายุ 20 ปี ร้อยละ 56.3 อายุเฉลี่ย 20.50 ปี เกรดเฉลี่ยสะสม 2.50 - 3.00 ร้อยละ 75.0 ความต้องเข้าเรียนคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นความต้องการของตนเอง ร้อยละ 75.0 นอนหลับไม่เพียงพอ ร้อยละ 93.8 ภายหลังการใช้สื่อเรื่อง How to break burn out  นักศึกษามีภาวะหมดไฟในการเรียนต่ำลง    (ก่อน37.3 ± 4.26, หลัง11.1 ± 5.42) เมื่อเปรียบเทียบรายด้าน ความอ่อนล้าทางอารมณ์  (ก่อน18.3 ± 2.16, หลัง7.4 ± 3.33) การลดความเป็นบุคคล (ก่อน7.4 ± 1.21, หลัง1.4 ± 1.21)  การลดความสำเร็จส่วนบุคคล (ก่อน11.6 ± 1.81, หลัง2.31 ± 1.59) มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)

สรุป : สื่อมัลติมีเดียให้ความรู้สุขภาพจิตเรื่อง How to break burn out  ช่วยให้นักศึกษาพยาบาลสามารถจัดการกับภาวะหมดไฟในการเรียนของตนเองให้ลดลงได้

References

รุจิรา ตวงเพิ่มทรัพย์, วินิทรา นวลละออง, ธรรมนาถ เจริญบุญ. ภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของแพทย์ประจำบ้านโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2564; 66(2): 189-202.

ชัยพร พงษ์พิสันต์รัตน์. ความเหนื่อยหน่ายในการเรียน: สภาวะการณ์ที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2564; 15(1): 7-14.

ศรีสกุล เฉียบแหลม, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ภาวะหมดไฟในการทำงาน. วารสารแพทยสารทหารอากาศ 2562; 65(2): 44-52.

World Health Organization. ICD-11 for Mortality and Morbidity Statistics (Version :04/2019) [online]. Available from: https://icd.who.int/browse11/lm/en#/http://id.who. int/icd/entity/129180281. [2019 Jun 28].

Mahfouz MS, Ali SA, Alqahtani HA, Kubaisi AA, Ashiri NM., Daghriri EH, et al. Burnout and its associated factors among medical students of Jazan University, Jazan, SaudiArabia (Research report). Saudi Arabia: Emerald Publishing Limited; 2020.

มนัสพงษ์ มาลา. ภาวะเมื่อยล้าหมดไฟในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตสุขภาพที่ 4. นนทบุรี: ส่วนราชการศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่ 4; 2563.

กอเกษ ต่ายเกิด, ครองขวัญ รั้วมั่น, นิรุชา ปรีชาเลิศศิลป์, วินิทรา นวลละออง, ปนัดดา โรจน์พิบูลสถิต. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะหมดไฟ (Burnout syndrome) ในนักศึกษาแพทย์ระดับชั้นพรีคลินิก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2562; 19(Supplement): 127-38.

ธารารัตน์ พรมสาร, ฐิติภรณ์ อรุณถิน, เบญจมาส มั่นอยู่. ภาวะหมดไฟทางการเรียนของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยนเรศวร. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ 2564; 5(3): 1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-16

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ