ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของผู้ป่วยโควิด-19 ที่รับบริการจากสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • ณัฐปกรณ์ โพธิ์ทอง สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • กาญจนา สุดใจ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • กมลวรรณ บุญเพ็ง สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • ธิติมา ณรงค์ศักดิ์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ความเครียด, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยโควิด-19 ที่รับบริการจากสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

วัสดุและวิธีการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบการศึกษาย้อนหลัง ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่รับบริการจากสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินความเครียด สถิติที่ใช้ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน สถิติไคสแควร์ และสถิติการถดถอยโลจิสติก

ผล : พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 146 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.0 อายุน้อยที่สุด คือ 12 ปี อายุมากที่สุด คือ 83 ปี มีสถานภาพโสด ร้อยละ 73.3 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 32.9  มีโรคร่วมทางกาย ร้อยละ 28.8 ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ ร้อยละ 73.3 รับบริการแบบแยกกักตัวที่บ้าน ร้อยละ 71.9 ผู้ป่วยมีอาการแสดง 3 อันดับแรก คือ อาการเจ็บคอ ร้อยละ 22.6 อาการไอ ร้อยละ 21.7 และมีเสมหะ ร้อยละ 17.2 นอกจากนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเครียดระดับน้อย ร้อยละ 71.9 อีกทั้งพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด คือ เพศหญิง และรูปแบบการรับบริการ

สรุป : จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดในผู้ป่วยโควิด-19 ได้แก่ เพศหญิง และรูปแบบการรับบริการแบบแยกกักตัวที่บ้าน จากข้อมูลนี้สามารถใช้ในเตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพจิตในผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มนี้ และการดูแลสุขภาพจิตผู้ป่วยโควิด-19 หลังจากรักษาหายต่อไป

References

วิลาวัณย์ ถิรภัทรพงศ์. การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิริราช; 2563.

Pak A, Adegboye OA, Adekunle AI, Rahman KM, McBryde ES, Eisen DP. Economic consequences of the COVID-19 outbreak: the need for epidemic preparedness. Front Public Health 2020; 8: 241.

ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชนเขตคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2564; 29(1): 12-21.

Lakhan R, Agrawal A, Sharma M. Prevalence of Depression, Anxiety, and Stress during COVID-19 Pandemic. J Neurosci Rural Pract 2020; 11(04): 519-25.

Salari N, Hosseinian-Far A, Jalali R, Vaisi-Raygani A, Rasoulpoor S, Mohammadi M, et al. Prevalence of stress, anxiety, depression among the general population during the COVID-19 pandemic: a systematic review and meta-analysis. Global Health 2020; 16(1): 57.

Alamri HS, Algarni A, Shehata SF, Al Bshabshe A, Alshehri NN, Alasiri AM, et al. Prevalence of depression, anxiety, and stress among the general population in Saudi Arabia during Covid-19 pandemic. Int J Environ Res Public Health 2020; 17(24): 9183.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19): นิยามผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค 2564 [online]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt_060964.pdf [2021 Sep 6].

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจำกไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 [online]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ file/introduction/introduction01.pdf [2021 Sep 6].

คณะทำงานด้านการรักษาพยาบาลและการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข [online]. Available from: chrome-extension://efaidnbmnn nibpcajpcglclefindmkaj/viewer.html?pdfurl=https%3A%2F%2Fcovid19.dms.go.th%2Fbackend%2FContent%2FContent_File%2FCovid_Health%2FAttach%2F25650422162203PM_CPG_COVID-19_n_v.22_20220422.pdf &clen=1706037&chunk=true [2022 Jun 25].

TMGH-Global COVID-19 Collaborative. Perceived stress of quarantine and isolation during COVID-19 pandemic: a global survey. Front Psychiatry 2021; 12: 656664.

อรวรรณ ศิลปกิจ. แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2551; 16(3): 177-85.

Xiong S, Liu L, Lin F, Shi J, Han L, Liu H, et al. Clinical characteristics of 116 hospitalized patients with COVID-19 in Wuhan, China: a single-centered, retrospective, observational study. BMC Infect Dis 2020; 20: 787.

Pradhan A, Olsson PE. Sex differences in severity and mortality from COVID-19: are males more vulnerable? Biol Sex Differ 2020; 11(1): 53.

Scully EP, Haverfield J, Ursin RL, Tannenbaum C, Klein SL. Considering how biological sex impacts immune responses and COVID-19 outcomes. Nat Rev Immunol 2020; 20(7): 442-7.

Arora S, Grover V, Saluja P, Algarni YA, Saquib SA, Asif SM, et al. Literature Review of Omicron: A Grim Reality Amidst COVID-19. Microorganisms 2022; 10(2): 451.

Wise J. Covid-19: Symptomatic infection with omicron variant is milder and shorter than with delta, study reports. BMJ 2022; 377: o922.

Hui KPY, Ho JCW, Cheung MC, Ng KC, Ching RHH, Lai KL, et al. SARS-CoV-2 Omicron variant replication in human bronchus and lung ex vivo. Nature 2022; 603(7902): 715-20.

Mautong H, Gallardo-Rumbea JA, Alvarado-Villa GE, Fernández-Cadena JC, Andrade-Molina D, Orellana-Román CE, et al. Assessment of depression, anxiety and stress levels in the Ecuadorian general population during social isolation due to the COVID-19 outbreak: a cross-sectional study. BMC Psychiatry 2021; 21: 212.

Kowal M, Coll-Martín T, Ikizer G, Rasmussen J, Eichel K, Studzińska A, et al. Who is the Most Stressed During the COVID-19 Pandemic? Data From 26 Countries and Areas. Appl Psychol Health Well-Being 2020; 12(4): 946-66.

Zhu Y, Wang C, Dong L, Xiao M. Home quarantine or centralized quarantine, which is more conducive to fighting COVID-19 pandemic? Brain Behav Immun 2020; 87: 142-3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ