ผลของหลักสูตรเสริมสร้างพลังใจอึด ฮึด สู้ ต่อพลังใจของผู้ได้รับผลกระทบในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างพลังใจ, พลังใจอึด ฮึด สู้, ไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาข้อมูลทุติยภูมิการติดตามผลของหลักสูตรเสริมสร้างพลังใจอึด ฮึด สู้ และประเมินระดับพลังใจก่อนเข้าอบรม หลังอบรม และติดตาม 1 เดือน ของผู้ได้รับผลกระทบในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิแบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจำนวน 390 คน ในระหว่างเดือนเมษายน ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบคะแนนพลังใจด้วยสถิติที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสรุปอุปนัย
ผล : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 79.0 มีอายุอยู่ระหว่าง 35 - 60 ปี ร้อยละ 65.64 พบว่ามีพลังใจก่อนอบรมระดับปานกลางร้อยละ 59.5 หลังการอบรมมีพลังใจระดับมากร้อยละ 78.5 และเมื่อติดตาม 1 เดือน มีระดับพลังใจระดับมากร้อยละ 51.0 และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพลังใจ พบว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนอบรม หลังอบรม และเมื่อติดตาม 1 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อมูลเชิงคุณภาพความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรพบว่าผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับมาก เนื้อหาหลักสูตรสามารถเสริมสร้างความเข็มแข็งทางใจให้กับผู้เข้าอบรมนำไปใช้ในการดูแลใจตนเองและปรับมุมมองใหม่ในการดำเนินชีวิตในช่วงสถานการณ์วิกฤตได้ดีขึ้น
สรุป : หลักสูตรเสริมสร้างพลังใจอึด ฮึด สู้ สามารถเสริมสร้างพลังใจให้กับผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ควรมีการขยายผลนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายอื่น และใช้ในสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
References
กระทรวงมหาดไทย. ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.moicovid.com [20 ตุลาคม 2564].
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.ภาวะการว่างงานในไตรมาสแรกปี 2564. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.matichon.co.th/economy/news_ 2739344 [24 พฤษภาคม 2564].
Witteveen D, Velthorst E. Economic hardship and mental health complaints during COVID-19. Biol Sci 2020; 117 (44): 27277-84.
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2563; 28(4): 280-91.
Rajkumar RP. COVID-19 and mental health: A review of the existing literature. Asian J Psychiatr 2020; 52: 102066.
โสฬวรรณ อินทสิทธิ์, สิริกุล จุลคีรี. เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต RQ: Resilience Quotient. นนทบุรี: สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต; 2563.
Kemper KJ, Mo X, Khayat R. Are mindfulness and self-compassion associated with sleep and resilience in health professionals?. J Altern Complement Med 2015; 21(8): 496-503.
Killgore WDS, Taylor EC, Cloonan SA, Dailey NS. Psychological resilience during the COVID-19 lockdown Psychiatry Res 2020; 291: 113216.
ภัคนพิน กิตติรักษนนท์, ศรัณยพิชญ อักษร, ธิดารัตน์ ทิพโชติ. การพัฒนาและนาเทคโนโลยีสุขภาพจิตการเสริมสร้างพลังใจไปใช้ในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบทางจิตใจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย 2564; 52(2): 33-48.
สยาภรณ์ เดชดี, วัฒนะ พรหมเพชร, นพพร ตันติรังสี. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตที่มีอ ต่อระดับพลังสุขภาพจิตและภาวะซึมเศร้าของสตรีผู้สูญเสียสามีจากสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2561; 26(2): 103-16.
Chan ACY, Piehler TF, Ho GWK. Resilience and mental health during the COVID-19 pandemic: Findings from Minnesota and Hong Kong. J Affect Disord 2021; 295: 771-80.
Kimhi S, Marciano H, Eshel Y, Adini B. Resilience and demographic characteristics predicting distress during the COVID-19 crisis. Soc Sci Med 2020; 265: 113389.
DeTore NR, Sylvia L, Park ER, Burke A, Levison JH, Shannon A, et al. Promoting resilience in healthcare workers during the COVID-19 pandemic with a brief online intervention. J Psychiatr Res 2022; 146: 228-33.
Panzeri A, Bertamini M, Butter S, Levita L, Gibson-Miller J, Vidotto G, et al. Factors impacting resilience as a result of exposure to COVID-19: The ecological resilience model. PLoS ONE 2021; 16(8): e0256041.
Blake H, Somerset S, Evans C. Development and fidelity testing of the Test@Work digital toolkit for employers on workplace health checks and Opt-In HIV testing. Int J Environ Res Public Health 2020; 17(1): 379.
Ran L, Wang W, Ai M, Kong Y, Chen J, Kuang L. Psychological resilience, depression, anxiety, and somatization symptoms in response to COVID-19: A study of the general population in China at the peak of its epidemic. Soc Sci Med 2020; 262: 113261.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา