เปรียบเทียบผลของการบำบัดทางความคิดกับสุขภาพจิตศึกษาที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาครู

ผู้แต่ง

  • กาญจนา สุทธิเนียม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ชลพร กองคำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • อุบล สุทธิเนียม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

คำสำคัญ:

การบำบัดทางความคิด, นักศึกษาครู, สุขภาพจิตศึกษา, ภาวะซึมเศร้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลของการบำบัดทางความคิดกับสุขภาพจิตศึกษาที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาครูโดย 1) เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาครูที่ได้รับสุขภาพจิตศึกษาก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล 2) เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาครูที่ได้รับการบำบัดทางความคิดก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล และ 3) เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาครูที่ได้รับการบำบัดทางความคิดกับภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาครูที่ได้รับสุขภาพจิตศึกษาก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล

วัสดุและวิธีการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักศึกษาครูที่มีภาวะซึมเศร้า จำนวน 16 คน จากนั้นสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่ม 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการบำบัดทางความคิด จำนวน 8 คน และที่ได้รับสุขภาพจิตศึกษา จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (CES-D) มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.78 และ 2) การบำบัดทางความคิด จำนวน 6 ครั้ง และติดตามผล 2 สัปดาห์ และ 3) สุขภาพจิตศึกษาจำนวน 6 ครั้ง และติดตามผล 2 สัปดาห์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (item objective congruence: IOC) อยู่ระหว่าง 0.66 - 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณาเปรียบเทียบ

ผล : หลังสิ้นสุดการทดลองพบว่า 1)  ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาครูกลุ่มที่ได้รับสุขภาพจิตศึกษา หลังการทดลองและหลังการติดตามผลต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 2) ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาครูกลุ่มที่ได้รับการบำบัดทางความคิด หลังการทดลองและหลังการติดตามผลต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 3) ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาครูกลุ่มที่ได้รับการบำบัดทางความคิดและกลุ่มที่ได้รับสุขภาพจิตศึกษาไม่แตกต่างกัน (F = 3.229) เมื่อพิจารณาในช่วงเวลาของการวัดพบว่า ก่อนการทดลองกับหลังการทดลองการบำบัดทางความคิดและกลุ่มที่ได้รับสุขภาพจิตศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และหลังการทดลองกับหลังการติดตามผลการบำบัดทางความคิดและกลุ่มที่ได้รับสุขภาพจิตศึกษาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป : การบำบัดทางความคิดและสุขภาพจิตศึกษาสามารถลดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นได้

References

Ibrahim A, Kelly S, Adams C, Glazebrook C. A Systematic review of studies of depression prevalence in university students. J Psychiatr Res 2012; 47(3): 391-400.

Santrock JW. Child development. 14th ed. New York: McGraw-Hill education; 2014.

Ceyhan E, Ceyhan AA, Kurty Y. Depression among Turkish female and male university students. Soc Behav Pers 2005; 33(4): 329-40.

Bantjes JR, Kagee A, McGowan T, Steel H. Symptoms of posttraumatic stress, depression, and anxiety as predictors of suicidal ideation among South African university students. J Am Coll Health 2016; 64(6): 429-37.

กาญจนา สุทธิเนียม, ชลพร กองคำ, ชูวิทย์ รัตนพลแสนย์, อุบล สุทธิเนียม. โมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในระดับ อุดมศึกษา. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2565; 16(1): 1-20.

Asante KO, Arthur JA. Prevalence and determinants of depressive symptoms among university students in Ghana. J Affect Disord 2015; 171: 161-6.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. รายงานประจำปี 2553. [online]. Available from: https://www. thaihealth.or.th/Books/350E0.html [2021 Jan 10].

Spirito A, Esposito-Smythers C, Wolff J, Uhl K. Cognitive- behavioral therapy for adolescent depression and suicidality. Child Adolesc Psychiatr Clin N Am 2011; 20(2): 191-204.

Walser RD, Garvert DW, Karlin BE, Trockei M, Ryu DM, Taylor CB. Effectiveness of acceptance and commitment therapy in treating depression and suicidal ideation in Veterans. Behav Res Ther 2015; 74: 25-31.

Idsoe T, Keles S, Olseth AR, Ogden T. Cognitive behavioral treatment for depressed adolescents: results from a cluster randomized controlled trial of a group course. BMC Psychiatry 2019; 19(1): 155.

Cuijpers P, Straten, AV, Smit F, Mihalopoulos C. Preventing the onset of depressive disorders: A meta-analytic review of psychological interventions. Am J Psychiatry 2008; 165(10): 1272-80.

เกสร มุ้ยจีน. ผลของโปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษาต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2560; 37(3): 48-60.

ณิชาภัทร มณีพันธ์, สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาแบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2559; 30(3): 80-91.

Corey G. Theory and practice of group counseling. 8th ed. California: Brooks/Cole; 2012.

Buwalda B, Kole MHP, Veenema AH, Huininga M, De Boer SF, Korte SM, Koolhaas JM. Long-term effects of social stress on brain and behavior: A focus on hippocampal functioning. Neurosci Biobehav Rev 2006; 29(1): 83-97.

Radloff LS. The CES-D Scale: A Self-report depression scale for research in the general population. Appl Psychol Meas 1977; 1(3): 385-401.

Anderson CM, Hogarty GE, Reiss DJ. Family treatment of adult schizophrenic patients: A psycho-educational approach. Schizophr Bull 1980; 6(3): 490-505.

Beck JS. Cognitive behavior therapy: Basics and beyond. New York: Guilford; 2011.

พงษ์ศักดิ์ อุบลวรรณี. ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่ออาการซึมเศร้าในผู้สูงวัย [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

Stallard P. Cognitive behaviour therapy with children and young people: A selective review of key issues. Behav Cogn Psychother 2002; 30(3): 297-309.

Shallcross AJ, Troy AS, Boland M, Mauss IB. Let it be: Accepting negative emotional experiences predicts decreased negative affect and depressive symptoms. Behav Res Ther 2010; 48(9): 921-9.

Troy AS, Shallcross AJ, Brunner A, Friedman R, Jones MC. Cognitive reappraisal and acceptance: Effects on emotion, physiology, and perceived cognitive costs. Emotion 2018; 18(1): 58-74.

Stangier U, Hilling C, Heidenreich T, Risch AK, Barocka A, Schlösser R, Kronfeld K, et al. Maintenance cognitive- behavioral therapy and manualized psychoeducation in the treatment of recurrent depression: A multicenter prospective randomized controlled trial. Am J Psychiatry 2013; 170(6): 624-32.

Steele LA, Waite S, Egan SJ, Finnigan J, Handley A, Wade TD. Psycho-education and group cognitive-behavioural therapy for clinical perfectionism: A case-series evaluation. Behav Cogn Psychother 2013; 41(2): 129-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-20

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ