ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดปัญหาสุขภาพจิตภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยที่รับบริการ home isolation สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
การดูแลรักษาในที่พัก, ปัญหาสุขภาพจิต, อาการหลังการติดเชื้อโควิด-19บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดปัญหาสุขภาพจิตภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยที่รับบริการ Home isolation สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
วัสดุและวิธีการ : การวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโควิด-19 เข้ารับการรักษาในรูปแบบ home isolation ของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 95 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บข้อมูลด้วยการรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มประวัติและฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ป่วยประเมินตนเองด้วยแบบประเมินปัญหาสุขภาพจิตผ่านระบบ google form ภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 ในระยะเวลา 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบประเมินความเครียด แบบประเมินความวิตกกังวล แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า 9 คำถาม และแบบประเมินความรุนแรงของอาการนอนไม่หลับฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผล : ความชุกของการปัญหาสุขภาพจิตหลังติดเชื้อโควิด-19 พบความเครียดร้อยละ 46.3 ภาวะวิตกกังวลร้อยละ 10.3 ภาวะซึมเศร้าร้อยละ 10.5 และนอนไม่หลับร้อยละ 35.8 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดปัญหาสุขภาพจิตหลังติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ การว่างงานมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเครียดและภาวะวิตกกังวล และอายุมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะนอนไม่หลับ
สรุป : ปัญหาสุขภาพจิตในผู้ป่วยหลังการติดเชื้อโควิด-19 พบได้ค่อนข้างสูง ควรมีการประเมินและให้การดูแลรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคทางจิตเวช โดยเฉพาะในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ตอนปลายที่ไม่ได้ประกอบอาชีพซึ่งเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้สูง
References
ธงชัย ฉัตรยิ่งมงคล. ภาวะลองโควิด อาการเรื้อรังที่ตามมาของคนที่ติดเชื้อโควิด-19. [online]. Available from: https://www.sikarin.com/health/covid19/long-covid. [15 ตุลาคม 2565].
World Health Organization. A clinical case definition of post COVID-19 condition by a Delphi consensus. [online]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-Post_COVID-1_condition-Clinical_ case_definition-2021.1. [2022 Oct 20].
National Institute for Health and Care Excellence. COVID-19 rapid guideline: managing the long-term effects of COVID-19. Royal College of General Practitioners, Healthcare Improvement Scotland SIGN; 2020.
กรมการแพทย์. การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หลังรักษาหาย (Post COVID syndrome) ภาวะ Long COVID สำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์. [online]. Available from: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding _page?contentId=157. [20 ตุลาคม 2565].
สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล. โควิด-19 กับสุขภาพจิต รัฐบาลต้องใส่ใจ. [ออนไลน์]. Available from: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/879191. [12 ตุลาคม 2565].
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ และ แพรว ไตลังคะ. มุมมองด้านสุขภาพจิตและจิตสังคมของการระบาด COVID – 19. [ออนไลน์]. Available from: https://www.thaidmhelibrary. org/content/7191/มุมมองด้านสุขภาพจิตและจิตสังคมของการระบาด-covid-19addressing-mental-health-and-psychosocial-aspects-of-covid-19-outbreak. [15 ตุลาคม 2565].
พรทิพย์ ศรีโสภิต. ผลกระทบจากลองโควิด (Long Covid) ต่อจิตใจ. [online]. Available from: https://www.praram9.com/long-covid-depression/. [15 พฤศจิกายน 2565].
กรมการแพทย์. การจัดบริการ home isolation. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. [online]. Available from: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=159. [20 ตุลาคม 2565].
อรวรรณ ศิลปะกิจ. แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2551; 16(3); 177-85.
Spitzer RL, Kroenke K, Williams JBW, Lowe B. A brief measure for assessing generalized anxiety disorder. Archiv Inter Med 2006; 166(10): 1092-7.
กรมสุขภาพจิต. แนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด ฉบับที่ 3/2557. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2557.
Morin CN. Insomnia: psychological assessment and management. New York: Guiford press; 1993.
พัทรีญา แก้วแพง. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับอาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยมะเร็งวัยผู้ใหญ่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
กรมสุขภาพจิต. คู่มือ COVID-19. [online]. Available from: http://mhso.dmh.go.th/page/submenu.php?submenu_id=16 [21 ตุลาคม 2565].
สุดฤทัย รัตนโอภาส, เพ็ญพิศ จีระภา. ผลของการดูแลจิตใจในผู้ป่วยโรคโควิด-19 หลังรักษาหาย โรงพยาบาลปากน้ำชุมพร. ศรีนครินทร์เวชสาร 2565; 37(6): 645-53.
Mazza MG, De Lorenzo R, Conte C, Poletti S, Vai B, Bollettini I, et al. Anxiety and depression in COVID-19 survivors: role of inflammatory and clinical predictors. Brain Behav Immun 2020; 89: 594-600.
มณฑิรา ชาญณรงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการหลงเหลือภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2565; 28(1): 1-16.
Hossain MA, Hossain KM, Saunders K, Uddin Z, Walton LM, Raigangar V, et al. Prevalence of long covid symptoms in Bangadesh: A prospective inception cohort study of covid-19 survivors. BMJ Global Health 2021; 6(12): e006838.
สันติ เหล่านิพนธ์. ผลการพัฒนาเครือข่ายการดูแลจิตใจผู้ป่วยหลังการติดเชื้อโควิด-19 ภายใต้กลไกความร่วมมือของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2565; 12(2): 250-67.
เกื้อเกียรติ ประดิษฐพรศิลป์. ตำราเวชศาสตร์ผู้สูงวัย. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย; 2561.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา