การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความวิตกกังวลและระดับอาการซึมเศร้าในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

ผู้แต่ง

  • ฉัตรดนัย อุประวรรณา วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อำพล บุญเพียร วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ศิโรรัตน์ ทองรอด วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปราณี ลิ้มกุล วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล, ซึมเศร้า, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความวิตกกังวล และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับอาการซึมเศร้าในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

วัสดุและวิธีการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จำนวน 107 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามออนไลน์ ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ 1) ข้อมูลทั่วไปจำนวน 4 ข้อ 2) ความวิตกกังวลความวิตกกังวล จำนวน 9  ข้อ และ 3) อาการของโรคซึมเศร้า จำนวน 9 ข้อ เครื่องมือได้รับการตรวจสอบคุณภาพโดยการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และและตรวจสอบความเชื่อมั่นได้ค่าความเชื่อมั่น 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความวิตกกังวลและระดับอาการซึมเศร้าด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผล : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 87.9) อยู่ในหลักสูตรเวชระเบียน (ร้อยละ 40.2) รายได้เฉลี่ยของครอบครัวอยู่ที่ 15,001 - 20,000 บาท (ร้อยละ 29.0) และใช้จ่ายต่อเดือน 6,001 บาท ขึ้นไป (ร้อยละ 32.7)  ภาพรวมมีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.3 ± 0.70 นักศึกษาไม่มีอาการของโรคซึมเศร้า จำนวน 68 คน (ร้อยละ 63.6) มีอาการของโรคซึมเศร้าในระดับน้อย จำนวน 27 คน (ร้อยละ 25.2) มีความซึมเศร้าปานกลาง 10 คน (ร้อยละ 9.3) และความซึมเศร้ารุนแรง 2 คน (ร้อยละ 1.9) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความวิตกกังวลคือ รายได้ครอบครัว 40,001 บาทขึ้นไป และหลักสูตรแพทย์แผนไทย ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ประมาณร้อยละ 10.6 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับภาวะซึมเศร้า คือ จำนวนเงินที่ได้รับในการใช้จ่ายต่อเดือน น้อยกว่า 1,000 บาท และหลักสูตรรังสีเทคนิค สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ประมาณร้อยละ 8.0

สรุป : ดังนั้นจึงควรมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษในนักศึกษากลุ่มดังกล่าวเพื่อป้องกันผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

References

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19). [online]. Available from: https://www.who.int/emergencies/ diseases/novel-coronavirus-2019/question-and-answers-hub/q-a-detail/coronavirus-disease-covid-19 [2022 May 23].

กรมควบควบคุมโรค. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ โควิด-19 รายวัน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/ covid19-dashboard/ [29 มีนาคม 2565].

โศภิต นาสืบ. รายงานผลการทบทวนผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในระดับโลกและในประเทศไทย. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2564.

ลักษมี ฉิมวงษ์. ความวิตกกังวลในการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่กระจายเชื้อโควิด 19 ของนิสิตสาขาพลศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 2564; 10(1): 9-19.

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, ลำพึง วอนอก, สุพัฒน์ อาสนะ, วรรณศรี แววงาม, กุลธิดา กิ่งสวัสด์, ภานุชนาถ อ่อนไกล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรสัโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563; 14(2): 138-48.

อภิญญา อิงอาจ, ณัฐพร กาญจนภูมิ, พรพรรณ เชยจิตร. ความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร 2563; 17(2): 94-103.

กรมสุขภาพจิต. แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/test/9q/ [29 พฤศจิกายน 2564].

มะลิสา งามศรี, หงษ์ บันเทิงสุข, ดรุณี ใจสว่าง, โชติกา สมสุวรรณ, อภิญญา เยาวบุตร. ความชุกของความเครียด ภาวะซึมเศร้า และความเข้มแข็งทางจิตใจของผู้สูงอายุในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19). วารสารศรีวนาลัยวิจัย 2564; 11(2): 63-76.

เทื้อน ทองแก้ว. การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่ (Design -Based New Normal): ผลกระทบการแพร่ระบาด COVID-19). คุรุสภาวิทยาจารย์ 2563; 1(2): 1-10.

นิลาวรรณ งามขำ, กัญญาภรณ์ ศรีรักษา, รักษา หินสูงเนิน, วนิดา สุภาพ. ความสัมพันธ์ของผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบด้านสังคม และการรับรู้ข่าวสารต่อความวิตกกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรค COVID-19 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 2565; 26(1): 76-86.

ณพนธ์ ถมกระจ่าง, เสาวนีย์ ทองนพคุณ. ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2563; 3(1): 37-45.

กมลรัตน์ ทองสว่าง, ธนาวิทย์ กางการ. ความสุขของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 8-9 กรกฎาคม 2564; มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 2564: 1097-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-20

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ