การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าของนิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวรในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณัฐริณีย์ เทพา ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธัญชนก สุขพันธ์ ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • รยา นวรัตนากร ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สุทัตตา ศักดิ์สิทธิ์ ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณัฐธิดา วงศ์เจริญ ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • โสฬส อัครตันเสถียร ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • แสงดาว วัฒนาสกุลเกียรติ ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • จิราภร แสนทวีสุข ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล, นิสิต, ภาวะซึมเศร้า, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า เปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลกับความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

วัสดุและวิธีการ : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้กระบวนการเก็บข้อมูลโดยใช้การตอบแบบสอบถามออนไลน์ ในนิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ (STAI Form Y-1) และ แบบประเมินภาวะซึมเศร้า (PHQ-9) สถิติที่ใช้ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม โดยเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลกับความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์

ผล : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 414 คน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.7 และเพศชาย ร้อยละ 28.3 ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 30.2 และมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 4,000 บาท ร้อยละ 44.7 พบค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลโดยรวม (ค่าเฉลี่ย = 56.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 9.7) ค่าเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าโดยรวมอยู่ในระดับมีอาการซึมเศร้าเล็กน้อย (ค่าเฉลี่ย = 8.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 5.8) ข้อมูลส่วนบุคคลด้านชั้นปีที่แตกต่างกันส่งผลต่อความวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญที่ และความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

สรุป : ในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในระดับเล็กน้อย โดยชั้นปีที่แตกต่างกันส่งผลต่อความวิตกกังวลและยังพบพบความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง

References

สุนิภา ชินวุฒิ. พัฒนาการด้านอารมณ์เด็กวัยก่อนเรียน [online]. Available from: http://164.115.41.60/excellencecenter/?p=239 [2022 Feb 1].

ดุษณี ชาญปรีชา, สุกุมา แสงเดือนฉาย, นันทา ชัยพิชิตพันธ์, สำเนา นิลบรรพ์, ญาดา จีนประชา, ธัญญา สิงห์โต. คู่มือการบำบัดความคิดและพฤติกรรมในผู้ป่วยเมทแอมเฟตามีนที่มีภาวะซึมเศร้า. กรุงเทพฯ: สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี.

วีรวุฒิ เอกกมลกุล. ความคิดเชิงบวกและความคิดเชิงลบ [online]. Available from: https://www.vibhavadi.com/Health-expert/detail/411 [2022 Feb 1].

ตฏิลา จำปาวัลย์. ความวิตกกังวลตามสถานการณ์. วารสารพุทธจิตวิทยา 2561; 3(1): 14-20.

มหาวิทยาลัยนเรศวร. ประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร [online]. Available from: https://www.facebook.com/nu.university/photos/4461902300486419 [2022 Feb 1].

พัชราวรรณ แก้วกันทะ, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ. ความชุกของภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร 2558; 42(4): 48-64.

Spielberger CD. Manual for the State-Trait-Anxiety Inventory: STAI (form Y). Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press; 1983.

Lotrakul M, Sumrithe S, Saipanish R. Reliability and validity of the Thai version of the PHQ-9. BMC 2008; 8: 46.

สุภารัตน์ ไผทเครือวัลย์, ธิดาทิพย์ ปานโรจน์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล และการจัดการความวิตกกังวลในช่วงวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 กรณีศึกษานักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง; 2564.

ไพรัช วงศรีตระกูล. ความเครียดและความวิตกกังวลของนักศึกษามหาวิทยาลัยธนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี 2554; 5(9): 23-32.

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สำนักงานพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี [online]. Available from: https://www.ubu.ac.th/web/files_up/00037f2020060915182553.pdf [2022 Feb 1].

ศรีประภา ชัยสินธพ. สภาพจิตใจของเด็ก [online]. Available from: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/ generaldoctor/06052014-1058 [2022 Feb 1].

นฤนันท์ วุฒิสินธุ์, กาญจนา ก๋าคำ, ลลิตภัทร สุขเสือ. ความวิตกกังวลและความซึมเศร้าระหว่างสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในประชากรไทย และเทคนิคการผ่อนคลาย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2554; 9(3): 422-32.

ลัดดา อินไหม, ชัยณรงค์ มากเพ็ง, นันทวุฒิ วงศ์เมฆ, นวรัตน์ เมามีจันทร์, ซอลาฮ เด็งมาซา. ความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของความเครียด ความกังวล และภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): กรณีศึกษาโรงเรียนรัษฎา จังหวัดตรัง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ 2565; 15(2): 48-59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-12

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ