การศึกษาผลของการบำบัดแบบ Stabilization technique and EMDR (Eye Movement Desensitization and Reprocessing) ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าและมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเองที่ไม่ใช่เพื่อการฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์

ผู้แต่ง

  • สายสุดา สุพรรณทอง โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์
  • โฆษิต มหรรฆสุวรรณ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์
  • นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล โรงพยาบาลศรีนครินทร์
  • พยงค์ศรี ขันธิกุล มีรักคลินิก

คำสำคัญ:

พฤติกรรมทำร้ายตัวเองที่ไม่ใช่เพื่อการฆ่าตัวตาย, ภาวะซึมเศร้า, Eye Movement Desensitization and Reprocessing, stabilization technique

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการทำจิตบำบัด แบบ Stabilization technique and EMDR (Eye Movement Desensitization and Reprocessing) ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าและมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเองที่ไม่ใช่เพื่อการฆ่าตัวตาย ในโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์

วัสดุและวิธีการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเดียวประเมินก่อนและหลังการทำจิตบำบัดแบบ Stabilization technique and EMDR ในผู้ป่วยที่มีโรคทางจิตเวชและมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเองโดยไม่ใช่เพื่อการฆ่าตัวตายที่โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ระหว่างเดือนกันยายน 2564 ถึง ตุลาคม 2565 โดยใช้แบบเก็บข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า (PHQ-9) โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired T-Test และ Wilcoxon Signed Ranks Test

ผล : ในงานวิจัยพบว่า อาสาสมัครเป็นผู้หญิงทั้ง 14 ราย ออกจากการทดลอง 4 ราย เนื่องจาก 3 ราย กลับไปรักษาใกล้บ้าน อีก 1 รายมี psychotic symptoms อาสาสมัครทั้ง 10 ราย หลังจากทำ stabilization technique พบว่าคะแนนซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ที่สัปดาห์ที่ 0 - 1 (p-values < 0.001) หลังจากทำ EMDR พบว่าคะแนนซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากเดิมเทียบจากหลังจากทำ stabilization technique ในสัปดาห์ที่ 2 (p-values = 0.007) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนซึมเศร้าและการทำร้ายตัวเองก่อนและหลังการทำจิตบำบัดแบบ Stabilization technique และ EMDR 1 เดือนหลังจากออกจากโรงพยาบาล พบว่า สามารถลดคะแนนซึมเศร้าและการทำร้ายตัวเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-values = 0.001 และ 0.004)

สรุป : การทำจิตบำบัดแบบ stabilization technique และ EMDR สามารถลดภาวะซึมเศร้า และลดการทำร้ายตัวเองซ้ำได้

References

Zavaschi MLS, Graeff ME, Menegassi MT, Mardini V, Pires DWS, de Carvalho RH, et al. Adult mood disorders and childhood psychological trauma. Braz J Psychiatry 2006; 28(3): 184-90.

Belik SL, Stein MB, Asmundson GJG, Sareen J. Relation between traumatic events and suicide attempts in Canadian military personnel. Can J Psychiatry 2009; 54(2): 93-104.

Sorsdahl K, Stein DJ, Williams DR, Nock MK. Associations between traumatic events and suicidal behavior in South Africa. J Nerv Ment Dis 2011; 199(12): 928-33.

Mosquera D, Ross CA, Application of EMDR therapy to self-harming behaviors, J EMDR Pract Res 2016; 10(2): 119-28.

Piyavhatkul N, Paholpak S, Boonpromma W, Effectiveness of trauma therapy and EMDR in patients with psychiatric illness in northeastern Thailand. Int J Med Sci Public Health 2018, 7(12): 7-17.

ศจีมาจ ณ วิเชียร. การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.priv.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=1217 [1 มีนาคม 2565].

Fereidouni Z, Behnammoghadam M, Jahanfar A, Dehghan A. The effect of Eye Movement Desensitization and Reprocessing (EMDR) on the severity of suicidal thoughts in patients with major depressive disorder: a randomized controlled trial. Neuropsychiatr Dis Treat 2019; 15: 2459-66.

McLaughlin DF, McGowan IW, Paterson MC, Miller PW. Cessation of deliberate self-harm following eye movement desensitization and reprocessing: a case report. Cases J 2008; 1(1): 177.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-20

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ