ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานของพยาบาลจิตเวชในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • เอกพล สุดาชม สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์
  • ปิยธิดา สุนิรันดร์ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์
  • นภัสเกตน์ ธีระวัฒนานนท์ โรงพยาบาลศรีธัญญา

คำสำคัญ:

พยาบาลจิตเวช, ภาวะหมดไฟในการทำงาน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานของพยาบาลจิตเวชในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

วัสดุและวิธีการ : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลจิตเวช ปฏิบัติงานที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ จำนวน 92 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามความเครียด ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคม และภาวะหมดไฟในการทำงาน ค่าความเชื่อมั่นของสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.82, 0.75, 0.94 และ 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และสถิติของฟิสเชอร์

ผล : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ระดับต่ำ (ร้อยละ 43.5) การลดความเป็นบุคคลระดับต่ำ (ร้อยละ 63.0) และความสำเร็จของบุคคลระดับสูง (ร้อยละ 94.6) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรสตำแหน่งงาน ระยะเวลาปฏิบัติงาน ชั่วโมงการทำงาน ความเครียด และความวิตกกังวล (p-value < 0.05) การลดความเป็นบุคคล ได้แก่ ชั่วโมงการทำงาน ความเครียดและความวิตกกังวล  (p-value < 0.05) และความสำเร็จของบุคคล ได้แก่ ความเครียดและการสนับสนุนทางสังคม (p-value < 0.05)

สรุป : ผู้บริหารกลุ่มภารกิจการพยาบาล สามารถนำผลการศึกษานี้ไปใช้วางแผนการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและภาวะหมดไฟในการทำงาน โดยการปรับภาระงาน เสริมสร้างแรงจูงใจและการมีส่วนร่วมในงาน การสนับสนุนทางสังคม และจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต

References

Li Q, Guan X, Wu P, Wang X, Zhou L, Tong Y, et al. Early Transmission Dynamics in Wuhan, China, of Novel Coronavirus-Infected Pneumonia. N Engl J Med 2020; 382: 1199-207.

Zhang WR, Wang K, Yin L, Zhao WF, Xue Q, Peng M, et al. Mental Health and Psychosocial Problems of Medical Health Workers during the COVID-19 Epidemic in China. Psychother Psychosom 2020; 89(4): 242-50.

Kapetanos K, Mazeri S, Constantinou D, Vavlitou A, Karaiskakis M, Kourouzidou D, et al. Exploring the factors associated with the mental health of frontline healthcare workers during the COVID-19 pandemic in Cyprus. PLoS One 2021; 16(10): e0258475.

Kameg BN, Fradkin D, Lee H, Mitchell A. Mental wellness among psychiatric-mental health nurses during the COVID-19 pandemic. Arch Psychiatr Nurs 2021; 35(4): 401-6.

Hu D, Kong Y, Li W, Han Q, Zhang X, Zhu L, et al. Frontline nurses' burnout, anxiety, depression, and fear statuses and their associated factors during the COVID-19 outbreak in Wuhan, China: A large-scale cross-sectional study. EClinicalMedicine 2020; 24: 100424.

Maslach C, Schaufeli WB, Leiter MP. Job burnout. Annu Rev Psychol 2001; 52: 397-422.

World Health Organization. International statistical classification of diseases and related health problems (11th ed.) [Online]. Available from: https://icd.who.int/ [2021 Oct 29].

ปิยะวดี สุมาลัย. ภาวะหมดไฟในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ สถาบันบำราศนราดูร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564; 4(2): 66-78.

พริษฐ์ โพธิ์งาม, นันทพร ภัทรพุทธ, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์. ภาวะสุขภาพจิตและภาวะหมดไฟในการทำงานในระหว่างการระบาดของโรคโควิด-19 ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาลทหารบก 2565; 23(2): 364-71.

กชามาส วิชัยดิษฐ, อารยา ประเสริฐชัย, ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์. ภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดชุมพร. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2565; 30(3): 211-21.

วรวรรณ จุฑา, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, กมลลักษณ์ มากคล้าย, นพพร ตันติรังสี. ภาวะหมดไฟและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรสาธารณสุขจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2565; 30(2): 170-60.

ทิพรัตน์ บำรุงพนิชถาวร, วัลลภ ใจดี, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, นิภา มหารัชพงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2565; 17(1): 101-10.

กิตติยา รุ่งเลิศสิทธิกุล. ภาวะหมดไฟและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในบุคลากรโรงพยาบาลสมุทรปราการช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2565; 67(3): 240-55.

Galanis P, Vraka I, Fragkou D, Bilali A, Kaitelidou D. Nurses' burnout and associated risk factors during the COVID-19 pandemic: A systematic review and meta-analysis. J Adv Nurs 2021; 77(8): 3286-302.

Sagherian K, Steege LM, Cobb SJ, Cho H. Insomnia, fatigue and psychosocial well-being during COVID-19 pandemic: A cross-sectional survey of hospital nursing staff in the United States. J Clin Nurs 2020; 32(15-16): 5382-95.

Manzano García G, Ayala Calvo JC. The threat of COVID-19 and its influence on nursing staff burnout. J Adv Nurs 2021; 77(2): 832-44.

Gao Z, Tan FPL. Nurses' experiences in response to COVID-19 in a psychiatric ward in Singapore. Int Nurs Rev 2021; 68(2): 196-201.

Puangsri P, Jinanarong V, Wattanapisit A. Impacts on and Care of Psychiatric Patients during the Outbreak of COVID-19. Clin Pract Epidemiol Ment Health 2021; 17: 52-60.

Johnson J, Hall LH, Berzins K, Baker J, Melling K, Thompson C. Mental healthcare staff well-being and burnout: A narrative review of trends, causes, implications, and recommendations for future interventions. Int J Ment Health Nurs 2018; 27(1): 20-32.

Li L. Challenges and Priorities in Responding to COVID-19 in Inpatient Psychiatry. Psychiatr Serv 2020; 71(6): 624-6.

Zhang L, Li M, Yang Y, Xia L, Min K, Liu T, et al. Gender differences in the experience of burnout and its correlates among Chinese psychiatric nurses during the COVID-19 pandemic: A large-sample nationwide survey. Int J Ment Health Nurs 2022; 31(6): 1480-91.

López-López IM, Gómez-Urquiza JL, Cañadas GR, De la Fuente EI, Albendín-García L, Cañadas-De la Fuente GA. Prevalence of burnout in mental health nurses and related factors: a systematic review and meta-analysis. Int J Ment Health Nurs 2019; 28(5): 1032-41.

ธวัชชัย วงพงศธร, สุรียพร วงพงศธร. การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*power. วารสารกรมอนามัย 2561; 41: 11-21.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. คู่มือการดูแลสังคมจิตใจบุคลากรสุขภาพในภาวะวิกฤติโควิด-19. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

ประภาศรี ทุ่งมีผล. การสนับสนุนทางสังคม ความพร้อมในการดูแลและความเครียดของมารดาเด็กออทิสติก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

เติมศรี ชำนิจารกิจ. สถิติประยุกต์ทางการแพทย์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.

นันทาวดี วรวสุวัส. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางใจเพื่อป้องกันภาวะหมดไฟในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 7. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13(2): 603-613.

ดุษฏี อุดมอิทธิพงศ์, กฤตนัย แก้วยศ, เกยูรมาศ อยู่ถิ่น. ความเหนื่อยล้าในการทำงานของพยาบาล. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2557; 8(2): 40-53.

คัคนานต์ วะรงค์, ธีระวุธ ธรรมกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและภาวะหมดไฟในการทำงานช่วงวิกฤติโควิด-19 ของผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2565; 20(1): 77-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-12

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ